ผลต่างระหว่างรุ่นของ "บรั่นดี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Cuteystudio (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''บรั่นดี''' (brandy ย่อมาจาก '''บรั่นดีไวน์''' (brandywine) จาก[[ภาษาดัตช์]]ว่า brandewijn) บรั่นดีเป็นเครื่องดื่ม[[แอลกอฮอล์]]ที่ได้จากการกลั่นของการหมักน้ำผลไม้ต่างๆต่าง ๆ หรือไวน์ต่างๆ เช่น[[องุ่น]] [[แอปเปิ้ล]] แต่เมื่อผลิตจากผลไม้อื่นก็จะเรียกชื่อตามผลไม้นั้นๆนั้น ๆ แต่ถ้าผลิตจากองุ่นก็จะเรียกบรั่นดี กรรมวิธีการผลิตโดยการหมักน้ำองุ่นแล้วนำมาต้มกลั่น แล้วนำไปบ่มต่อในถังโอ๊คซึ่งจะทำให้แอลกอฮอล์ที่มีอยู่เดิมลดลง และเมื่อยิ่งบ่มไว้นานแอลกอฮอล์ก็จะลดต่ำลงไปเรื่อยๆเรื่อย ๆ บรั่นดีบางตัวเมื่อบ่มเกิน 50 ปีขึ้นไปจะมีแอลกอฮอล์ลดลงต่ำกว่า 40 ดีกรี และเมื่อบรรจุขวดก็จะมีแอลกอฮอล์เพียง 36 ดีกรี อันจะทำให้บรั่นดีนั้นมีความพิเศษเฉพาะ และมีความสุขุม นุ่มนวลจากการเก็บบ่มอันยาวนานนั่นเอง ชื่อบรั่นดีนั้นจะใช้เรียกสำหรับเหล้าที่ผลิตจากองุ่น บรั่นดีอาจจะผลิตจากผลไม้อื่นๆอื่น ๆ ก็ได้ซึ่งก็จะใช้ชื่อผลไม้นั้นเรียกแตกต่างกันไป บรั่นดีหลายๆหลาย ๆ ตัว ไม่ได้มีการหมักบ่มในถังโอ๊ค อันเนื่องจากลักษณะเฉพาะตัว เช่นสีใส รวมถึงบรั่นดีบางชนิดที่ไม่ได้ผลิตจากองุ่นที่ต้องการคงไว้ซึ่งรสชาติ กลิ่น อโรมาของตัวเอง
ในบางประเทศ เช่น[[ประเทศฝรั่งเศส]] ในแคว้นคอนญัก (Cognac) อมายัค (Armagnac) และ ควาลวาดอส (Calvados) ที่มีความชำนาญและเชี่ยวชาญในการผลิตบรั่นดีมีชื่อเสียงไปทั่วโลก ซึ่งบรั่นดีสามารถผลิตที่ไหนในโลกตราบใดเท่าที่ใช้องุ่นเป็นวัตถุดิบ เช่นที่ Douro valley ใน[[ประเทศโปรตุเกส]] Jerez de la Frontera ใน[[ประเทศสเปน]]
 
'''คอนญัก (Cognac) ''' ซึ่งเป็นบรั่นดีที่มีชื่อเสียงและเป็นที่นิยมไปทั่วโลก ซึ่งหลายๆหลาย ๆ คนไม่เข้าใจความแตกต่างของชื่อ[[คอนญัก]] (Cognac) และบรั่นดี (Brandy) ให้เข้าง่ายๆเข้าใจง่าย ๆ คอนญักก็คือบรั่นดี ซึ่งต้องผลิตจากองุ่นที่ปลูกในแคว้นคอนญัก ประเทศฝรั่งเศส ซึ่งรวมถึงกระบวนการผลิตก็จะต้องผลิตในคอนญักเช่นเดียวกัน คอนญักโดยส่วนหลักผลิตจากองุ่นพันธุ์แซง เอมีลียง (Saint-Émilion) คอนญักจะบ่มทั้งในถังไม้โอ๊คเก่าและใหม่ โดยจะเปลี่ยนถ่ายจากถังใหม่สู่ถังเก่าเพื่อหมักบ่มต่อซึ่งจะได้กลิ่นและรสอันขึ้นอยู่กับชนิดของไม้ของถังที่นำมาใช้บ่ม ระยะเวลาบ่มในขั้นตอนนี้ก็จะทำให้ได้คอนญักชนิดต่างๆญักชนิดต่าง ๆ ดังนี้
ชนิดธรรมดาที่มีชื่อเรียกว่า VS (very superior) เป็นคอนญักสามดาว และเป็นคอนญักในระดับธรรมดา มีอายุการบ่มไม่มากประมาณ 3-5 ปี
ชนิดดีที่มีชื่อเรียกว่า VSOP (very special old pale) จะมีสีที่เข้มกว่า ซึ่งอาจจะมีการเพิ่มสัญลักษณ์ตัวอักษรเพิ่มเข้าไปอีกเช่น F (fine) X (extra) คอนญักนี้จะมีอายุการหมักบ่มจากที่ประมาณ 7-10 ปี ซึ่งจะมีรสชาติที่สุขุม นุ่มนวล กลิ่นจรุง มากกว่าระดับสามดาว
ชนิดพิเศษที่ผ่านการหมักบ่มอันยาวนาน ที่มีน้อยและราคาแพง ซึ่งจะมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป ตัวอย่างเช่น Napoleon ของ Courvoisier หรือ Cordon Bleu ของ Martell หรือ Bras d’Or ของ Hennessy เป็นต้น คอนญักชนิดนี้จะผ่านการบ่มอันยาวนานถึง 15-25 ปีเลยทีเดียว และจากการบ่มอันยาวนานนี้จะทำให้คอนญักชนิดนี้มีความจรุงทั้งกลิ่นและรส รวมถึงมีแทนนิน (tannin) สูงที่ได้ไม้โอ๊ค คอนญักชนิดนี้ยังมีชื่ออื่นๆ อีกเช่น XO (extra old) Extra Vielle Grand Reserve เป็นต้น
 
