ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อริยสัจ 4"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เพิ่มรายละเอียดความสำคัญของอริยสััจ 4
ย้อนการแก้ไขที่ 8120265 สร้างโดย 2403:6200:88A2:9D79:DD72:C053:6AEE:82F0 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 1:
{{พุทธศาสนา}}
==== ความหมาย ====
'''อริยสัจ''' หรือ'''จตุราริยสัจ''' หรือ'''อริยสัจ 4''' เป็นหลักคำสอนหนึ่งของ[[พระโคตมพุทธเจ้า]] แปลว่า ความจริงอันประเสริฐ ความจริงของพระ[[อริยบุคคล]] หรือความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงกลายเป็นอริยะ มีอยู่สี่ประการ คือ
'''อริยสัจ 4''' '''หรือ''' '''จตุราริยสัจ''' '''คือ''' ความจริงอันประเสริฐ 4 ประการ ที่พระ[[สัมมาสัมพุทธเจ้า]]ทุกพระองค์รวมถึง[[พระโคตมพุทธเจ้า]]ได้ตรัสรู้และประกาศสอน เป็นสัจจะความจริงที่ผู้ใดก็ตามที่ได้เห็นแจ้งและแทงตลอดในสัจจะความจริงนี้แล้ว จะทำให้ผู้นั้นเป็นบุคคลผู้ประเสริฐหรือเป็น[[อริยบุคคล]] และ กระทำให้ถึงที่สุดแห่งทุกข์ทั้งปวงได้ คือ สิ้นชาติ ชรา และ มรณะ ซึ่งทางพระศาสดาได้ทรงตรัสอริยสัจ 4 ไว้หลายนัยยะ ดังนี้
# '''[[ทุกข์]]''' (Sanskrit: Duhkha) คือ สภาพที่ทนได้ยาก ภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ สภาพที่บีบคั้น ได้แก่ ชาติ (การเกิด) ชรา (การแก่ การเก่า) มรณะ (การตาย การสลายไป การสูญสิ้น) การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก การปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่สมหวังในสิ่งนั้น กล่าวโดยย่อ ทุกข์ก็คือ[[อุปาทานขันธ์]] หรือ[[ขันธ์ 5]]
# '''[[สมุทัย]]''' (Sanskrit: Samudaya ) คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ ได้แก่ [[ตัณหา|ตัณหา 3]] คือ กามตัณหา-ความทะยานอยากในกาม ความอยากได้ทางกามารมณ์, ภวตัณหา-ความทะยานอยากในภพ ความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วย[[ภวทิฏฐิ]]หรือ[[สัสสตทิฏฐิ]] และ วิภวตัณหา-ความทะยานอยากในความปราศจากภพ ความอยากไม่เป็นโน่นเป็นนี่ ความอยากที่ประกอบด้วย[[วิภวทิฏฐิ]]หรือ[[อุจเฉททิฏฐิ]]
# '''[[นิโรธ]]''' (Sanskrit: Nirodha) คือ ความดับทุกข์ ได้แก่ ดับสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ กล่าวคือ ดับตัณหาทั้ง 3 ได้อย่างสิ้นเชิง
# '''[[มรรค]]''' (Sanskrit: Marga) คือ แนวปฏิบัติที่นำไปสู่หรือนำไปถึงความดับทุกข์ มีองค์ประกอบอยู่แปดประการ คือ 1. [[สัมมาทิฏฐิ]]-ความเห็นชอบ 2. [[สัมมาสังกัปปะ]]-ความดำริชอบ 3. [[สัมมาวาจา]]-เจรจาชอบ 4. [[สัมมากัมมันตะ]]-ทำการงานชอบ 5. [[สัมมาอาชีวะ]]-เลี้ยงชีพชอบ 6. [[สัมมาวายามะ]]-พยายามชอบ 7. [[สัมมาสติ]]-ระลึกชอบ และ 8. [[สัมมาสมาธิ]]-ตั้งใจชอบ ซึ่งรวมเรียกอีกชื่อหนึ่งได้ว่า "มัชฌิมาปฏิปทา" หรือทางสายกลาง
 
