ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ไทยเชื้อสายจีน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไทๆ (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 8072183 สร้างโดย 58.10.4.178 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
Cuteystudio (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 23:
[[แต้จิ๋ว]] (潮州 ; Teochew ; [[ภาษาจีนกลาง]]: Cháozhōu) เป็นกลุ่มชาวจีนที่มากที่สุด กล่าวกันว่า" ที่ไหนมีศาลเจ้า (老爺宮) เหล่าเอี้ยเก็ง) ที่นั่นจะพบคนจีน เพื่อพบปะกันและเป็นที่พึ่งทางใจเมื่อยามห่างไกลแผ่นดินเกิด ชาวจีนจะตั้งถิ่นฐานอยู่ตามพื้นที่รอบ ๆ [[แม่น้ำเจ้าพระยา]] [[ท่าจีน]] [[แม่กลอง]]และตาม[[ภาคกลาง]] ได้มาที่แผ่นดินสยาม (เซี่ยมล้อ 暹羅) ตั้งแต่ยุค[[กรุงศรีอยุธยา]]แล้ว โดยมาจาก [[มณฑลฝูเจี้ยน]] (福建省) และ [[มณฑลกวางตุ้ง]] (廣東省) ส่วนมากจะทำการค้าทางด้าน [[การเงิน]] ร้านขายข้าว และ [[ยา]] มีบางส่วนที่ทำงานให้กับภาครัฐ ในสมัย[[สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี]] (鄭皇, แต้อ้วง พระองค์แซ่แต้) พ่อค้าจีนแต้จิ๋วจำนวนมากได้รับสิทธิพิเศษ ชาวจีนกลุ่มนี้จึงเรียกว่า จีนหลวง (Royal Chinese) สาเหตุเนื่องจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงมีเชื้อสายแต้จิ๋วเช่นกัน ในช่วงกรุงรัตนโกสินทร์การอพยพของชาวแต้จิ๋วจึงมีมากขึ้น และในประเทศไทยเองก็มีคนแต้จิ๋วเป็นจำนวนมาก และปัจจุบันจะมีมากในทุกภาคของประเทศไทยแต่ที่มีชาวแต้จิ๋วมากที่สุดคือกรุงเทพฯ
 
ภาคกลางตอนล่าง เช่น นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี สมุทรสาคร สมุทรสงคราม
ตอนบน เช่น ชัยนาท สิงห์บุรี นครสวรรค์ เพชรบูรณ์ พิษณุโลก สุโขทัย
 
ภาคตะวันออก เช่น ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี (เมืองเก่าของพระเจ้าตากสินมหาราช) ตราด สระแก้ว ปราจีนบุรี (ชาวแต้จิ๋วมาเริ่มตั้งต้นถิ่นฐานที่นี่มากที่สุดเพราะเป็นพื้นที่ไม่มีคนอยู่อาศัยเป็นป่าแต่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรน้ำเพื่อเพาะปลูกและที่ปลูกมากที่สุดคือ "ต้นไผ่" เพราะไผ่ขายเพื่อทำเรือแพออกไปค้าขายได้ แล้วกระจายไปในจังหวัดใกล้เคียงในเวลาต่อมา ในรัชสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ชาวแต้จิ๋วข้ามาอาศัยแผ่นดินสยามมากที่สุด)
ภาคเหนือตอนบน เช่น เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง แพร่ น่าน (ส่วนพะเยาจะมีจีนแคะหรือชาว[[ฮากกา]]จำนวนมาก)
 
ส่วนในภาคอีสานส่วนใหญ่จะเป็นชาวแต้จิ๋วในทุกจังหวัดเช่น นครราชสีมา (โคราช) ชัยภูมิ ขอนแก่น เลย อุดรธานี กาฬสินธ์ มหาสารคาม อุบลราชธานี ยโสธร ศรีสะเกษ สุรินทร์ บุรีรัมย์ ส่วนพื้นที่ริมโขงเช่น หนองคาย บึงกาฬ นครพนม มุกดาหาร จะปะปนไปด้วยชาวแต้จิ๋ว แคะ และเวียดนาม (ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า)
บรรทัด 44:
 
