ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เหตุการณ์ 14 ตุลา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
CH.SAKUNA (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
PlyrStar93 (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขของ CH.SAKUNA (พูดคุย) ไปยังรุ่นก่อนหน้าโดย PlyrStar93
ป้ายระบุ: ย้อนรวดเดียว
บรรทัด 1:
{{Infobox civil conflict
| title = เหตุการณ์ 14 ตุลา
| image = เหตุการณ์-14-ตุลาคม.png
| caption = '''เรียงจากซ้ายไปขวา''' : การชุมนุมที่[[อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย]],[[สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี]]มีพระราชดำรัสทาง[[โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย]],[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]]มีพระราชดำรัสทาง[[โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย]],[[การจลาจล]]ในเหตุการณ์ 14 ตุลา,[[อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา]]
| date = {{วันเกิด-อายุ|2516|10|4|ปีที่แล้ว}}
| place = [[กรุงเทพมหานคร]]และปริมณฑล
| coordinates =
| causes = {{bulleted list|
| การปกครองด้วยรัฐบาลทหารยาวนานนับตั้งแต่จอมพล[[สฤษดิ์ ธนะรัชต์]]
| [[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2514|รัฐประหารตัวเอง]]ของจอมพล[[ถนอม กิตติขจร]]
| เฮลิคอปเตอร์ของทหารตก ซึ่งภายในพบซากสัตว์ป่าจากอุทยานแห่งชาติเป็นจำนวนมาก
| การทุจริตในรัฐบาล
}}
| goals = {{bulleted list|
| การเรียกร้อง[[รัฐธรรมนูญ]]ที่เป็นประชาธิปไตย
| การเรียกร้องให้จอมพลถนอม กิตติขจรลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
}}
| methods = {{bulleted list|
| การเดินขบวนและชุมนุมประท้วง
| การตีพิมพ์หนังสือ "บันทึกลับจากทุ่งใหญ่"
}}
| result = {{bulleted list|
| จอมพลถนอม กิตติขจรลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
| บุคคลที่ประชาชนเรียก "[[3 ทรราช]]" เดินทางออกนอกประเทศ
| การก่อสร้าง[[อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา]]
| การร่างรัฐธรรมนูญโดย "สภาสนามม้า"
| เกิด[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2518|การเลือกตั้งในต้น พ.ศ. 2518]]
}}
| side1 = {{bulleted list|
| [[ไฟล์:Flag of Thailand.svg|25px]] ประชาชน
| [[ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย]]
}}
| side2 = {{bulleted list|
| [[ไฟล์:Seal Prime Minister of Thailand.png|25px]] [[ถนอม กิตติขจร|รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจร]]
}}
| leadfigures3 =
| howmany3 =
| casualties1 =
| casualties2 =
| casualties3 =
| fatalities = 77 คน
| injuries = 857 คน
| arrests =
| detentions =
| charged =
| fined =
| casualties_label =
| notes =
}}
'''เหตุการณ์ 14 ตุลา''' หรือ '''วันมหาวิปโยค''' เป็นเหตุการณ์การเรียกร้องประชาธิปไตยของประชาชนครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เป็นเหตุการณ์ที่มีนักศึกษาและประชาชนมากกว่า 5 แสนคนชุมนุมเพื่อเรียกร้อง[[รัฐธรรมนูญ]]จากรัฐบาลเผด็จการจอมพล[[ถนอม กิตติขจร]] นำไปสู่คำสั่งของรัฐบาลให้ใช้กำลังทหารเข้าปราบปราม ระหว่างวันที่ 14 ถึง 15 ตุลาคม พ.ศ. 2516 จนมีผู้เสียชีวิตกว่า 77 ราย บาดเจ็บ 857 ราย และสูญหายอีกจำนวนมาก
 
เหตุการณ์ครั้งนี้ได้เกิดขึ้นด้วยสาเหตุที่สะสมก่อนหน้านี้หลายประการทั้ง ข่าวการทุจริตในรัฐบาล การพบซากสัตว์ป่าจากอุทยานในเฮลิคอปเตอร์ทหาร การถ่ายโอนอำนาจของจอมพลถนอม กิตติขจรต่อจากจอมพล[[สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลทหารเข้าปกครองประเทศนานเกือบ 15 ปี และรวมถึง[[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2514|การรัฐประหารตัวเอง พ.ศ. 2514]] ซึ่งเป็นชนวนเหตุที่ทำให้ประชาชนเบื่อหน่ายการปกครองในระบอบเผด็จการทหารและต้องการเรียกร้องรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยขึ้น
 
