ผลต่างระหว่างรุ่นของ "กองทัพสหรัฐ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 7:
|current_form=
|branches=
{{Flagicon image|Flag of the United States Army.svg|size=23px}} [[กองทัพบกสหรัฐ|กองทัพบก]]<br />{{Flagicon image|Flag of the United States Marine Corps.svg|size=23px}} [[เหล่านาวิกโยธินสหรัฐ|เหล่านาวิกโยธิน]]<br />{{Flagicon image|Flag of the United States Navy.svg|size=23px}} [[กองทัพเรือสหรัฐ|กองทัพเรือ]]<br />{{Flagicon image|Flag of the United States Air Force.svg|size=23px}} [[กองทัพอากาศสหรัฐ|กองทัพอากาศ]]<br />{{Flagicon image|Flag of the United States Coast Guard.svg|size=23px}} [[ป้องกันชายฝั่งหน่วยยามฝั่งสหรัฐ|ป้องกันชายฝั่งหน่วยยามฝั่ง]]
|headquarters = {{nowrap|[[เดอะเพนตากอน]], [[อาร์ลิงตันเคาน์ตี]], [[รัฐเวอร์จิเนีย]], [[สหรัฐ]]}}
<!-- Leadership -->
บรรทัด 43:
}}
 
'''กองทัพสหรัฐ''' ({{lang-en|United States Armed Forces}}) เป็นกองทหารของ[[สหรัฐ]] ประกอบด้วยกองทัพบก กองทัพเรือ เหล่านาวิกโยธิน, กองทัพอากาศและป้องกันชายฝั่งหน่วยยามฝั่ง สหรัฐมีประเพณี[[การควบคุมโดยพลเรือน|พลเรือนควบคุมทหาร]]อย่างเข้มแข็ง [[ประธานาธิบดีสหรัฐ]]เป็นผู้บัญชาการทหาร และมีกระทรวงกลาโหมทำหน้าที่เป็นองค์กรหลักซึ่งนำนโยบายทางทหารไปปฏิบัติ กระทรวงกลาโหมมี[[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐ|รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม]] ซึ่งเป็นพลเรือนและอยู่ในคณะรัฐมนตรี เป็นเจ้ากระทรวง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอยู่ในอันดับที่สองของสายการบังคับบัญชาของทหาร รองแต่เพียงประธานาธิบดี และทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยหลักของประธานาธิบดีในกิจการทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับกระทรวง ประธานาธิบดีมีสภาความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Council) เป็นที่ปรึกษา ซึ่งมีที่ปรึกษาฝ่ายความมั่นคงแห่งชาติ (National Security Advisor) เป็นผู้นำ เพื่อประสานงานการปฏิบัติทางทหารกับการทูต ประธานาธิบดีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมมีเสนาธิการร่วม (Joint Chiefs of Staff) เจ็ดคนเป็นที่ปรึกษา ซึ่งสมาชิกประกอบด้วยหัวหน้าเหล่าทัพต่าง ๆ ของกระทรวงและหัวหน้าสำนักงานหน่วยรักษาดินแดน (National Guard Bureau) โดยประธานเสนาธิการร่วมและรองประธานเสนาธิการร่วมเป็นผู้สรรหาผู้นำ ผู้บัญชาการหน่วยป้องกันชายฝั่งยามฝั่งไม่เป็นสมาชิกของเสนาธิการร่วม
 
ทุกเหล่าทัพประสานงานระหว่างปฏิบัติการและภารกิจร่วม ภายใต้การบังคับบัญชาพลรบรวม (Unified Combatant Command) ซึ่งอยู่ในอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยกเว้นหน่วยป้องกันชายฝั่งยามฝั่ง หน่วยป้องกันชายฝั่งยามฝั่งอยู่ในการบริหารจัดการของ[[กระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ]] และได้รับคำสั่งปฏิบัติการจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ ประธานาธิบดีหรือรัฐสภาคองเกรสอาจโอนอำนาจการบังคับบัญชาหน่วยป้องกันชายฝั่งยามฝั่งไปให้[[กระทรวงทหารเรือสหรัฐ|กระทรวงทหารเรือ]] ในยามสงครามได้ เหล่าทัพทั้งห้าล้วนจัดเป็นหน่วยที่แต่งเครื่องแบบสหรัฐอันมีอยู่เจ็ดหน่วย อีกสองหน่วยได้แก่ [[หน่วยบริการสาธารณสุข]] และ [[หน่วยการบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติ]]สหรัฐ
 
นับแต่ก่อตั้ง กองทัพมีบทบาทสำคัญในประวัติศาสตร์สหรัฐ สัมผัสความสามัคคีและเอกลักษณ์ของชาติถูกสร้างขึ้นจากผลของชัยชนะใน[[สงครามบาร์บารี]]ทั้งสองครั้ง กระนั้น บิดาผู้ก่อตั้งยังไม่ไว้ใจการมีกำลังทหารถาวร จนกระทั่ง[[สงครามโลกครั้งที่สอง]]ปะทุ สหรัฐจึงตั้งกองทัพบกประจำการขนาดใหญ่อย่างเป็นทางการ รัฐบัญญัติความมั่นคงแห่งชาติ ค.ศ. 1947 ซึ่งผ่านมติเห็นชอบในช่วงเริ่มแรกของสงครามเย็น ได้จัดตั้งกรอบทหารสหรัฐสมัยใหม่ รัฐบัญญัติดังกล่าวรวม[[กระทรวงสงครามสหรัฐ|กระทรวงสงคราม]] และ กระทรวงทหารเรือในอดีตเข้าด้วยกันเป็นหน่วยจัดตั้งทหารแห่งชาติ (National Military Establishment) ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็นกระทรวงกลาโหมใน ค.ศ. 1949 มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเป็นผู้นำ ตลอดจนตั้ง[[กระทรวงทหารอากาศสหรัฐ|กระทรวงทหารอากาศ]]และสภาความมั่นคงแห่งชาติ