ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เหตุการณ์ 14 ตุลา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
CH.SAKUNA (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
CH.SAKUNA (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
== สาเหตุ ==
เหตุการณ์เริ่มมาจากการที่จอมพล [[ถนอม กิตติขจร]] [[รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2514|รัฐประหารตัวเอง]] ในวันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 ซึ่งนักศึกษาและประชาชนมองว่า เป็นการสืบทอดอำนาจตนเองจากจอมพล [[สฤษดิ์ ธนะรัชต์]] นอกจากนี้ จอมพล ถนอม กิตติขจร จะต้องเกษียณอายุราชการเนื่องจากอายุครบ 60 ปี แต่กลับต่ออายุราชการตนเองในตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดออกไป ทั้งพลเอก [[ประภาส จารุเสถียร]] บุคคลสำคัญในรัฐบาล ที่มิได้รับการยอมรับเหมือนจอมพล ถนอม กิตติขจร กลับจะได้รับยศ[[จอมพลในประเทศไทย|จอมพล]] และตำแหน่งผู้บัญชาการทหารบก ประกอบกับข่าวคราวเรื่องทุจริตในวงราชการ สร้างความไม่พอใจในหมู่ประชาชนอย่างมาก
 
=== การพบซากสัตว์ป่าสงวน ===
ในวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2516 เฮลิคอปเตอร์ทหารหมายเลข ทบ.6102 เกิดอุบัติเหตุตกกลางทุ่งนาที่[[อำเภอบางเลน]] [[จังหวัดนครปฐม]] มีนักแสดงหญิงชื่อดังในขณะนั้นคือ [[เมตตา รุ่งรัตน์]] โดยสารไปด้วย มีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 6 คน ในซากเฮลิคอปเตอร์นั้นพบซากสัตว์เป็นจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นซาก[[กระทิง]]ล่ามาจาก[[เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง|ทุ่งใหญ่นเรศวร]]ซึ่งเป็นพื้นที่ป่าสงวน สร้างกระแสไม่พอใจในหมู่นิสิต[[มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]]และประชาชนทั่วไปเป็นอย่างมาก หลังจากนั้น ปลายเดือนพฤษภาคมและต้นเดือนมิถุนายน นิสิตนักศึกษากลุ่มอนุรักษ์ธรรมชาติฯ 4 มหาวิทยาลัยได้ออกหนังสือชื่อ "บันทึกลับจากทุ่งใหญ่" จำหน่ายราคา 5 บาท จำนวน 5,000 เล่ม<ref>[https://sites.google.com/site/tungyai2516 e-book บันทึกลับจากทุ่งใหญ่, 2516]</ref> เปิดโปงเกี่ยวกับกรณีนี้ ผลการตอบรับออกมาดีมาก จนขายหมดในเพียงเวลาไม่กี่ชั่วโมง และได้รับการขยายผลโดยนักศึกษา[[มหาวิทยาลัยรามคำแหง]]ในชมรมคนรุ่นใหม่ออกหนังสือชื่อ "มหาวิทยาลัยที่ไม่มีคำตอบ" ที่มีเนื้อหาตอนท้ายเสียดสีนายกรัฐมนตรี เป็นผลให้ ดร.[[ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์]] อธิการบดี สั่งลบชื่อนักศึกษาแกนนำ 9 คนซึ่งเป็นผู้จัดทำหนังสือ ออกจากสถานะนักศึกษา ทำให้เกิดการประท้วงจนนำไปสู่การชุมนุมระหว่างวันที่ 21–27 มิถุนายน ที่[[อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย]] ท้ายสุด ดร.ศักดิ์ต้องยอมคืนสถานะนักศึกษาทั้ง 9 คน และ ดร.[[ศักดิ์ ผาสุขนิรันดร์]] ได้ลาออกเพื่อแสดงความรับผิดชอบ
 