การประท้วงเริ่มขึ้นอย่างเด่นชัดเมื่อมีการตีพิมพ์ "'''บันทึกลับจากทุ่งใหญ่'''" ออกเผยแพร่ทำให้เกิดความสนใจในหมู่ประชาชน สู่การเดินแจกใบปลิวเรียกร้องรัฐธรรมนูญของนิสิตนักศึกษาในสถานที่ต่างๆในกรุงเทพฯ จนถูกทหารควบคุมตัว ภายหลังเป็นที่รู้จักกันในฐานะ "'''13 ขบถรัฐธรรมนูญ'''"<ref>[http://www.thairath.co.th/content/456482 14 ต.ค. ครบรอบ 41 ปี 'วันมหาวิปโยค' เรียกร้องประชาธิปไตยไทย], ไทยรัฐ .วันที่ 14 ต.ค. 2557</ref> ทำให้เกิดความไม่พอใจครั้งใหญ่แก่มวลนักศึกษาและประชาชนเป็นอย่างมาก เกิดการประท้วงเริ่มต้นที่[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] สู่การเดินประท้วงใน[[ถนนราชดำเนิน]] โดยมีประชาชนทยอยเข้าร่วมจำนวนมาก ทำให้รัฐบาลได้ทำการสลายการชุมนุมจนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก จนเมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] และ[[สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี]] ได้มีพระราชดำรัสทาง[[โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย]]ต่อเหตุการณ์ครั้งนี้ ในเวลาต่อมาจอมพลถนอม กิตติขจรก็ได้ประกาศลาออกและได้เดินทางออกต่างประเทศรวมถึง พ.อ.[[ณรงค์ กิตติขจร]] และจอมพล[[ประภาส จารุเสถียร]] กลุ่มบุคคลที่ประชาชนในสมัยนั้นเรียกว่า "'''[[3 ทรราช]]'''"<ref>[http://www.manager.co.th/mwebboard/listComment.aspx?QNumber=4887&Mbrowse=9 ถูกต้อง : 14 ตุลา วันประชาธิปไตย], ผู้จัดการ .วันที่ 26 ส.ค. 2546</ref>
 
เหตุการณ์ 14 ตุลา เป็น[[การก่อการกำเริบโดยประชาชน|การลุกฮือของประชาชน]]ครั้งแรกที่เรียกร้องประชาธิปไตยไทยสำเร็จและยังถือเป็นการรวมตัวของประชาชนมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย จนกลายเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ภาคประชาชนในประเทศอื่น ๆ ทำตามในเวลาต่อมา เช่น ที่ [[เกาหลีใต้]]ใน[[เหตุการณ์จลาจลที่เมืองกวางจู]] เป็นต้น<ref name="14 ตุลา">หนังสือ มาร์ค เขาชื่อ... อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ. พ.ศ. 2548, ISBN 978-974-93358-1-9 </ref>
 
== สาเหตุ ==
เหตุการณ์เริ่มมาจากการที่จอมพล [[ถนอม กิตติขจร]] [[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2514|รัฐประหารตัวเอง]] ในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 ซึ่งนักศึกษาและประชาชนมองว่า เป็นการสืบทอดอำนาจตนเองจากจอมพล [[สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] นอกจากนี้ จอมพล ถนอม กิตติขจร จะต้องเกษียณอายุราชการเนื่องจากอายุครบ 60 ปี แต่กลับต่ออายุราชการตนเองในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดออกไป ทั้งพลเอก [[ประภาส จารุเสถียร]] บุคคลสำคัญในรัฐบาล ที่มิได้รับการยอมรับเหมือนจอมพล ถนอม กิตติขจร กลับจะได้รับยศ[[จอมพลในประเทศไทย|จอมพล]] และตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ประกอบกับข่าวคราวเรื่องทุจริตในวงราชการ สร้างความไม่พอใจในหมู่ประชาชนอย่างมาก
 
