ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การกร่อน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Jeanvenotella (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
{{ต้องการอ้างอิง}}
[[ไฟล์:Eroding rill in field in eastern Germany.jpg|thumb|การกร่อนของผิวดินจากการทำการเกษตรเข้มข้นในประเทศเยอรมันนี]]
ในทางปฐพีวิทยา '''การกร่อน'''คืออาการของกระบวนการที่ทำให้พื้นผิวดิน หิน หลุดออก

ลุดออก หรือทำละลายออกจากตำแหน่งใด ๆ ของ[[เปลือกโลก]] ให้เคลื่อนย้ายไปสู่ตำแหน่งอื่น ๆ การกร่อนนี้มีสองรูปแบบคือ การกร่อนทางกล และการกร่อนทางเคมี การกร่อนทางกลคือการที่ดินหรือหินแตกแยกย่อยและเคลื่อนย้ายตำแหน่ง ส่วนการกร่อนทางเคมีคือการที่ดิน หิน หรือแร่ธาตุถูกย้ายตำแหน่งด้วยการละลายในตัวทำละลาย ซึ่งโดยมากคือน้ำ เมื่อละลายแล้วได้รับการพัดพาไปสู่ตำแหน่งใหม่ การกร่อนทั้งสองรูปแบบนี้เป็นผลให้สสารเคลื่อนย้ายตำแหน่งไป ในระดับมิลลิเมตร จนถึงหลายพันกิโลเมตร
 
การกร่อนตามธรรมชาตินั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยขับดันทางธรรมชาติ ซึ่งทำให้เกิดอัตราและรูปแบบการกร่อนที่แตกต่างกัน เช่นการไหลของน้ำฝน การกร่อนของชั้นหินดินดานในแม่น้ำ [[การกัดเซาะชายฝั่งทะเล]]โดยคลื่น การกระทบกระแทกโดย[[ธารน้ำแข็ง]] การกร่อนโดย[[กระแสลม]] การไหลของน้ำใต้ดิน หรือการไถล ถล่มของดิน เป็นต้น