=== การเริ่มต้นการเรียกร้องรัฐธรรมนูญ ===
6 ตุลาคม 2516 มีบุคคลร่วมลงชื่อ 100 คน เพื่อเรียกร้องขอรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยบุคคลหลากหลายอาชีพ เช่น นักวิชาการ นักการเมือง นักคิด นักเขียน นิสิต นักศึกษา เป็นต้น จากนั้น บุคคลเหล่านี้ราว 20 คน นำโดย นาย[[ธีรยุทธ บุญมี]] ได้เดินแจกใบปลิวเรียกร้องรัฐธรรมนูญตามสถานที่ต่าง ๆ ใน[[กรุงเทพมหานคร|กรุงเทพมหานคร]] เช่น [[ประตูน้ำ]] [[สยามสแควร์]] [[อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ]] โดยอ้างถึงใจความในพระราชหัตถเลขาของ[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ที่ส่งถึงรัฐบาลเกี่ยวกับสาเหตุที่ทรงสละราชสมบัติ แต่ทางตำรวจนครบาลนำโดย พลตำรวจตรี[[ชัย สุวรรณศร]] ผู้บังคับการตำรวจสันติบาล<ref>http://www.14tula.com/activity/book14tula13kabod.pdf</ref> จับได้เพียง 11 คน และจับทั้ง 11 คนนี้ขังไว้ที่[[โรงเรียนพลตำรวจบางเขน]] และนำไปขังต่อที่[[เรือนจำกลางบางเขน]] ก่อนหน้านั้นตั้งข้อหามั่วสุมชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คนภายหลังจากนั้น ตั้งข้อหาร้ายแรงว่า เป็น[[คอมมิวนิสต์]] โดยห้ามเยี่ยมห้ามประกันเด็ดขาด จากนั้น ได้มีการประกาศจับนาย [[ก้องเกียรติ คงคา]] นักศึกษา[[มหาวิทยาลัยรามคำแหง]] และตามจับนาย [[ไขแสง สุกใส]] อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครพนมอีก เป็นผู้ต้องถูกจับทั้งหมด 13 คน โดยกล่าวหาว่า นาย [[ไขแสง สุกใส]] อยู่เบื้องหลังการแจกใบปลิวครั้งนี้ บุคคลทั้ง 13 นี้ถูกเรียกขานว่าเป็น "13 ขบถรัฐธรรมนูญ" เหตุการณ์เหล่านี้สร้างความไม่พอใจครั้งใหญ่แก่มวลนักศึกษาและประชาชนอย่างมาก นำไปสู่การชุมนุมใหญ่ที่[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]ซึ่งขณะนั้นกำลังสอบกลางภาค แต่ทาง[[องค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]ได้ประกาศและติดป้ายขนาดใหญ่ไว้ว่า "งดสอบ" พร้อมทั้งยื่นคำขาดให้รัฐบาลปล่อยบุคคลทั้ง 13 ก่อนเที่ยงวันเสาร์ที่ 13 ตุลาคม แต่เมื่อถึงเวลาแล้ว รัฐบาลก็หาได้ยอมกระทำไม่ และพลตรี[[ประกอบ จารุมณี]] อธิบดี[[กรมประชาสัมพันธ์]] เรียกผู้แทนหนังสือพิมพ์เข้า ไปกำชับเกี่ยวกับรายงายข่าว ในตอนบ่าย ของวันที่ 13 ตุลาคม 2516
 
โดยก่อนหน้านี้ใน วันที่ 10 ตุลาคม 2516 รัฐบาลมีมติให้ตั้งศูนย์ปราบจลาจลที่กองอำนวยการป้องกันและปราบปราม
คอมมิวนิสต์สวนรื่นฤดี โดยมีจอมพล ประภาส จารุเสถียร รองผู้บัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ และพลเอก [[กฤษณ์ สีวะรา]] เป็นรองผู้อำนวยการศูนย์ฯ เพื่อดำเนินการปราบปรามจลาจล และการก่อความไม่สงบที่อาจเกิดขึ้น
 
ก่อนหน้านั้น มีนักศึกษา[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]]กลุ่มหนึ่งได้เข้าพบ หม่อมราชวงศ์[[เสนีย์ ปราโมช]] อดีตผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ณ บ้านพักที่ย่านเอกมัย เพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ หม่อมราชวงศ์เสนีย์ได้เสนอว่า หากจะจัดการชุมนุม ควรจะจัดในวันหยุดเสาร์อาทิตย์ เพราะจะตรงกับวันที่มี[[ตลาดนัด]]ที่สนามหลวงด้วย จะทำให้ได้แนวร่วมเพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก<ref>ชีวลิขิต โดย [[หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช]] : [[กรุงเทพมหานคร]] [[พ.ศ. 2548]] ISBN 9789749353509</ref>
 