=== การพบซากสัตว์ป่าสงวน ===
ในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2516 เฮลิคอปเตอร์ทหารหมายเลข ทบ.6102 เกิดอุบัติเหตุตกกลางทุ่งนาที่[[อำเภอบางเลน]] [[จังหวัดนครปฐม]] มีนักแสดงหญิงชื่อดังในขณะนั้นคือ [[เมตตา รุ่งรัตน์]] โดยสารไปด้วย มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 6 คน ในซากเฮลิคอปเตอร์นั้นพบซากสัตว์เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นซาก[[กระทิง]]ล่ามาจาก[[เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง|ทุ่งใหญ่นเรศวร]]ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าสงวน สร้างกระแสไม่พอใจในหมู่นิสิต[[มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]]และประชาชนทั่วไปเป็นอย่างมาก หลังจากนั้น ปลายเดือนพฤษภาคมและต้นเดือนมิถุนายน นิสิตนักศึกษากลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติฯ 4 มหาวิทยาลัยได้ออกหนังสือชื่อ "บันทึกลับจากทุ่งใหญ่" จำหน่ายราคา 5 บาท จำนวน 5,000 เล่ม<ref>[https://sites.google.com/site/tungyai2516 e-book บันทึกลับจากทุ่งใหญ่, 2516]</ref> เปิดโปงเกี่ยวกับกรณีนี้ ผลการตอบรับออกมาดีมาก จนขายหมดในเพียงเวลาไม่กี่ชั่วโมง และได้รับการขยายผลโดยนักศึกษา[[มหาวิทยาลัยรามคำแหง]]ในชมรมคนรุ่นใหม่ออกหนังสือชื่อ "มหาวิทยาลัยที่ไม่มีคำตอบ" ที่มีเนื้อหาตอนท้ายเสียดสีนายกรัฐมนตรี เป็นผลให้ ดร.[[ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์]] อธิการบดี สั่งลบชื่อนักศึกษาแกนนำ 9 คนซึ่งเป็นผู้จัดทำหนังสือ ออกจากสถานะนักศึกษา ทำให้เกิดการประท้วงจนนำไปสู่การชุมนุมระหว่างวันที่ 21–27 มิถุนายน ที่[[อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย]] ท้ายสุด ดร.ศักดิ์ต้องยอมคืนสถานะนักศึกษาทั้ง 9 คน และ ดร.[[ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์]] ได้ลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบ
 
=== การเริ่มต้นการเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ===
6 ตุลาคม 2516 มีบุคคลร่วมลงชื่อ 100 คน เพื่อเรียกร้องขอรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยบุคคลหลากหลายอาชีพ เช่น นักวิชาการ นักการเมือง นักคิด นักเขียน นิสิต นักศึกษา เป็นต้น จากนั้น บุคคลเหล่านี้ราว 20 คน นำโดย นาย[[ธีรยุทธ บุญมี]] ได้เดินแจกใบปลิวเรียกร้องรัฐธรรมนูญตามสถานที่ต่าง ๆ ใน[[กรุงเทพมหานคร|กรุงเทพมหานคร]] เช่น [[ประตูน้ำ]] [[สยามสแควร์]] [[อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ]] โดยอ้างถึงใจความในพระราชหัตถเลขาของ[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ที่ส่งถึงรัฐบาลเกี่ยวกับสาเหตุที่ทรงสละราชสมบัติ แต่ทางตำรวจนครบาลนำโดย พลตำรวจตรี[[ชัย สุวรรณศร]] ผู้บังคับการตำรวจสันติบาล<ref>http://www.14tula.com/activity/book14tula13kabod.pdf</ref> จับได้เพียง 11 คน และจับทั้ง 11 คนนี้ขังไว้ที่[[โรงเรียนพลตำรวจบางเขน]] และนำไปขังต่อที่[[เรือนจำกลางบางเขน]] ก่อนหน้านั้นตั้งข้อหามั่วสุมชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คนภายหลังจากนั้น ตั้งข้อหาร้ายแรงว่า เป็น[[คอมมิวนิสต์]] โดยห้ามเยี่ยมห้ามประกันเด็ดขาด จากนั้น ได้มีการประกาศจับนาย [[ก้องเกียรติ คงคา]] นักศึกษา[[มหาวิทยาลัยรามคำแหง]] และตามจับนาย [[ไขแสง สุกใส]] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนมอีก เป็นผู้ต้องถูกจับทั้งหมด 13 คน โดยกล่าวหาว่า นาย [[ไขแสง สุกใส]] อยู่เบื้องหลังการแจกใบปลิวครั้งนี้ บุคคลทั้ง 13 นี้ถูกเรียกขานว่าเป็น "13 ขบถรัฐธรรมนูญ" เหตุการณ์เหล่านี้สร้างความไม่พอใจครั้งใหญ่แก่มวลนักศึกษาและประชาชนอย่างมาก นำไปสู่การชุมนุมใหญ่ที่[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]ซึ่งขณะนั้นกำลังสอบกลางภาค แต่ทาง[[องค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]ได้ประกาศและติดป้ายขนาดใหญ่ไว้ว่า "งดสอบ" พร้อมทั้งยื่นคำขาดให้รัฐบาลปล่อยบุคคลทั้ง 13 ก่อนเที่ยงวันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม แต่เมื่อถึงเวลาแล้ว รัฐบาลก็หาได้ยอมกระทำไม่ และพลตรี[[ประกอบ จารุมณี]] อธิบดี[[กรมประชาสัมพันธ์]] เรียกผู้แทนหนังสือพิมพ์เข้า ไปกำชับเกี่ยวกับรายงายข่าว ในตอนบ่าย ของวันที่ 13 ตุลาคม 2516
 
