ผลต่างระหว่างรุ่นของ "90377 เซดนา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Boom1221 (คุย | ส่วนร่วม)
Boom1221 (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 36:
| อื่น ๆ =
}}
'''90377 เซดนา''' ({{lang-en|Sedna}}) เป็น[[ดาวเคราะห์น้อย]]ขนาดใหญ่ใน[[เซดนอยด์|บริเวณส่วนนอกของระบบสุริยะ]] ถึงซึ่งในปี พ.ศ. 2558 เซดนาอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 86 [[หน่วยดาราศาสตร์]] (AU) หรือ 1.29 × 10<sup>10</sup> กิโลเมตร) ซึ่งอยู่ห่างออกไปมากกว่า[[ดาวเนปจูน]]เกือบสามเท่า กระบวนการ[[สเปกโทรสโกปี]]เปิดเผยว่าพื้นผิวของเซดนามีองค์ประกอบคล้ายกับ[[วัตถุพ้นดาวเนปจูน]]อื่น ๆ บางชิ้น โดยเป็นส่วนผสมของ[[น้ำ]] [[มีเทน]] และ[[ไนโตรเจน]][[สารระเหย|แข็ง]]กับ[[โทลีน]]จำนวนมาก ผิวของเซดนาเป็นหนึ่งในผิวดาวที่มี[[วัตถุพ้นดาวเนปจูน|สีแดงมากที่สุด]]ท่ามกลางวัตถุอื่นในระบบสุริยะ เซดนา[[รายชื่อวัตถุที่อาจเป็นดาวเคราะห์แคระ|อาจเป็นดาวเคราะห์แคระ]] ในบรรดาวัตถุพ้นดาวเนปจูนทั้งแปดที่ใหญ่ที่สุด เซดนาเป็นวัตถุเดียวที่ไม่พบดาวบริวาร<ref name="PorterTwitter"/><ref name = "Lakdawalla2016a"/>
 
วงโคจรส่วนใหญ่ของเซดนาอยู่ไกลออกจากดวงอาทิตย์ไปมากกว่าตำแหน่งปัจจุบัน ซึ่งคาดว่าตำแหน่งที่ไกลจากดวงอาทิตย์มากที่สุดจะอยู่ห่างออกไปถึง 937 หน่วยดาราศาสตร์ (AU)<ref name="barycenter"/> (31 เท่าของระยะของดาวเนปจูน) ทำให้มันเป็นวัตถุหนึ่งที่ไกลที่สุดใน[[ระบบสุริยะ]] นอกเหนือจาก[[ดาวหางคาบยาว]]{{refn|1={{As of|2014}} เซดนาอยู่ที่ประมาณ 86.3&nbsp;[[หน่วยดาราศาสตร์|AU]] จากดวงอาทิตย์<ref name="AstDys" /> อีรีส ดาวเคราะห์แคระที่มีมวลมากที่สุด และ {{mpl-|225088|2007 OR|10}} วัตถุที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะที่ไม่มีชื่อ ขณะนี้อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากกว่าเซดนาที่ 96.4&nbsp;AU และ 87.0&nbsp;AU ตามลำดับ<ref name="AstDys-Eris" /> อีริสอยู่ใกล้กับจุดที่ไกลที่สุด (อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์มากที่สุด) ขณะที่เซดนากำลังเข้าใกล้[[จุดปลายระยะทางวงโคจร|จุดที่ใกล้ที่สุด]]ปี 2619 (อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด)<ref name="Horizons2076" /> เซดนาจะแซงอีริส กลายเป็นวัตถุที่ไกลที่สุดในระบบสุริยะในปี 2657 แต่วัตถุที่[[รายชื่อวัตถุที่อาจเป็นดาวเคราะห์แคระ|อาจเป็นดาวเคราะห์แคระ]]อย่าง {{mpl-|225088|2007 OR|10}} แซงเซดนาไปได้ไม่นาน และจะแซงอีริสในปี 2588<ref name="Horizons2076" />|group=lower-alpha}}<ref group=lower-alpha name=footnoteF>ดาวเคราะห์แคระที่เป็นไปได้อย่าง [[2014 FE72]] มีคาบการโคจรอยู่ที่ ~90,000 ปี และ[[วัตถุระบบสุริยะขนาดเล็ก]] เช่น {{mpl|(308933) 2006 SQ|372}}, {{mpl|2005 VX|3}}, {{mpl|(87269) 2000 OO|67}}, {{mpl|2002 RN|109}}, {{mpl|2007 TG|422}} และดาวหางหลายดวง (เช่น [[ดาวหางใหญ่แห่งปี พ.