=== การจลาจล ===
[[ไฟล์:2214ตุลา.jpg|thumb|190px|right|การชุมนุมที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย]]
การเดินขบวนครั้งใหญ่จึงเริ่มต้นที่[[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] เมื่อวันที่ 13 ตุลาคม ออกไปตาม[[ถนนราชดำเนิน]] สู่[[ลานพระบรมรูปทรงม้า]] มีแกนนำเป็นนักศึกษาและมีประชาชนเข้าร่วมด้วยจำนวนมาก (คาดการกันว่ามีราว 500,000 คน) ระหว่างนั้น แกนนำนักศึกษาเข้าพบเจรจากับรัฐบาล และบางส่วนเข้าเฝ้า[[พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช]] พ.ต.อ.[[วสิษฐ เดชกุญชร]]เป็นผู้อัญเชิญพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาอ่านให้แก่ผู้ชุมนุมฟัง ในเวลา 05.30 น. ของวันที่ 14 ตุลาคม 2516 จนได้ข้อยุติเพียงพอที่จะสลายตัว แต่ด้วยอุปสรรคทางการสื่อสาร และมวลชนที่มีอยู่เป็นจำนวนมากไม่อาจควบคุมดูแลได้หมด จึงเกิดการปะทะกัน ระหว่างกำลังตำรวจปราบจลาจลกับผู้ชุมนุม ที่บริเวณ[[ถนนราชวิถี (กรุงเทพมหานคร)|ถนนราชวิถี]]ตัดกับ[[ถนนพระราม 5]] ช่วงหน้า[[พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน]] ซึ่งเป็นทางที่กลุ่มผู้ชุมนุมจะใช้เดินทางกลับ แต่เจ้าหน้าที่ตำรวจนำโดย พลตำรวจโท [[มนต์ชัย พันธุ์คงชื่น]] ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล พลตำรวจตรี [[ณรงค์ มหานนท์]] รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล<ref>http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2514/D/128/1.PDF</ref> และ พล.ต.ต.[[พิชัย ชำนาญไพร]] กลับไม่ยอมให้ผ่าน เนื่องจากรับคำสั่งจาก พล.ต.ท.[[ประจวบ สุนทรางกูร]] รองอธิบดีกรมตำรวจฝ่ายกิจการพิเศษ เมื่อเวลาประมาณ 06:05 นาฬิกา ของวันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม 2516 ได้เกิดการปะทะขึ้น โดยการปะทะกันดังกล่าว บานปลายเป็นการจลาจล และลุกลามไปยังท้องสนามหลวง [[มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]] และถนนราชดำเนินตลอดสาย รวมถึงย่านใกล้เคียง ในช่วงเช้า [[กรมประชาสัมพันธ์]] [[กรมสรรพากร]] โรงแรมรัตนโกสินทร์ กองสลากกินแบ่งรัฐบาล [[กองบัญชาการตำรวจนครบาล (ไทย)|กองตำรวจนครบาลผ่านฟ้า]] ถูกวางเพลิง
 
โดยในเวลาบ่าย พบเฮลิคอปเตอร์ลำหนึ่ง บินวนอยู่เหนือเหตุการณ์ และมีการยิงปืนลงมา เพื่อสลายการชุมนุม ผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์เชื่อว่า บุคคลที่ยิงปืนลงมานั้นคือ พันเอก [[ณรงค์ กิตติขจร]] บุตรชาย ของจอมพล [[ถนอม กิตติขจร]] และบุตรเขยของจอมพล [[ประภาส จารุเสถียร]] ซึ่งคาดหมายว่าจะสืบทอดอำนาจ ต่อจากจอมพล [[ถนอม กิตติขจร]] และจอมพล [[ประภาส จารุเสถียร]]
 