โดยก่อนหน้านี้ใน วันที่ 10 ตุลาคม 2516 รัฐบาลมีมติให้ตั้งศูนย์ปราบจลาจลที่กองอำนวยการป้องกันและปราบปราม
คอมมิวนิสต์สวนรื่นฤดี โดยมีจอมพล ประภาส จารุเสถียร รองผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ และพลเอก [[กฤษณ์ สีวะรา]] เป็นรองผู้อำนวยการศูนย์ฯ เพื่อดำเนินการปราบปรามจลาจล และการก่อความไม่สงบที่อาจเกิดขึ้น
 
ก่อนหน้านั้น มีนักศึกษา[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]กลุ่มหนึ่งได้เข้าพบ หม่อมราชวงศ์[[เสนีย์ ปราโมช]] อดีตผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ณ บ้านพักที่ย่านเอกมัย เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ได้เสนอว่า หากจะจัดการชุมนุม ควรจะจัดในวันหยุดเสาร์อาทิตย์ เพราะจะตรงกับวันที่มี[[ตลาดนัด]]ที่สนามหลวงด้วย จะทำให้ได้แนวร่วมเพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก<ref>ชีวลิขิต โดย [[หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช]] : [[กรุงเทพมหานคร]] [[พ.ศ. 2548]] ISBN 9789749353509</ref>
 
=== การจลาจล ===
[[ไฟล์:2214ตุลา.jpg|thumb|190px|right|การชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย]]
การเดินขบวนครั้งใหญ่จึงเริ่มต้นที่[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ออกไปตาม[[ถนนราชดำเนิน]] สู่[[ลานพระบรมรูปทรงม้า]] มีแกนนำเป็นนักศึกษาและมีประชาชนเข้าร่วมด้วยจำนวนมาก (คาดการกันว่ามีราว 500,000 คน) ระหว่างนั้น แกนนำนักศึกษาเข้าพบเจรจากับรัฐบาล และบางส่วนเข้าเฝ้า[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] พ.ต.อ.[[วสิษฐ เดชกุญชร]]เป็นผู้อัญเชิญพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาอ่านให้แก่ผู้ชุมนุมฟัง ในเวลา 05.30 น. ของวันที่ 14 ตุลาคม 2516 จนได้ข้อยุติเพียงพอที่จะสลายตัว แต่ด้วยอุปสรรคทางการสื่อสาร และมวลชนที่มีอยู่เป็นจำนวนมากไม่อาจควบคุมดูแลได้หมด จึงเกิดการปะทะกัน ระหว่างกำลังตำรวจปราบจลาจลกับผู้ชุมนุม ที่บริเวณ[[ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)|ถนนราชวิถี]]ตัดกับ[[ถนนพระราม 5]] ช่วงหน้า[[พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน]] ซึ่งเป็นทางที่กลุ่มผู้ชุมนุมจะใช้เดินทางกลับ แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจนำโดย พลตำรวจโท [[มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น]] ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล พลตำรวจตรี [[ณรงค์ มหานนท์]] รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2514/D/128/1.PDF</ref> และ พล.ต.ต.[[พิชัย ชำนาญไพร]] กลับไม่ยอมให้ผ่าน เนื่องจากรับคำสั่งจาก พล.ต.ท.[[ประจวบ สุนทรางกูร]] รองอธิบดีกรมตำรวจฝ่ายกิจการพิเศษ เมื่อเวลาประมาณ 06:05 นาฬิกา ของวันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม 2516 ได้เกิดการปะทะขึ้น โดยการปะทะกันดังกล่าว บานปลายเป็นการจลาจล และลุกลามไปยังท้องสนามหลวง [[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] และถนนราชดำเนินตลอดสาย รวมถึงย่านใกล้เคียง ในช่วงเช้า [[กรมประชาสัมพันธ์]] [[กรมสรรพากร]] โรงแรมรัตนโกสินทร์ กองสลากกินแบ่งรัฐบาล [[กองบัญชาการตำรวจนครบาล (ไทย)|กองตำรวจนครบาลผ่านฟ้า]] ถูกวางเพลิง
 
โดยในเวลาบ่าย พบเฮลิคอปเตอร์ลำหนึ่ง บินวนอยู่เหนือเหตุการณ์ และมีการยิงปืนลงมา เพื่อสลายการชุมนุม ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์เชื่อว่า บุคคลที่ยิงปืนลงมานั้นคือ พันเอก [[ณรงค์ กิตติขจร]] บุตรชาย ของจอมพล [[ถนอม กิตติขจร]] และบุตรเขยของจอมพล [[ประภาส จารุเสถียร]] ซึ่งคาดหมายว่าจะสืบทอดอำนาจ ต่อจากจอมพล [[ถนอม กิตติขจร]] และจอมพล [[ประภาส จารุเสถียร]]
 
ต่อมาในเวลาหัวค่ำ [[สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย]]ประกาศว่า จอมพล ถนอม กิตติขจร ขอลาออกจากตำแหน่งแล้ว และมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งนาย[[สัญญา ธรรมศักดิ์]] อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากนั้นไม่นาน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ[[สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี]] มีพระราชดำรัสทาง[[โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย]]ด้วยพระองค์เอง แต่เหตุการณ์ยังไม่สงบ กลุ่มทหารเปิดฉากยิงปืนเข้าใส่นักศึกษาและประชาชนอีกครั้ง หลังจากพระราชดำรัสทางโทรทัศน์เพียงหนึ่งชั่วโมง นักศึกษาพยายามพุ่งรถบัสที่ไม่มีคนขับ เข้าใส่กองบัญชาการตำรวจนครบาล โดยผู้ชุมนุมนับพันยังไม่วางใจในสถานการณ์ จึงประกาศท้าทาย[[กฎอัยการศึก]] ในเวลา 22:00 นาฬิกา และประกาศว่าจะปักหลักชุมนุม ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยตลอดทั้งคืน เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้ถูกหลอกอีกครั้ง จนกระทั่งในเวลาหัวค่ำของวันที่ 15 ตุลาคม ได้มีประกาศว่าจอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียร และพันเอกณรงค์ กิตติขจร เดินทางออกนอกประเทศแล้ว ทางราชการออก
ประกาศของผู้อำนวยการรักษาความปลอดภัยของประเทศ พลเอก [[กฤษณ์ สีวะรา]]<ref>http://www.14tula.com/activity/book14tula13kabod.pdf</ref>ให้ประชาชนนักศึกษากลับเข้าบ้านภายในเวลา 20.00 น. เหตุการณ์จึงค่อยสงบลง และวันที่ 16 ตุลาคม 2516 ผู้ชุมนุมและประชาชน ต่างพากันช่วยทำความสะอาด พื้นถนนและสถานที่ต่างๆ ซึ่งได้รับความเสียหาย<ref>ประวัติศาสตร์การศึกษา วันมหาวิปโยค 14 ตุลา 16 - 6 ตุลา 19 โดย แปลก เข็มพิลา ISBN 974-7753-87-1</ref>ในส่วนของรัฐบาล [[สัญญา ธรรมศักดิ์]]ได้มีการแต่งตั้งพลเอก[[กฤษณ์ สีวะรา]]<ref>[http://www.cabinet.soc.go.th/soc/Program2-3.jsp?top_serl=48702&key_word=&owner_dep=&meet_date_dd=01&meet_date_mm=10&meet_date_yyyy=2516&doc_id1=&doc_id2=&meet_date_dd2=30&meet_date_mm2=10&meet_date_yyyy2=2516 เรื่อง แต่งตั้งผู้อำนวยการรักษาความสงบ]</ref>เป็นผู้อำนวยการรักษาความสงบ อย่างเป็นทางการ
 
<gallery widths="190px" heights="190px" perrow="4">
ไฟล์:1114ตุลา.jpg|การจลาจลในเหตุการณ์ 14 ตุลา
ไฟล์:1014ตุลา.jpg|การปราบผู้ชุมนุมโดยทหาร
ไฟล์:16ตุลา.jpg|นักศึกษาช่างกลรวมตัวกำลังเดินเผชิญหน้ากับฝ่ายทหาร
</gallery>
 
== หลังเหตุการณ์ ==
ภายหลังเหตุการณ์นี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและพระบรมวงศานุวงศ์ได้เสด็จเยี่ยมผู้ได้รับบาดเจ็บตามโรงพยาบาลต่าง ๆ และสำหรับผู้เสียชีวิต ได้พระราชทานเพลิงศพที่ทิศเหนือ[[ท้องสนามหลวง]] และอัฐินำไปลอยอังคารด้วยเครื่องบินของ[[กองทัพอากาศไทย|กองทัพอากาศ]]ที่ปาก[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] [[อ่าวไทย]]
 