==== '''นัยยะทั่วไป''' ====
 
#'''[[ทุกข์]]''' (Sanskrit: Duhkha) ภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือความจริงอันประเสริฐ เรื่องความทุกข์ คือ ความเกิดเป็นทุกข์ ความแก่เป็นทุกข์ ความเจ็บไข้ก็เป็นทุกข์ ความตายก็เป็นทุกข์ ความประจวบกับสิ่งที่ไม่รักเป็นทุกข์ ความพลัดพรากจากสิ่งที่รักเป็นทุกข์ ความปรารถนาสิ่งใดแล้วไม่ได้สิ่งนั้นเป็นทุกข์ กล่าวโดยย่อ [[ขันธ์ 5]] ที่ประกอบด้วยอุปาทานเป็นทุกข์
#'''[[สมุทัย]]''' (Sanskrit: Samudaya ) ภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือความจริงอันประเสริฐ เรื่องแดนเกิดของความทุกข์ คือ ตัณหา อันเป็นเครื่องทำให้มีการเกิดอีก อันประกอบอยู่ด้วยความกำหนัดด้วยอำนาจของความเพลิน อันเป็นเครื่องให้เพลิดเพลินอย่างยิ่งในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ ตัณหาในกาม ตัณหาในความมีความเป็น ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น
#'''[[นิโรธ]]''' (Sanskrit: Nirodha) ภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือความจริงอันประเสริฐ เรื่องความดับไม่เหลือของความทุกข์ คือ ความดับสนิทเพราะจางไปโดยไม่มีเหลือของตัณหานั้นนั่นเอง คือ ความสลัดทิ้ง ความสลัดคืน ความปล่อย ความทำไม่ให้มีที่อาศัย ซึ่งตัณหานั้น
#'''[[มรรค]]''' (Sanskrit: Marga) ภิกษุทั้งหลาย นี้แล คือความจริงอันประเสริฐ เรื่องข้อปฏิบัติอันทำสัตว์ให้ลุถึงความดับไม่เหลือของความทุกข์ คือ ข้อปฏิบัติอันเป็นหนทางอันประเสริฐอันประกอบด้วยองค์8 ประการนี้ ได้แก่ ความเห็นที่ถูกต้อง ([[สัมมาทิฏฐิ]]) ความดำริที่ถูกต้อง [[สัมมาสังกัปปะ|(สัมมาสังกัปปะ]]) การพูดจาที่ถูกต้อง [[สัมมาวาจา|(สัมมาวาจา)]] การทำงานที่ถูกต้อง ([[สัมมากัมมันตะ]]) การมีอาชีพที่ถูกต้อง [[สัมมาอาชีวะ|(สัมมาอาชีวะ]]) ความพากเพียรที่ถูกต้อง ([[สัมมาวายามะ|สัมมาวายามะ)]] ความระลึกที่ถูกต้อง [[สัมมาสติ|(สัมมาสติ]]) ความตั้งใจมั่นคงที่ถูกต้อง ([[สัมมาสมาธิ|สัมมาสมาธิ)]]
 