ต่อมาในเวลาหัวค่ำ [[สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย]]ประกาศว่า จอมพล ถนอม กิตติขจร ขอลาออกจากตำแหน่งแล้ว และมีพระบรมราชโองการแต่งตั้งนาย[[สัญญา ธรรมศักดิ์]] อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จากนั้นไม่นาน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ[[สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี]] มีพระราชดำรัสทาง[[โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย]]ด้วยพระองค์เอง แต่เหตุการณ์ยังไม่สงบ กลุ่มทหารเปิดฉากยิงปืนเข้าใส่นักศึกษาและประชาชนอีกครั้ง หลังจากพระราชดำรัสทางโทรทัศน์เพียงหนึ่งชั่วโมง นักศึกษาพยายามพุ่งรถบัสที่ไม่มีคนขับ เข้าใส่กองบัญชาการตำรวจนครบาล โดยผู้ชุมนุมนับพันยังไม่วางใจในสถานการณ์ จึงประกาศท้าทาย[[กฎอัยการศึก]] ในเวลา 22:00 นาฬิกา และประกาศว่าจะปักหลักชุมนุม ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยตลอดทั้งคืน เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ได้ถูกหลอกอีกครั้ง จนกระทั่งในเวลาหัวค่ำของวันที่ 15 ตุลาคม ได้มีประกาศว่าจอมพลถนอม กิตติขจร จอมพลประภาส จารุเสถียร และพันเอกณรงค์ กิตติขจร เดินทางออกนอกประเทศแล้ว ทางราชการออก
ประกาศของผู้อำนวยการรักษาความปลอดภัยของประเทศ พลเอก [[กฤษณ์ สีวะรา]]<ref>http://www.14tula.com/activity/book14tula13kabod.pdf</ref>ให้ประชาชนนักศึกษากลับเข้าบ้านภายในเวลา 20.00 น. เหตุการณ์จึงค่อยสงบลง และวันที่ 16 ตุลาคม 2516 ผู้ชุมนุมและประชาชน ต่างพากันช่วยทำความสะอาด พื้นถนนและสถานที่ต่างๆ ซึ่งได้รับความเสียหาย<ref>ประวัติศาสตร์การศึกษา วันมหาวิปโยค 14 ตุลา 16 - 6 ตุลา 19 โดย แปลก เข็มพิลา ISBN 974-7753-87-1</ref>ในส่วนของรัฐบาล [[สัญญา ธรรมศักดิ์]]ได้มีการแต่งตั้งพลเอก[[กฤษณ์ สีวะรา]]<ref>[http://www.cabinet.soc.go.th/soc/Program2-3.jsp?top_serl=48702&key_word=&owner_dep=&meet_date_dd=01&meet_date_mm=10&meet_date_yyyy=2516&doc_id1=&doc_id2=&meet_date_dd2=30&meet_date_mm2=10&meet_date_yyyy2=2516 เรื่อง แต่งตั้งผู้อำนวยการรักษาความสงบ]</ref>เป็นผู้อำนวยการรักษาความสงบ อย่างเป็นทางการ
 
<gallery widths="190px" heights="190px" perrow="4">
ไฟล์:1114ตุลา.jpg|การจลาจลในเหตุการณ์ 14 ตุลา
ไฟล์:1014ตุลา.jpg|การปราบผู้ชุมนุมโดยทหาร
ไฟล์:16ตุลา.jpg|นักศึกษาช่างกลรวมตัวกำลังเดินเผชิญหน้ากับฝ่ายทหาร
</gallery>
 
== หลังเหตุการณ์ ==
ภายหลังเหตุการณ์นี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชและพระบรมวงศานุวงศ์ได้เสด็จเยี่ยมผู้ได้รับบาดเจ็บตามโรงพยาบาลต่าง ๆ และสำหรับผู้เสียชีวิต ได้พระราชทานเพลิงศพที่ทิศเหนือ[[ท้องสนามหลวง]] และอัฐินำไปลอยอังคารด้วยเครื่องบินของ[[กองทัพอากาศไทย|กองทัพอากาศ]]ที่ปาก[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] [[อ่าวไทย]]