ศ. 2120]]) มีวงโคจรที่ใหญ่กว่าเช่นกัน สำหรับประเภทหลัง เฉพาะ {{mp|(308933) 2006 SQ|372}}, {{mp|(87269) 2000 OO|67}}, และ {{mp|2007 TG|422}} มีจุดใกล้ที่สุดอยู่ไกลกว่าวงโคจรดาวพฤหัสบดี ดังนั้นมันจึงเป็นข้อถกเถียงกันว่าวัตถุเหล่านี้อาจเป็นดาวหางที่ถูกจัดผิดหมวดหมู่</ref>
 
เซดนามีวงโคจรที่ยาวและยืดเป็นพิเศษ ทำให้มันต้องใช้ระยะเวลากว่า 11,400 ปีถึงจะโคจรครบหนึ่งรอบ และที่ตำแหน่งใกล้ดวงอาทิตย์มากที่สุด คือ 76 หน่วยดาราศาสตร์AU สิ่งนี้นำมาสู่ความคิดเกี่ยวกับต้นกำเนิดของเซดนา [[ศูนย์ดาวเคราะห์น้อย]]จัดเซดนาให้อยู่ใน[[แถบหินกระจาย]] ซึ่งเป็นกลุ่มของวัตถุที่มีวงโคจรยืดยาวออกไปไกลเนื่องด้วยแรงโน้มถ่วงจากดาวเนปจูน ถึงกระนั้น การจัดให้เซดนาอยู่ในแถบหินกระจายก็ยังเป็นข้อถกเถียง เพราะตำแหน่งที่ใกล้ที่สุดของเซดนา ก็ยังคงอยู่ห่างจากดาวเนปจูนออกไปมากเกินกว่าที่จะมีผลกระทบต่อกันได้ ทำให้นักดาราศาสตร์บางคนเชื่อว่าเซดนาเป็นวัตถุหนึ่งใน[[เมฆออร์ต]]ชั้นใน แต่บางคนก็เชื่อว่าเซดนามีวงโคจรที่ยืดยาวแบบนี้เนื่องด้วยดาวฤกษ์ที่เฉียดผ่านเข้ามาใกล้ บางทีอาจเป็นหนึ่งในดาวของกระจุกดาวของดวงอาทิตย์ตอนเกิด ([[กระจุกดาวเปิด]]) หรือมันอาจถูกจับยึดโดยระบบดาวเคราะห์อื่น สมมติฐานอีกอย่างหนึ่งเสนอว่า วงโคจรของมันได้รับผลกระทบจาก[[ดาวเคราะห์พ้นดาวเนปจูน|ดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ดวงหนึ่งที่พ้นวงโคจรดาวเนปจูน]]<ref name="Mike"/>
 
[[ไมเคิล อี. บราวน์|ไมเคิล บราวน์]] นักดาราศาสตร์ผู้ค้นพบเซดนาและดาวเคราะห์แคระ[[อีริส]] [[เฮาเมอา]] และ[[มาคีมาคี]] คิดว่าเซดนาเป็นวัตถุพ้นดาวเนปจูนในปัจจุบันที่สำคัญที่สุดในทางวิทยาศาสตร์ เพราะว่าการทำความเข้าใจในวงโคจรที่ไม่เสถียรของมันเป็นไปได้ที่จะให้ข้อมูลอันมีค่าเกี่ยวกับต้นกำเนิดและวิวัฒนาการของระบบสุริยะในช่วงแรก<ref name="fussman"/><ref>Chang, Kenneth, [https://www.nytimes.com/2016/01/21/science/space/ninth-planet-solar-system-beyond-pluto.html?emc=edit_au_20160120&nl=afternoonupdate&nlid=68634180&_r=0 ''Ninth Planet May Exist Beyond Pluto, Scientists Report''], New York Times, 21 January 2016, page A1</ref>
บรรทัด 46:
== ประวัติ ==
=== การค้นพบ ===