==== '''นัยยะของอายตนะ 6''' ====
 
# '''[[ทุกข์]]''' (Sanskrit: Duhkha) ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจคือทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า ควรจะกล่าวว่าได้แก่อายตนะภายใน6 อายตนะภายใน6 เหล่าไหนเล่า คือ จักขุอายตนะ (ตา) โสตะอายตนะ (หู) ฆานะอายตนะ (จมูก) ชิวหาอายตนะ (ลิ้น) กายะอายตนะ (กาย) มนะอายตนะ (ใจ) ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่าอริยสัจคือทุกข์
# '''[[สมุทัย]]''' (Sanskrit: Samudaya ) ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจคือทุกขสมุทัย เป็นอย่างไรเล่า คือ ตัณหาอันใดนี้ ที่เป็นเครื่องนำให้มีการเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำหนัดเพราะอำนาจความเพลิน มักทำให้เพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่าอริยสัจคือทุกขสมุทัย
# '''[[นิโรธ]]''' (Sanskrit: Nirodha) ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจคือทุกขนิโรธ เป็นอย่างไรเล่า คือ ความดับสนิทเพราะความจางคลายไปโดยไม่มีเหลือของตัณหานั้น ความสลัดทิ้ง ความสลัดคืน ความปล่อยวาง ความไม่อาลัยถึง ซึ่งตัณหานั้นเอง ภิกษุทั้งหลาย นี้เราเรียกว่าอริยสัจคือทุกขนิโรธ
# '''[[มรรค]]''' (Sanskrit: Marga) ภิกษุทั้งหลาย อริยสัจคือทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา เป็นอย่างไรเล่า คือ หนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดประการนี้นั่นเอง ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นที่ถูกต้อง ([[สัมมาทิฏฐิ]]) ความดำริที่ถูกต้อง [[สัมมาสังกัปปะ|(สัมมาสังกัปปะ]]) การพูดจาที่ถูกต้อง [[สัมมาวาจา|(สัมมาวาจา)]] การทำงานที่ถูกต้อง ([[สัมมากัมมันตะ]]) การมีอาชีพที่ถูกต้อง [[สัมมาอาชีวะ|(สัมมาอาชีวะ]]) ความพากเพียรที่ถูกต้อง ([[สัมมาวายามะ|สัมมาวายามะ)]] ความระลึกที่ถูกต้อง [[สัมมาสติ|(สัมมาสติ]]) ความตั้งใจมั่นคงที่ถูกต้อง ([[สัมมาสมาธิ|สัมมาสมาธิ)]]
 
==== '''นัยยะของขันธ์ 5''' ====
 
# '''[[ทุกข์]]''' (Sanskrit: Duhkha) ภิกษุทั้งหลาย ความจริงอันประเสริฐ คือทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า คำตอบคือ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่น 5 อย่าง ([[อุปาทานขันธ์ ๕|อุปาทานขันธ์ 5]]) ห้าอย่างนั้นอะไรเล่า ห้าอย่างคือ ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่นถือมั่น ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร และ วิญญาณ ภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าว่า ความจริงอันประเสริฐ คือทุกข์
# '''[[สมุทัย]]''' (Sanskrit: Samudaya ) ภิกษุทั้งหลาย ความจริงอันประเสริฐ คือเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า คือ ตัณหาอันใดนี้ ที่เป็นเครื่องนำให้มีการเกิดอีก อันประกอบด้วยความกำหนัดเพราะอำนาจความเพลิน มักทำให้เพลินยิ่งในอารมณ์นั้นๆ ได้แก่ ตัณหาในกาม ตัณหาในความมีความเป็น ตัณหาในความไม่มีไม่เป็น ภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าว่า ความจริงอันประเสริฐ คือเหตุให้เกิดทุกข์
# '''[[นิโรธ]]''' (Sanskrit: Nirodha) ภิกษุทั้งหลาย ความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า คือ ความดับสนิทเพราะความจางคลายไปโดยไม่มีเหลือของตัณหานั้น ความสละลงเสีย ความสลัดทิ้งไป ความปล่อยวาง ความไม่อาลัยถึง ซึ่งตัณหานั้นเอง อันใด ภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าว่า ความจริงอันประเสริฐ คือความดับไม่เหลือของทุกข์
# '''[[มรรค]]''' (Sanskrit: Marga) ภิกษุทั้งหลาย ความจริงอันประเสริฐ คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ เป็นอย่างไรเล่า คือ หนทางอันประเสริฐ ประกอบด้วยองค์แปดนี้นั่นเอง ได้แก่สิ่งเหล่านี้ คือ ความเห็นชอบ ([[สัมมาทิฏฐิ]]) ความดำริชอบ [[สัมมาสังกัปปะ|(สัมมาสังกัปปะ]]) การพูดจาชอบ [[สัมมาวาจา|(สัมมาวาจา)]] การทำงานชอบ ([[สัมมากัมมันตะ]]) การเลี้ยงชีพชอบ [[สัมมาอาชีวะ|(สัมมาอาชีวะ]]) ความพากเพียรชอบ ([[สัมมาวายามะ|สัมมาวายามะ)]] ความระลึกชอบ [[สัมมาสติ|(สัมมาสติ]]) ความตั้งใจมั่นชอบ ([[สัมมาสมาธิ|สัมมาสมาธิ)]] ภิกษุทั้งหลาย อันนี้เรากล่าว่า ความจริงอันประเสริฐ คือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์
 
