ผลต่างระหว่างรุ่นของ "90377 เซดนา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Boom1221 (คุย | ส่วนร่วม)
Boom1221 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 61:
 
== ลักษณะทางกายภาพ ==
เซดนามี[[ความส่องสว่างสัมบูรณ์]]อยู่ที่ประมาณ 1.8 และ[[อัตราส่วนสะท้อน]]อยู่ที่ประมาณ 0.32 จึงประมาณเส้นผ่านศูนย์กลางไว้ที่ 1,000 กิโลเมตร<ref name=herschel/> ณ เวลาที่มันถูกค้นพบนั้น เซดนาถูกจัดให้เป็นวัตถุที่ส่องสว่างภายในมากที่สุดในระบบสุริยะตั้งแต่ค้นพบ[[ดาวพลูโต]]ในปี พ.ศ. 2473 ในปี พ.ศ. 2547 เหล่าผู้ค้นพบวางค่าสูงสุดของเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ที่ 1,800 กิโลเมตร<ref name="Grundy2005"/> แต่ในปี พ.ศ. 2550 ก็ลดลงมาต่ำกว่า 1,600 กิโลเมตร หลังจากที่สังเกตผ่าน[[กล้องโทรทรรศน์อวกาศสปิตเซอร์]]<ref name="spitzer"/> ในปี พ.ศ. 2555 การคำนวณจากหอดูดาวอวกาศเฮอร์เชลเสนอว่าเซดนามีเส้นผ่านศูนย์กลาง 995 ± 80 กิโลเมตร ซึ่งจะทำให้มันมีขนาดเล็กกว่า[[แครอน (ดาวบริวาร)|แครอน]] ดาวบริวารของดาวพลูโต<ref name=herschel>{{Cite journal | last1 = Pál | first1 = A. | last2 = Kiss | first2 = C. | last3 = Müller | first3 = T. G. | last4 = Santos-Sanz | first4 = P. | last5 = Vilenius | first5 = E. | last6 = Szalai | first6 = N. | last7 = Mommert | first7 = M. | last8 = Lellouch | first8 = E. | last9 = Rengel | first9 = M. | last10 = Hartogh | first10 = P. | last11 = Protopapa | first11 = S. | last12 = Stansberry | first12 = J. | last13 = Ortiz | first13 = J. -L. | last14 = Duffard | first14 = R. | last15 = Thirouin | first15 = A. | last16 = Henry | first16 = F. | last17 = Delsanti | first17 = A. | title = "TNOs are Cool": A survey of the trans-Neptunian region. VII. Size and surface characteristics of (90377) Sedna and {{mp|2010 EK|139}}| doi = 10.1051/0004-6361/201218874 | journal = Astronomy & Astrophysics | volume = 541 | pages = L6 | year = 2012 | pmid = | pmc = | bibcode = 2012A&A...541L...6P | arxiv = 1204.0899}}</ref> เนื่องจากเซดนาไม่มีดาวบริวาร การหามวลโดยไม่ส่งยานอวกาศไปจึงเป็นไปไม่ได้ในปัจจุบัน และเซดนาก็เป็นวัตถุพ้นดาวเนปจูนที่ใหญ่ที่สุดที่ไม่มีดาวบริวารในปัจจุบัน<ref name = "Lakdawalla2016a" /> มีความพยายามในการหาดาวบริวารนั้นเพียงครั้งเดียว<ref name="HubbleProposal" /><ref name="Mystery" /> และคาดการณ์กันว่ามีโอกาสที่ไม่พบดาวบริวารนั้นอยู่ 25%<ref name="PorterTwitter" /><ref name="BannisterTwitter" />
 
การสังเกตจากกล้องโทรทรรศน์ SMARTS แสดงให้เห็นว่าในระยะแสงที่มองเห็นได้ เซดนาเป็นหนึ่งในวัตถุที่สีแดงที่สุดในระบบสุริยะ เกือบมีสีแดงเท่า[[ดาวอังคาร]]<ref name="mikebrown"/> แชด ทรูจีโลและเพื่อนร่วมงานของเขาเสนอว่าสีแดงเข้มของเซดนานั้นเกิดจากผิวของดาวนั้นปกคลุมไปด้วยตะกอน[[ไฮโดรคาร์บอน]] หรือ[[โทลีน]] ซึ่งเกิดจากสารประกอบอินทรีย์ที่เล็กกว่าที่สัมผัสกับรังสี[[อัลตราไวโอเล็ต]]ยาวนาน<ref name="Trujillo2005"/> ผิวของเซดนาเหมือนกันทั้งสีและสเปกตรัมทั่วทั้งดาว ซึ่งอาจเกิดจากการที่เซดนาไม่ค่อยปะทะกับวัตถุอื่นใด ไม่เหมือนกับวัตถุอื่น ๆ ที่ใกล้ดวงอาทิตย์กว่า ที่มักจะปะทะกับวัตถุอื่น ซึ่งแสดงให้เห็นแถบน้ำแข็งสว่างที่มีเหมือนกับบน [[8405 แอสโบลัส]]<ref name="Trujillo2005"/> เซดนาและวัตถุที่อยู่ไกลมากสองชิ้น ได้แก่ {{mpl|2006 SQ|372}} และ {{mpl|(87269) 2000 OO|67}} มีสีเดียวกันกับวัตถุดั้งเดิมในแถบไคเปอร์ชั้นนอกและ[[เซนทอร์ (ดาวเคราะห์น้อย)|เซนทอร์]] [[5145 โฟบัส]] วัตถุเหล่านี้อาจมีต้นกำเนิดในบริเวณเดียวกัน<ref name="Sheppard2010"/>