ในวันที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2516 กองทัพอเมริกาในประเทศไทยก็ใช้กฎอัยการศึกประหารชีวิต [[เทพ แก่นกล้า]] ซึ่งมีความผิดในข้อหาใช้ปืนยิงนายทหารอเมริกันเสียชีวิต
 
หลังจากนั้นการเกิดเหตุการณ์ปราบปรามประชาชนเกิดขึ้นโดย ในวันที่ 24 มกราคม 2517 มีการเผาหมู่บ้านนาทราย ที่อำเภอบึงกาฬ จังหวัดหนองคาย มีผู้เสียชีวิต 3 ราย<ref>[https://doct6.com/learn-about/how/chapter-2/2-3/2-3-2-2 2.3.2 การเคลื่อนไหวอื่นๆ ของขบวนการนักศึกษา]</ref>เหตุการณ์ครั้งใหญ่ได้แก่เหตุการณ์จลาจล[[แยกพลับพลาไชย]] ในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 ถึง 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2517 การจลาจล ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 27 ราย และเหตุการณ์ร้ายแรงที่รองลงมาเกิดขึ้นในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2518 ที่ศาลากลาง[[จังหวัดพังงา]] ได้มีผู้ก่อการร้ายโยนระเบิดเข้าไปในกลุ่มผู้ประท้วง ส่งผลให้ มีประชาชนเสียชีวิต 15 ราย บาดเจ็บ 17 ราย และในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2519 มีการเดินขบวนใหญ่ของนักศึกษาประชาชนนับแสนคน จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปยัง[[สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย]] ที่ถนนวิทยุ กรณีนี้ได้กลายเป็นเหตุรุนแรงเมื่อคนร้ายโยนระเบิดใส่ขบวนแถวของประชาชนเมื่อเคลื่อนไปถึงหน้าบริเวณโรงภาพยนตร์สยาม ทำให้มีผู้เสียชีวิต 4 คน
 
ในระหว่าง มกราคม พ.ศ. 2517 ถึง สิงหาคม พ.ศ. 2519 ได้เกิดเหตุการณ์ กลุ่มแกนนำ นักศึกษา ผู้นำกรรมการ ผู้นำชาวนา ถูกสังหารด้วยอาวุธปืนและระเบิด อีก อย่างน้อย 85 ราย<ref>[https://blogazine.pub/blogs/pandit-chanrochanakit/post/4726 ผู้ถูกสังหารทางการเมือง 14 ตุลาคม 2516 - กุมภาพันธ์ 2519]</ref>อาทิ ดร.[[บุญสนอง บุณโยทยาน]] [[มานะ อินทสุริยะ]] [[ไพโรจน์ พงษ์วิริยพงศ์]] [[พิพัฒน์ กางกั้น]] [[สำราญ คำกลั่น]] [[ประจวบ พงษ์ชัยวิวัฒน์]] [[สอิ้ง มารังกูล]] [[แสง รุ่งนิรันดรกุล]] [[อมเรศ ไชยสะอาด]] [[สมสิทธิ์ คำปันติบ]] [[สนอง ปัญชาญ]] [[ปรีดา จินดานนท์]] [[ชวินทร์ สระคำ]] [[เฮียง สิ้นมาก]] [[อ้าย ธงโต]] [[ประเสริฐ โฉมอมฤต]] [[โง่น ลาววงศ์]] [[มงคล สุขหนุน]] [[เกลี้ยง ใหม่เอี่ยม]] [[พุฒ ปงลังกา]] [[จา จักรวาล]] [[บุญทา โยธา]] [[อินถา ศรีบุญเรือง]] [[สวัสดิ์ ตาถาวรรณ]] [[พุฒ ทรายดำ]] [[บุญรัตน์ ใจเย็น]] [[กมล แซ่นิ้ม]] [[นิพนธ์ เชษฐากุล]] [[แก้ว เหลืองอุดมเลิศ]] [[ธเนศร์ เขมะอุดม]]<ref>[https://doct6.com/learn-about/how/chapter-3/3-4 บันทึก 6 ตุลา 3.4 ความรุนแรงและการลอบสังหาร พ.ศ. 2518]</ref>โดยทางตำรวจไม่สามารถจับคนร้ายได้แม้แต่รายเดียว
 
