ผลต่างระหว่างรุ่นของ "90377 เซดนา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Boom1221 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Boom1221 (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 70:
 
== ต้นกำเนิด ==
ในรายงานการค้นพบเซดนา ไมก์ บราวน์ และเพื่อนร่วมงานของเขา บรรยายไว้ว่าเซดนาเป็นวัตถุแรกที่อยู่ในบริเวณ[[เมฆออร์ต]] ซึ่งเป็นเมฆสมมติของ[[ดาวหาง]]ที่เชื่อกันว่ามีอยู่ไปไกลถึงเกือบหนึ่งปีแสงจากดวงอาทิตย์ พวกเขาสังเกตว่าจุดใกล้ที่สุดของเซดนา (76 AU) นั้นไกลเกินกว่าที่จะถูกกระจายโดยอิทธิพลความโน้มถ่วงจากดาวเนปจูน แตกต่างจากวัตถุ[[แถบหินกระจาย]] เช่น [[อีริส]]<ref name="Mike"/> เนื่องจากเซดนาอยู่ใกล้ดวงอาทิตย์เกินกว่าที่คาดไว้สำหรับวัตถุเมฆออร์ต ประกอบกับมี[[ความเอียงของวงโคจร|วงโคจรที่เอียง]]ในระนาบใกล้เคียงกับวัตถุอื่นในแถบไคเปอร์และดาวเคราะห์ พวกเขาจึงบรรยายวัตถุค้นพบใหม่ชิ้นนี้เป็น "วัตถุเมฆออร์ตชั้นใน" ซึ่งเริ่มตั้งแต่บริเวณแถบหินกระจายในแถบไคเปอร์ไปจนถึงบริเวณที่เป็นทรงกลมของเมฆออร์ต<ref name="Swiss" /><ref name="LykDyn"/>
 
ถ้าเซดนากำเนิดขึ้นในตำแหน่งปัจจุบัน [[จานดาวเคราะห์ก่อนเกิด]]ดั้งเดิมของดวงอาทิตย์ต้องแผ่ออกไปไกลถึง 75 หน่วยดาราศาสตร์ (AU) ในอวกาศ<ref name="SternAJ2005"/> วงโคจรดั้งเดิมของเซดนาก็ต้องเกือบเป็นวงกลมเช่นกัน มิเช่นนั้น การกำเนิดโดยการชนกันจากวัตถุขนาดเล็กกว่าจะเป็นไปไม่ได้ เพราะว่า[[ความเร็วสัมพัทธ์]]ที่มากระหว่างชิ้นส่วนเล็ก ๆ จะถูกรบกวนเกินไป ดังนั้น เซดนาจะต้องถูกเหวี่ยงมายังวงโคจรปัจจุบันด้วยแรงโน้มถ่วงของวัตถุบางอย่าง<ref name="scattered"/> ในรายงานแรกของพวกเขานั้น บราวน์ ราบิโนวิตซ์ และเพื่อนร่วมงาน เสนอว่ามีสามตัวเลือกที่เป็นไปได้ที่จะเป็นวัตถุที่มารบกวนนี้ ได้แก่ ดาวเคราะห์ที่ยังไม่ค้นพบที่อยู่ถัดออกไปจากแถบไคเปอร์ ดาวฤกษ์ที่โคจรผ่านมา หรือหนึ่งในดาวฤกษ์แรกเกิดที่ตรึกอยู่กับดวงอาทิตย์ในกระจุกดาวฤกษ์ครั้งที่ดวงอาทิตย์กำเนิดมา<ref name="Mike"/>
บรรทัด 84:
มันถูกเสนอว่าวงโคจรของเซดนานั้นเป็นผลมาจากอิทธิพลของดาวคู่ขนาดใหญ่ของดวงอาทิตย์ อยู่ห่างออกไปหลายพันหน่วยดาราศาสตร์ ดาวคู่สมมติหนึ่ง คือ [[เนเมซิส (ดาวฤกษ์สมมติ)|เนเมซิส]] [[ระบบดาวคู่|ดาวคู่]]มืดของดวงอาทิตย์ที่ถูกเสนอว่ามีส่วนเกี่ยวข้องที่ทำให้มีการพุ่งชนของดาวหางอันทำให้เกิด[[การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่]]บนโลก ร่องรอยการพุ่งชนบนดวงจันทร์ และองค์ประกอบวงโคจรที่คล้าย ๆ กันของดาวหางคาบยาวจำนวนมาก<ref name="Gomez2006"/><ref name="Cruttenden"/> ไม่มีหลักฐานโดยตรงเกี่ยวกับเนเมซิสเลย และหลักฐานหลายอย่าง เช่น จำนวนหลุมอุกกาบาต ทำให้การมีตัวตนของดาวดวงนั้นกลายเป็นข้อกังขา<ref name="Hills1984" /><ref name="Planck-NemesisMyth"/> [[จอห์น เจ. มัลทีส]] และ[[ดาเนียล พี. วิทไมร์]] ผู้ที่เสนอความเป็นไปได้ของดาวคู่ดวงอาทิตย์มาอย่างยาวนาน เสนอว่าวัตถุมวล 5 เท่าของดาวพฤหัสบดีที่อยู่ออกไปประมาณ 7,850 AU จากดวงอาทิตย์ อาจทำให้วัตถุหนึ่งมีวงโคจรแบบเซดนา<ref name="Matese2006"/>
 
มอร์บีเดลลีและ[[สกอตต์ เจย์ เคนยอน|เคนยอน]]ยังเสนออีกว่าเซดนาอาจไม่ได้กำเนิดในระบบสุริยะ แต่ถูกจับโดยดวงอาทิตย์มาจาก[[ระบบดาวเคราะห์]]อื่นที่โคจรผ่านมาแล้วโดนดวงอาทิตย์จับไว้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระบบของ[[ดาวแคระน้ำตาล]]ที่มีมวล 1/20 เท่า[[มวลดวงอาทิตย์|ของดวงอาทิตย์]]<ref name="Morbidelli2004" /><ref name="Kenyon2004" /><ref>{{cite web|url=http://www.scientificamerican.com/article/sun-accused-of-stealing-planetary-objects-from-another-star/|title=Sun Accused of Stealing Planetary Objects from Another Star|author=Ken Croswell|work=Scientific American}}</ref><ref>{{cite web|url=https://www.newscientist.com/article/dn27757-grand-theft-sedna-how-the-sun-might-have-stolen-a-mini-planet/|title=Grand Theft Sedna: how the sun might have stolen a mini-planet|author=Govert Schilling|work=New Scientist}}</ref>
 
== ประชากร ==