เซดนา (หรือในชื่อเก่า คือ '''2003 VB<sub>12</sub>''') ค้นพบโดย [[ไมเคิล อี. บราวน์]] ([[สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย]]) [[แชด ทรูจีโล]] ([[หอดูดาวเจมินี]]) และ [[เดวิด แรบิโนวิตซ์]] ([[มหาวิทยาลัยเยล]]) เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 การค้นพบเป็นส่วนหนึ่งของการสำรวจซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2544 ด้วย[[กล้องโทรทรรศน์ซามูเอลออสชิน]]ที่[[หอดูดาวพาโลมาร์]] ใกล้กับ[[แซนดีเอโก]] [[รัฐแคลิฟอร์เนีย]] ใช้กล้องความชัด 160 เมกะพิกเซลของมหาวิทยาลัยเยล ในวันนั้นวัตถุถูกตรวจพบว่าเคลื่อนที่ไปได้ 4.6 ลิปดา โดยใช้เวลา 3.1 ชั่วโมงเมื่อเทียบกับดาวฤกษ์ ซึ่งทำให้ประมาณได้ว่าวัตถุนั้นอยู่ห่างออกไปประมาณ 100 หน่วยดาราศาสตร์AU การสำรวจต่อมามีขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายน–ธันวาคม 2546 โดยใช้กล้องโทรทรรศน์สมาร์ทที่[[หอดูดาวนานาชาติ-อเมริกันเซร์โรโตโลโล]] ใน[[ประเทศชิลี]] กล้องโทรทรรศน์เทเนกรา 4 ในโนกาเลส [[รัฐแอริโซนา]] และกล้องของหอดูดาวเคกบนภูเขาไฟเมานาเคอาที่ฮาวาย ประกอบกับการตรวจสอบผ่านภาพเก่า ๆ ที่ถูกถ่ายได้โดยกล้องโทรทรรศน์ซามูเอลออสชินในเดือนสิงหาคม 2546 และภาพจาก[[ภารกิจตามหาดาวเคราะห์น้อยใกล้โลก]]ในปี 2544–2545 ทำให้มีความแม่นยำมากขึ้นในการหาวงโคจรของเซดนา การคำนวณแสดงให้เห็นว่าวัตถุนั้นเคลื่อนไปตามวงโคจรที่เยื้องมาก ๆ ที่ระยะทาง 90.3 AU จากดวงอาทิตย์<ref name="2004-E45"/><ref name="Mike"/> ภาพก่อนการค้นพบนี้ถูกพบภายหลังในบรรดาภาพการสำรวจท้องฟ้าของปาโลมาร์ย้อนกลับไปถึงวันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2533<ref name="jpldata" />
 
=== การตั้งชื่อ ===
บรรทัด 53:
== วงโคจรและการโคจร ==
[[ไฟล์:Sedna solar system Jan1 2017.png|thumb|left|วงโคจรของเซดนาเมื่อเทียบกับวงโคจรของวัตถุระบบสุริยะชั้นนอก (ภาพจากด้านบนและด้านข้าง วงโคจรดาวพลูโตเป็นสีม่วงและวงโคจรดาวเนปจูนเป็นสีน้ำเงิน)|alt=The orbit of Sedna lies well beyond these objects, and extends many times their distances from the Sun]]
เซดนาเป็นวัตถุที่มีคาบการโคจรนานที่สุดในระบบสุริยะ<ref group=lower-alpha name=footnoteF /> ซึ่งคำนวณแล้วอยู่ที่ 11,400 ปี<ref name="barycenter" /><ref group=lower-alpha name=footnoteG /> วงโคจรของมันมีความเยื้องสูงมาก ด้วยจุดไกลที่สุดจากดวงอาทิตย์อยู่ที่ 937 หน่วยดาราศาสตร์AU<ref name="barycenter" /> และจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดอยู่ที่ 76 หน่วยดาราศาสตร์AU โดยตำแหน่งที่ใกล้ที่สุดของเซดนาอยู่ไกลกว่าของวัตถุอื่นๆในระบบสุริยะจนกระทั่งค้นพบ [[2012 VP113|2012 VP<sub>113</sub>]]<ref name="Trujillo2007" /><ref name="Trujillo2014" /> ณ จุดไกลที่สุดนั้น เซดนาโคจรด้วยความเร็วเพียงแค่ 1.3% ของความเร็วที่โลกโคจร เมื่อเซดนาถูกค้นพบที่ระยะห่างจากดวงอาทิตย์ 89.6 หน่วยดาราศาสตร์AU<ref name="AstDys2003"/> ขณะเคลื่อนที่เข้าใกล้จุดใกล้ที่สุด เซดนากลายเป็นวัตถุที่ไกลที่สุดในระบบสุริยะเท่าที่สำรวจพบ ภายหลัง[[อีริส]]แซงเซดนาไป เมื่ออีรีสถูกตรวจพบโดยวิธีเดียวกันที่ระยะห่าง 97 หน่วยดาราศาสตร์AU จากดวงอาทิตย์ มีเพียงดาวหางคาบยาวบางดวงเท่านั้นที่มีคาบโคจรมากกว่าของเซดนา ดาวหางเหล่านี้จางเกินไปที่จะถูกค้นพบ เว้นแต่มันจะผ่านเข้ามาในระบบสุริยะชั้นใน ถึงแม้ว่าเซดนาจะอยู่ ณ จุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดในช่วงกลางปี พ.ศ. 2619<ref name="Horizons2076" />{{refn|1=โปรแกรมที่ระบบการทำงานแตกต่างกัน ก็อาจทำให้ได้ข้อมูลที่แตกต่างกันด้วย โดยใช้ตำแหน่งในปี พ.ศ
2557 ได้ข้อมูลเป็นปี พ.ศ. 2619<ref name="jpldata" /> ถ้าใช้ตำแหน่งในปี พ.ศ. 2533 ได้ข้อมูลเป็น [http://www.boulder.swri.edu/~buie/kbo/astrom/90377.html 2479282.9591] [http://ssd.jpl.nasa.gov/tc.cgi (2075-12-11)] {{As of|2010}} หรือประมาณวันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2619<ref name="Horizons2076" />|name=footnoteC|group=lower-alpha}} ดวงอาทิตย์ที่ปรากฏบนเซดนานั้นอาจมีขนาดเท่าปลายเข็มซึ่งสว่างกว่า[[ดวงจันทร์]]ตอนเต็มดวง 100 เท่า (เมื่อเทียบกับโลกแล้ว ดวงอาทิตย์ที่เห็นบนโลกสว่างกว่าตอนดวงจันทร์เต็มดวง 400,000 เท่า) และดวงอาทิตย์อยู่ไกลเกินกว่าที่จะเห็นเป็นรูปร่างได้<ref name="HubbleSite2004image" />
 
บรรทัด 80:
สมมติฐาน[[วัตถุพ้นดาวเนปจูน]]นั้นก้าวหน้าไปในหลากหลายรูปแบบโดยนักดาราศาสตร์จำนวนหนึ่ง รวมทั้ง รอดนีย์ โกเมส และปาทรึก ลือกาวกา สมมติฐานรูปแบบหนึ่งมีการรบกวนของวงโคจรเซดนาโดยวัตถุสมมติขนาดเท่าดาวเคราะห์ในเมฆฮิลล์เข้ามาเกี่ยวข้อง แบบจำลองล่าสุดแสดงให้เห็นว่าลักษณะการโคจรของเซดนาสามารถอธิบายได้ด้วยการรบกวนจากวัตถุมวลเท่าดาวเนปจูน ณ ตำแหน่ง 2,000 AU หรือน้อยกว่า วัตถุมวลเท่าดาวพฤหัสบดี ณ ตำแหน่ง 5,000 AU หรือแม้กระทั่งวัตถุมวลเท่าโลก ณ ตำแหน่ง 1,000 AU<ref name="PlanetarySociety"/><ref name="Gomez2006"/> แบบจำลองคอมพิวเตอร์โดยปาทรึก ลือกาวกา เสนอว่าวงโคจรของเซดนาอาจเป็นผลมาจากวัตถุขนาดประมาณโลกที่ถูกเหวี่ยงออกมาข้างนอกโดยดาวเนปจูนในช่วงเริ่มแรกของระบบสุริยะ และขณะนี้ก็อยู่ในวงโคจรที่ถูกยืดออกไปในช่วงระหว่าง 80 และ 170 AU จากดวงอาทิตย์<ref name="lykawka"/> การสำรวจท้องฟ้าหลายครั้งของไมก์ บราวน์ตรวจไม่พบวัตถุขนาดเท่าโลกใด ๆ ในช่วงระยะทางถึงประมาณ 100 AU เป็นไปได้ว่าวัตถุนั้นอาจหลุดออกไปนอกระบบสุริยะหลังจากการก่อตัวของเมฆออร์ตชั้นใน<ref name="sisters"/>
 
