ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ถนนเพชรบุรี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 8:
 
== ประวัติ ==
ถนนเพชรบุรีช่วงตั้งแต่ทางแยกยมราชถึงทางแยกประตูน้ำเป็นถนนที่[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]โปรดเกล้าฯ ให้กรมสุขาภิบาลตัดขึ้นตั้งแต่ริมคลองขื่อหน้า ปลาย[[ถนนคอเสื้อ]] (ปัจจุบันคือ[[ถนนพิษณุโลก]]) ไปบรรจบถนนราชดำริ เริ่มก่อสร้างในเดือนกรกฎาคม [[พ.ศ. 2448]]<ref name="พจนานุกรมวิสามานยนามไทย">กนกวลี ชูชัยยะ. '''พจนานุกรมวิสามานยนามไทย : วัด วัง ถนน สะพาน ป้อม.''' พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : ราชบัณฑิตยสถาน, 2548, หน้า .</ref> โดยได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ยืมเงินพระคลังข้างที่มาทดรองทดลองทำการ ระหว่างดำเนินการตัดถนน เกิดปัญหาแนวถนนตัดผ่านหมู่บ้านของคนในบังคับต่างประเทศ 2-3 แห่ง จึงต้องเจรจากันเรื่องค่าที่ดิน รัฐบาลได้มอบหมายให้นาย[[เอ็ดเวิร์ด สโตรเบล]] ที่ปรึกษาราชการ[[ชาวอเมริกัน]] เป็นผู้ดำเนินการเจรจา เมื่อสร้างเสร็จโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อถนนว่า '''ถนนประแจจีน''' ซึ่งเป็นชื่อลวดลายของเครื่องลายครามแบบจีนชนิดหนึ่ง ต่อมาในวันที่ [[16 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2462]] [[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]]โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อ[[ถนนประแจจีน]]เป็น '''ถนนเพชรบุรี'''<ref name="พจนานุกรมวิสามานยนามไทย"/> ตามพระนามทรงกรมของ[[สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร]]<ref>สำนักงานเขตราชเทวี. "ถนนเพชรบุรี." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://office.bangkok.go.th/ratchathewi/index.php?option=com_content&view=article&id=74:2012-06-03-00-52-09&catid=52:2012-06-03-00-50-50&Itemid=101 [ม.ป.ป.]. สืบค้น 30 มิถุนายน 2558.</ref>
 
ปี พ.ศ. 2505 ทางการได้เวนคืนตลาดเฉลิมลาภเก่าบริเวณ[[สามแยกประตูน้ำ]] (ปัจจุบันคือสี่แยกประตูน้ำ) โดยตัดถนนต่อออกจากสามแยกประตูน้ำไปจรดซอยสุขุมวิท 71 โดยได้เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อปี พ.ศ. 2506 คนทั่วไปนิยมเรียกถนนเพชรบุรีช่วงนี้ว่า "[[ถนนเพชรบุรีตัดใหม่]]"