=== กวางไส ===
กวางไสหรือ[[กวางสี]] ([[ภาษาจีน|จีน]]: 廣西 ; [[ภาษากวางตุ้ง]]: gwong2-sai1) เป็นกลุ่มชาวจีนที่อพยพมาจาก[[มณฑลกวางสี]] ส่วนใหญ่มาจากอำเภอหยง (容縣) และแถบอำเภอใกล้เคียง ช่วงแรกอพยพมาอยู่แถบ[[ประเทศมาเลเซีย]]ก่อนแล้วค่อยๆค่อย ๆ เดินเท้าอพยพเข้ามาสู่ประเทศไทย อาศัยอยู่มากใน[[อำเภอเบตง]] [[จังหวัดยะลา]] และ[[ตำบลปาดังเบซาร์]] [[อำเภอสะเดา]] [[จังหวัดสงขลา]] พูด[[ภาษาจีนกวางตุ้ง]] ([[ภาษาจีน]]:粵語) สำเนียง Gōulòu ([[ภาษาจีน]]:勾漏方言) เป็นภาษาหลัก ชาวจีนกวางไสเป็นเกษตรกร ทำสวนยางพารากันเป็นส่วนมาก ไม่สันทัดเรื่องการค้าขาย จึงไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันมากนัก
 
แต่ยังมีของที่พอเป็นที่รู้จัก ก็คือ ไก่กวางไสหรือ[[ไก่เบตง]] เป็นไก่พันธุ์เนื้อพื้นเมืองที่นำพันธุ์มาจากประเทศจีน มีลักษณะพิเศษกว่าไก่ชนิดอื่น ๆ ,เคาหยก (扣肉) หมูสามชั้นต้มสุก ทอดส่วนที่เป็นหนังและนำไปหมักด้วยเต้าหู้ยี้ เหล้าจีน น้ำขิง กระเทียมเล็กน้อย แล้วนำมานึ่งเผือก กินคู่กับผักดอง
บรรทัด 66:
 
=== สมัยธนบุรี ===
เมื่อครั้งเสีย[[อาณาจักรอยุธยา|กรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2]] ในปี [[พ.ศ. 2310]] จนถึงปี [[พ.ศ. 2312]] จักรวรรดิจีนได้ถูกรุกรานโดย[[พม่า]]ที่กำลังขยายแสนยานุภาพ จักรพรรดิจีนในสมัยนั้นได้ส่งกองกำลังไปปราบปรามพม่าถึง 4 ครั้งแต่ก็ไม่สำเร็จ แต่ฝ่ายจีนก็ได้เบนความสนใจมาที่กองทัพพม่าใน[[อาณาจักรอยุธยา]] ซึ่งกำลังถูกพม่ายึดครอง ขุนพลไทยนาม "สิน" ซึ่งมีบิดาเป็นคนจีน และมารดานาม นกเอี้ยง ซึ่งเป็นชาว[[สยาม]] ได้ใช้สถานการณ์ที่ได้เปรียบนี้ทำให้สามารถกอบกู้เอกราชให้[[สยาม]]ได้สำเร็จ ขุนพลท่านนั้นต่อมาได้ขึ้นครองราชย์เป็น สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี แห่งกรุงธนบุรี หรือที่ชาวจีนขนามนามว่า แต้อ๊วง ด้วยความที่ว่าบิดาสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี เป็นคนจีน
 
เมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ได้ทรงขึ้นครองราชย์แล้ว ชาวจีนแต้จิ๋วได้เข้ามาทำการค้า และ[[อพยพ]]มายัง[[กรุงธนบุรี]]เป็นจำนวนมาก ทำให้ประชากร[[ชาวจีนโพ้นทะเล]]ในไทย เพิ่มขึ้นจาก 230,000 คนใน พ.ศ. 2368 เป็น 792,000 คนใน พ.ศ. 2453 และใน พ.ศ. 2475 ประชากรไทยถึง 12.2% เป็นชาวจีนโพ้นทะเล
บรรทัด 90:
[[ฮ่อ|ชาวไทยเชื้อสายจีนในภาคเหนือ]]เป็นชาวไทยเชื้อสายจีนกลุ่มเดียวที่ใช้[[ภาษาจีนกลาง|ภาษาจีน]] พบได้ในจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย ซึ่งส่วนใหญ่นับถือพุทธกับคริสต์และมีบางส่วนนับถืออิสลาม
 