คอนสแตนติน บาตีกิน นักวิจัยจากสถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย และไมก์ บราวน์ตั้งสมมติฐานไว้เกี่ยวกับการมีตัวตนของดาวเคราะห์ยักษ์ในระบบสุริยะชั้นนอก พวกเขาให้ชื่อเล่นว่า [[ดาวเคราะห์เก้า]] ดาวเคราะห์ดวงนี้อาจมีมวลมากกว่าโลก 10 เท่า มีวงโคจรที่เยื้องมาก ๆ และมีระยะทางเฉลี่ยจากดวงอาทิตย์ประมาณ 20 เท่าของดาวเนปจูน (ซึ่งโคจรที่ระยะทางเฉลี่ยที่ 30.1 หน่วยดาราศาสตร์AU (4.50 × 10<sup>9</sup> กิโลเมตร)) คาบการโคจรอาจอยู่ที่ 10,000 ถึง 20,000 ปี การมีตัวตนของดาวเคราะห์ดวงนี้ถูกสมมติขึ้นโดยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์และแบบจำลองคอมพิวเตอร์ แต่มันยังไม่ถูกสังเกตได้โดยตรง มันอาจอธิบายลักษณะวงโคจรของกลุ่มของวัตถุที่รวมไปถึงเซดนา<ref>{{cite journal|last1=Batygin|first1=Konstantin|last2=Brown|first2=Michael E.|title=Evidence for a Distant Giant Planet in the Solar System|journal=The Astronomical Journal|date=2016|volume=151|issue=2|page=22|doi=10.3847/0004-6256/151/2/22|arxiv=1601.05438|bibcode=2016AJ....151...22B}}</ref><ref>{{cite web|last=Fesenmaier|first=Kimm|title=Caltech Researchers Find Evidence of a Real Ninth Planet|url=http://www.caltech.edu/news/caltech-researchers-find-evidence-real-ninth-planet-49523|accessdate=13 September 2017}}</ref>
 
มันถูกเสนอว่าวงโคจรของเซดนานั้นเป็นผลมาจากอิทธิพลของดาวคู่ขนาดใหญ่ของดวงอาทิตย์ อยู่ห่างออกไปหลายพันหน่วยดาราศาสตร์ ดาวคู่สมมติหนึ่ง คือ [[เนเมซิส (ดาวฤกษ์สมมติ)|เนเมซิส]] [[ระบบดาวคู่|ดาวคู่]]มืดของดวงอาทิตย์ที่ถูกเสนอว่ามีส่วนเกี่ยวข้องที่ทำให้มีการพุ่งชนของดาวหางอันทำให้เกิด[[การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่]]บนโลก ร่องรอยการพุ่งชนบนดวงจันทร์ และองค์ประกอบวงโคจรที่คล้าย ๆ กันของดาวหางคาบยาวจำนวนมาก<ref name="Gomez2006"/><ref name="Cruttenden"/> ไม่มีหลักฐานโดยตรงเกี่ยวกับเนเมซิสเลย และหลักฐานหลายอย่าง เช่น จำนวนหลุมอุกกาบาต ทำให้การมีตัวตนของดาวดวงนั้นกลายเป็นข้อกังขา<ref name="Hills1984" /><ref name="Planck-NemesisMyth"/> [[จอห์น เจ. มัลทีส]] และ[[ดาเนียล พี. วิทไมร์]] ผู้ที่เสนอความเป็นไปได้ของดาวคู่ดวงอาทิตย์มาอย่างยาวนาน เสนอว่าวัตถุมวล 5 เท่าของดาวพฤหัสบดีที่อยู่ออกไปประมาณ 7,850 AU จากดวงอาทิตย์ อาจทำให้วัตถุหนึ่งมีวงโคจรแบบเซดนา<ref name="Matese2006"/>
