ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อักษรจีนตัวเต็ม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Shoshui (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Shoshui (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 46:
| caption2 = การวาดด้วยมือเปล่าของอักษรจารึกบนกระดูกสมัย[[ราชวงศ์โจว]]
}}
หลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดของอักษรจีนพบหลักฐานปรากฏมาจากแหล่งโบราณคดีปั้นปอ [[เมืองซีอาน]]ของ[[มณฑลส่านซี]]ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน สามารถนับย้อนหลังกลับไปได้กว่า 5,000 ปี โดยอยู่ในรูปของอักษรภาพที่สลักเป็นลักษณะรูปวงกลมเสี้ยวพระจันทร์และภูเขาห้ายอดบนเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งนับเป็นยุคต้นของศิลปะการเขียนอักษรจีน อักษรภาพที่เก่าแก่ที่สุดในจีน ต่อมาเป็นที่เรียกกันว่า '''อักษรจารึกบนกระดูกสัตว์''' หรือ '''[[เจี๋ยกู่เหวิน]]''' (甲骨文) เป็นอักษรที่ใช้มีดแกะสลักหรือจารจารึกลงบนกระดองเต่า หรือกระดูกสัตว์ ปรากฏแพร่หลายใน[[ราชวงศ์ชาง]] เมื่อ 1,300–1,100 ปีก่อนคริสตกาล อักษรที่จารึกบนกระดูกสัตว์ได้พัฒนาไปเป็นอักษรหลอมหรือจารึกบนโลหะหรืออักษรโลหะ หรือ[[จินเหวิน]] (金文) เป็นอักษรที่ใช้ในสมัยซางต่อเนื่องถึงราชวงศ์โจว (1,100 – 771 ปีก่อนคริสตศักราช) มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ‘จงติ่งเหวิน’ (钟鼎文) หมายถึงอักษรที่หลอมลงบนภาชนะทองเหลืองหรือสำริด เนื่องจากตัวแทนภาชนะสำริดในยุคนั้นได้แก่ ‘ติ่ง’ซึ่งเป็นภาชนะคล้ายกระถางมีสามขา
 
ต่อมาได้มีการพัฒนาไปเป็น[[อักษรต้าจ้วน]] (大篆) ซึ่งอักษรต้าจ้วนเป็นอักษรจีนที่ใช้ตั้งแต่ยุคปลาย[[ราชวงศ์โจวตะวันตก]] เกือบเข้ายุคประมุของค์สุดท้ายของโจวตะวันตก จนถึง[[ยุคชุนชิว|ยุคชุนชิวจ้านกั๋ว]]