ปัจจุบัน กระแสความนิยมภาษาจีนในระดับหนึ่ง เนื่องจากเป็นภาษาที่สำคัญในการติดต่อธุรกิจระหว่างไทย-จีน และสำหรับลูกหลานจีนที่เป็นวัยรุ่นก็ได้รับสื่อต่างๆ จาก[[ไต้หวัน]] มาก ทั้งละคร และเพลง ทำให้ในปัจจุบันมีโรงเรียนสอนภาษาจีนเปิดสอนอยู่มากขึ้นตามเพื่อสนองความต้องการ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น[[ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน|ภาษาจีนแบบไต้หวัน]]หรือ[[ภาษาจีนกลางสำเนียงไต้หวัน|กว๋อยวี่]] (國語) ก็ยังเป็นวงแคบ เพราะภาษาจีนถิ่นนี้ใช้ระบบ[[จู้อิน]]แทน[[พินอิน]]และใช้[[อักษรจีนตัวเต็ม|อักษรตัวเต็ม]] ดังนั้นการเรียนภาษาจีนกลางหรือผู่ทงฮว่า (普通话) จึงเป็นที่นิยมกว่า ปัจจุบันประชากรชาวไทยประมาณร้อยละสองรู้ภาษาจีนในระดับกลาง
 
=== หนังสือพิมพ์ภาษาจีน ===
บรรทัด 98:
ในประเทศไทยมีโรงเรียนจีนหลายแห่ง ตัวอย่างเช่น [[โรงเรียนเผยอิง]]ซึ่งตั้งอยู่ในย่าน[[เยาวราช]] เปิดสอนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หรือ [[โรงเรียนช่องฟ้าซินเซิงวาณิชบำรุง]]ใน[[จังหวัดเชียงใหม่]] เปิดสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6<ref>[http://www.oknation.net/blog/hidayatool/2008/04/10/entry-2</ref> และ [[โรงเรียนภูเก็ตไทยหัว]] [[จังหวัดภูเก็ต]] เปิดสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งเป็นโรงเรียนจีนแห่งแรกของไทย<ref>[http://www.phuketthaihua.ac.th/index.php?option=com_content&view=article&id=53&Itemid=53</ref>
 
ที่มาของสำนวนว่า ''"เรียบร้อยโรงเรียนจีน"'' ที่หมายถึง เรียบร้อย, ราบคาบ นั้น มาจากการบุกตรวจค้นโรงเรียนจีนทั้งหลายว่าเป็นแหล่งซ่องสุมและเผยแพร่ลัทธิ[[คอมมิวนิสต์]] ในสมัยอดีต<ref>[http://www.praphansarn.com/new/c_lift/detail.asp?ID=77 คำถาม คำว่า "เรียบร้อยโรงเรียนจีน" มีที่มาอย่างไรคะ สายสุดา]</ref>
 
=== ศาสนาและความเชื่อ ===
บรรทัด 149:
* พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี ท่านถือกำเนิดในชุมชนจีนฮกเกี้ยนบริเวณวัดสุวรรณดาราราม ฝั่งตะวันออกของคลองนายก่าย กรุงศรีอยุธยา มารดาของท่านชื่อดาวเรืองหรือหยก เป็นธิดาที่เกิดในสกุลคหบดีจีนที่ร่ำรวยที่สุดในชุมชนชาวจีนฮกเกี้ยน
* พุทธทาสภิกขุ ใช้แซ่คอ (許)
* กรณ์ จาติกวณิช ใช้แซ่ซอ/เซา (蘇)
* วิรัตน์ กัลยาศิริ ใช้แซ่ซอ/เซา (蘇)
* นายธวัชชัย ซอโสตถิกุล เจ้าของซีคอนสแควร์ ใช้แซ่ซอ/เซา (蘇)
;ไหหลำ