บรรทัด 106:
 
== การสำรวจ ==
เซดนาจะอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดประมาณปี พ.ศ. 2618–2619 การเข้าใกล้ครั้งนี้จะเป็นโอกาสที่จะสำรวจดาว ซึ่งจะไม่มีโอกาสอีกจนกว่า 12,000 ปีข้างหน้า ถึงแม้เซดนาจะมีรายชื่อในเว็บไซต์การสำรวจระบบสุริยะของนาซา<ref name="NASA1504" /> แต่ปัจจุบันยังไม่มีแผนการใดๆ เพื่อสำรวจเซดนา<ref name="NASADwarfMissions" /> มันถูกคำนวณออกมาว่าจะใช้เวลา 24.48 ปี ในการเดินทางจากโลกถึงเซดนา โดยใช้แรงโน้มถ่วงของดาวพฤหัสบดีช่วยเหวี่ยง คาดว่าวันปล่อยยานอาจจะเป็น 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2576 หรือ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2589 เมื่อยานไปถึงเซดนาจะอยู่ห่างจากดวงอาทิตย์ 77.27 และ 76.43 หน่วยดาราศาสตร์AU ตามลำดับ<ref name=McGranaghan />
 
ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 [[อีธาน ซีเกล]] นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ สนับสนุนยานอวกาศสำหรับศึกษาเซดนาที่ตำแหน่งใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดอย่างเปิดเผย ซีเกลกล่าวว่าเซดนาเป็นเป้าหมายที่น่าดึงดูด เนื่องจากสถานะที่เป็นไปได้ของการเป็นวัตถุเมฆออร์ตชั้นใน เนื่องจากเซดนาใช้ระยะเวลาในการโคจรนาน จึงอาจจะเป็นโอกาสเดียวในหลายสหัสวรรษที่จะได้ศึกษาเซดนา<ref>{{Cite news|url=https://www.forbes.com/sites/startswithabang/2018/05/22/is-humanity-ignoring-our-first-chance-for-a-mission-to-an-oort-cloud-object/#5c721c266953|title=Is Humanity Ignoring Our First Chance For A Mission To An Oort Cloud Object?|last=Siegel|first=Ethan|work=Forbes|access-date=2018-07-13|language=en}}</ref> ภารกิจเช่นนี้สามารถทำให้สะดวกขึ้นได้ด้วยเครื่องพ่นไอออน [[Dual-Stage 4-Grid]] ที่สามารถย่นเวลาการเดินทางได้อย่างมาก ถ้าให้พลังงานด้วยบางอย่าง เช่น เตาปฏิกรณ์<ref>{{Cite journal|date=2009-04-01|title=Very high delta-V missions to the edge of the solar system and beyond enabled by the dual-stage 4-grid ion thruster concept|url=https://www.sciencedirect.com/science/article/pii/S0094576508003731|journal=Acta Astronautica|language=en|volume=64|issue=7–8|pages=735–744|doi=10.1016/j.actaastro.2008.11.013|issn=0094-5765|bibcode=2009AcAau..64..735B|last1=Bramanti|first1=C|last2=Izzo|first2=D|last3=Samaraee|first3=T|last4=Walker|first4=R|last5=Fearn|first5=D}}</ref>