'''อมายัค (Armagnac) ''' เป็นบรั่นดีอีกชนิดหนึงที่มีชื่อเสียงเป็นที่ชื่นชชอบไปทั่วโลก ผลิตจากองุ่นและผลิตอยู่ในแคว้นอมายัค ประเทศฝรั่งเศสเฉกเดียวกับคอนญัก มีสถานที่ผลิตสำคัญๆอยู่สามที่คือ Haut Armagnac Tènarèze และ Bas Armagnac โดยใช้พันธุ์คล้ายกันกับคอนญักดือ Folle Blanche และ Baco 22A ซึ่งปลูกกันมากใน Saint-Émilion อมายัคจะบ่มในถังไม้โอ๊คดำ ซึ่งแตกต่างจากเครื่องดื่มที่ได้จากกลั่นตัวอื่น แม้กระทั่งคอนญักเองก็จะบ่มจากถังไม้โอ๊คขาว อมายัคจะมีการบ่มที่ยาวนานกว่าคอนญัก และสิ่งที่ไม่เหมือนคอนญักอีกอย่างคืออมายัคจะมีการระบุปี (Vintage) อมายัคเองก็มีการแบ่งชนิดออกเป็น 3 ชนิดตามอายุการบ่มเช่นกัน อมายัคที่มีอายุบ่มน้อยที่สุดคือประมาณ 3 ปี และในระดับ VSOP จะบ่มนานประมาณ 5-10 ปี และในระดับที่มีอายุการบ่ม 15-25 ปี จะเรียกว่า Hors d’Age หรือ Vieille Réserve
นอกจากนี้ยังมีบรั่นดีอื่นๆอื่น ๆ อีกเช่น Apple brandy ที่ผลิตจากแอปเปิ้ล รวมถึง Calvados จากประเทศฝรั่งเศส ซึ่งมีหลายชนิด เช่น Calvados du Pays d’Auge และ Eau-de-vie de Cidre
 
'''ฟรุตอูเดอวี (Fruit Eaux-de-Vie) ''' ก็เป็นบรั่นดีที่ผลิตจากผลไม้ต่างๆต่าง ๆ ซึ่งไม่ได้มีการบ่มในถังโอ๊ค เพราะฉะนั้นบรั่นดีชนิดนี้จึงมีสีใสและมีกลิ่น รสเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละตัวนั้นไป ฟรุตอูเดอวีจะผลิตกันมากในแถบยุโรป และอเมริกาเหนือ กรรมวิธีการผลิตทั่วไปก็จะมี 2 แบบ แบบแรกจากการหมักผลไม้ให้เกิดเป็นไวน์แล้วจึงนำไปกลั่น คล้ายกับกรรมวิธีของคอนญัก โดยหลักจะใช้เชอร์รี่ (cherry) พลัม (plum) และแพร์ (pear) และอีกกรรมวิธีซึ่งจะใช้ผลไม้ที่มีเปลือกอ่อนเช่นราสเบอร์รี่ (Raspberries) โดยจะนำผลไม้ไปแช่ในเหล้าที่มีแอลกอฮอล์สูง แล้วจึงนำไปกลั่น ฟรุตอูเดอวีที่มีชื่อเสียงเป็นที่นิยม จะได้จากผลไม้ต่างดังนี้
 
# '''เชอร์รี่''' (Cherry) Kirsch, Kirschwasser
# '''แพร์''' (Pear) Poire Williams, Williams Birnenbrand
# '''ราสเบอร์รี่''' (Raspberry) Framboise, Himbeergeist