ในช่วงเวลาดังกล่าวนอกจากเหตุการณ์ลอบสังหารผู้นำกรรมการ ผู้นำชาวนา และนักศึกษาแล้ว ยังนับเป็นยุคทองของการชุมนุมประท้วง กล่าวคือพระสงฆ์ได้จัดการชุมนุมประท้วงขึ้น เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2518โดยพระภิกษุสามเณรจากวัดมหาธาตุ และวัดต่างๆ หลายร้อยรูปทั่วประเทศ มาชุมนุมกันที่ลานอโศก [[วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร|วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏ์]] ข้อเรียกร้องก็คือ ขอให้ทบทวนพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 ที่สร้างระบอบเผด็จการในหมู่สงฆ์ ด้วยการสร้างองค์กรมหาเถรสมาคมมาเป็นเครื่องมือ แม้แต่ตำรวจก็ได้จัดการชุมนุมประท้วงโดยในวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2518 ตำรวจภูธรระดับผู้กองทั่วประเทศได้จัดการชุมนุมที่โรงแรมนารายณ์และในวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2518 ตำรวจบางส่วนได้เข้าไปทำลายทรัพย์สิน[[บ้านซอยสวนพลู]]
 
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ก่อสร้าง [[อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา]] ขึ้นที่ [[สี่แยกคอกวัว]] [[ถนนราชดำเนินกลาง]] โดยกว่าจะผ่านกระบวนต่าง ๆ และสร้างจนแล้วเสร็จนั้น ต้องใช้เวลาถึง 28 ปี
 
หลังจากเหตุการณ์ครั้งนี้ มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่ สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญประกอบด้วยประชาชนต่าง ๆ จากหลายภาคส่วน โดยไม่มีนักการเมืองร่วมอยู่ด้วยเลย และใช้[[ราชตฤณมัยสมาคม|สนามม้านางเลิ้ง]]เป็นที่ร่าง เรียกกันว่า "สภาสนามม้า" นำไปสู่[[การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย พ.ศ. 2518|การเลือกตั้งในต้น พ.ศ. 2518]] ช่วงนั้นเรียกกันว่าเป็นยุค "ฟ้าสีทองผ่องอำไพ" แต่เหตุการณ์ต่าง ๆ ในประเทศยังไม่สงบ มีการเรียกร้องและเดินขบวนของกลุ่มชนชั้นต่าง ๆ ในสังคม ประกอบกับสถานการณ์ความมั่นคงในประเทศรอบด้านจากการรุกคืบของ[[ลัทธิคอมมิวนิสต์]]และผลกระทบจาก[[สงครามเวียดนาม]] แม้รัฐบาลชุดใหม่ที่มาจากการเลือกตั้งก็ไม่มีเสถียรภาพเพียงพอที่จะแก้ไขสถานการณ์ได้ นำไปสู่เหตุนองเลือดอีกครั้งในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เมื่อ [[พ.ศ. 2519]] คือ '''[[เหตุการณ์ 6 ตุลา]]'''
 
นอกจากนี้ เหตุการณ์ 14 ตุลา ยังนับเป็น[[การก่อการกำเริบโดยประชาชน|การลุกฮือของประชาชน]]ครั้งแรกที่ประสบความสำเร็จใน[[คริสต์ศตวรรษที่ 20|ยุคศตวรรษที่ 20]] และยังเป็นแรงบันดาลใจให้แก่ภาคประชาชนในประเทศอื่น ๆ ทำตามในเวลาต่อมา เช่น ที่ [[เกาหลีใต้]]ใน[[เหตุการณ์จลาจลที่เมืองกวางจู]] เป็นต้น<ref name= "14 ตุลา">หนังสือ มาร์ค เขาชื่อ... อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ. พ.ศ. 2548, ISBN 978-974-93358-1-9 </ref>[[ไฟล์:1_11.jpg|thumb|190px|[[สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี]]มีพระราชดำรัสทาง[[โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย]]เมื่อเวลา 23:30 นาฬิกาของวันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม]]
 
ในเดือน[[ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2546]] นาย[[เทพมนตรี ลิมปพยอม]] นักวิชาการอิสระด้านประวัติศาสตร์ ได้เปิดตัวหนังสือมา 2 เล่ม ชื่อ ''"ลอกคราบ 14 ตุลา ดักแด้ประวัติศาสตร์การเมืองไทย"'' และ ''"พันเอกณรงค์ กิตติขจร 30 ปี 14 ตุลา ข้อกล่าวหาที่ไม่สิ้นสุด"'' โดยมีเนื้อหาอ้างอิงจากเอกสารราชการลับในเหตุการณ์ 14 ตุลา ซึ่งมีเนื้อหาว่าทั้ง พ.อ.ณรงค์ และจอมพลถนอม มิได้เป็นผู้สั่งการในเหตุการณ์ 14 ตุลา<ref>[http://www.manager.co.th/politics/ViewNews.aspx?NewsID=4658121163248 ''ณรงค์''โยน''พล.อ.กฤษณ์'' ต้นเหตุความรุนแรง14ต.ค.]</ref> และพันเอก[[ณรงค์ กิตติขจร]] ยังได้กล่าวอีกว่า พล.อ.[[กฤษณ์ สีวะรา]] เป็นผู้อยู่เบื้องหลังการสังหารหมู่นิสิต นักศึกษา และประชาชนในการชุมนุม แต่ก็เป็นการชี้แจงหลังเกิดเหตุมาเกือบ 30 ปี และเป็นการชี้แจงเพียงฝ่ายเดียวโดยที่ฝ่ายครอบครัวของทาง พล.อ.กฤษณ์มิได้มีโอกาสชี้แจงกลับ คำกล่าวของพ.อ.ณรงค์ ขัดแย้งกับ นาย[[โอสถ โกศิน]] อดีตรัฐมนตรีที่ใกล้ชิดกับ พล.อ.กฤษณ์ ซึ่งระบุว่า พล.อ.กฤษณ์ เป็นบุคคลสำคัญที่ไม่ยอมให้มีการปฏิบัติการขั้นรุนแรงแก่นักศึกษา
 
[[พ.ศ. 2546]] สภาผู้แทนราษฎรมีมติเอกฉันท์กำหนดให้วันที่ 14 ตุลาคมของทุกปีเป็น "วันประชาธิปไตย" เป็นวันสำคัญของชาติ ในโอกาสครบรอบเหตุการณ์ 30 ปี<ref>สภาฯกำหนด 14 ตุลาคม เป็น "วันประชาธิปไตย" ผู้จัดการรายวัน 22 [[พ.ค. 2546]]</ref>
 
== รายชื่อ 13 ขบถรัฐธรรมนูญ ==
 
* [[ก้องเกียรติ คงคา]] นักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง
* [[ไขแสง สุกใส]] อดีต[[สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนม]]
* [[ชัยวัฒน์ สุรวิชัย]] อดีตอาจารย์[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] อดีตกรรมการบริหารศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย
* [[ทวี หมื่นนิกร]] อาจารย์[[คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]
* [[ธัญญา ชุนชฎาธาร]] นักศึกษา ปี 4 [[คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]
* [[ธีรยุทธ บุญมี]] อดีตเลขานุการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย
* [[นพพร สุวรรณพานิช]] นักหนังสือพิมพ์มหาราษฎร์
* [[บัณฑิต เอ็งนิลรัตน์]]<ref>http://www.14tula.com/activity/book14tula13kabod.pdf</ref> นักศึกษาปี 4 [[คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]
* [[บุญส่ง ชเลธร]] นักศึกษาปี 2 [[คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]
* [[ประพันธ์ศักดิ์ กมลเพ็ชร]] อดีตอาจารย์[[คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] อดีตนักการเมืองแห่งขบวนการรัฐบุรุษ
* [[ปรีดี บุญซื่อ]] นักศึกษาปี 4 คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
* [[มนตรี จึงศิริอารักษ์]] นักศึกษาปี 1 คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง นักหนังสือพิมพ์สังคมศาสตร์ปริทัศน์
* [[วิสา คัญทัพ]] นักศึกษาปี 3 [[คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง]]
 
== ดูเพิ่ม ==
{{วิกิคำคม|พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในเหตุการณ์ 14 ตุลา}}
เส้น 10 ⟶ 133:
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://www.14tula.com/ อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา]
* [http://www.14tula.com/remember_index.htm บันทึกความทรงจำ]
 
{{รัฐประหารในไทย}}
 
[[หมวดหมู่:เหตุการณ์ 14 ตุลา| ]]
[[หมวดหมู่:ประวัติศาสตร์ไทยสมัยรัตนโกสินทร์|หเตุการณ์ 14 ตุลา]]
[[หมวดหมู่:การสังหารหมู่|หเตุการณ์ 14 ตุลา]]
[[หมวดหมู่:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]
[[หมวดหมู่:การประท้วงในประเทศไทย]]
[[หมวดหมู่:เหตุการณ์ในรัชกาลที่ 9]]