==== ขยายความอริยมรรคมีองค์ 8 ====
มรรคมีองค์แปดนี้สรุปลงใน[[ไตรสิกขา]] ได้ดังนี้ 1. อธิสีลสิกขา ได้แก่ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ และสัมมาอาชีวะ 2. อธิจิตสิกขา ได้แก่ สัมมาวายามะ สัมมาสติ และสัมมาสมาธิ และ 3. อธิปัญญาสิกขา ได้แก่ สัมมาทิฏฐิ และสัมมาสังกัปปะ
<br />
 
== ความสำคัญของอริยสัจ 4 ==
 
==== พระพุทธองค์ ทรงพระนามว่าสัมมาสัมพุทธะ ก็เพราะได้ตรัสรู้อริยสัจ 4 ====
ภิกษุทั้งหลาย ความจริงอันประเสริฐมีสี่อย่างเหล่านี้ สี่อย่างเหล่าไหนเล่า สี่อย่างคือ ความจริงอันประเสริฐ คือ ความทุกข์ ความจริงอันประเสริฐ คือ เหตุให้เกิดทุกข์ ความจริงอันประเสริฐ คือ ความดับไม่เหลือของทุกข์ และ ความจริงอันประเสริฐ คือ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ นี้แล ความจริงอันประเสริฐสี่อย่าง ภิกษุทั้งหลาย เพราะได้ตรัสรู้ตามเป็นจริงซึ่งความจริงอันประเสริฐสี่อย่างเหล่านี้ ตถาคต จึงมีนามอันบัณฑิตกล่าวว่า อรหันตสัมมาสัมพุทธะ
 
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ พวกเธอพึงทำความเพียรเพื่อให้รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้เป็นทุกข์ นี้เป็นหตุให้เกิดทุกข์ นี้เป็นความดับไม่เหลือของทุกข์ และนี้เป็นทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์ ดังนี้เถิด
 
==== การรู้อริยสัจเป็นสิ่งเร่งด่วนกว่าการดับไฟที่กำลังไหม้อยู่บนหัว ====
ภิกษุทั้งหลาย เมื่อไฟลุกโพลงๆ อยู่ที่เสื้อผ้าก็ดีที่ศีรษะก็ดี บุคคลนั้นควรทำอย่างไร
 
"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อไฟลุกโพลงๆ อยู่ที่เสื้อผ้าก็ดีที่ศีรษะก็ดี เพื่อจะดับเสียซึ่งไฟ ที่เสื้อผ้าก็ดี ที่ศีรษะก็ดี สิ่งที่บุคคลนั้นพึงกระทำโดยยิ่งก็คือ ฉันทะ วายามะ อุสสาหะ อุสโสฬฮี อัปปฏิวานี สติ และสัมปชัญญะ เพื่อจะดับไฟนั้นเสีย"
 
ภิกษุทั้งหลาย แม้กระนั้นก็ดี วิญูชนจะไม่ใส่ใจ จะไม่เอาใจใส่กับเสื้้อผ้าก็ดีศีรษะก็ดีที่ไฟกำลังลุกโพลงอยู่ แต่จะรู้สึกว่าสิ่งที่ควรกระทำโดยยิ่งก็คือฉันทะ วายามะ อุสสาหะ อุสโสฬฮี อัปปฏิวานี สติ และสัมปชัญญะ เพื่อรู้เฉพาะตามเป็นจริง ซึ่งอริยสัจทั้งสี่ที่ตนยังไม่รู้พร้อมเฉพาะ อริยสัจสี่อย่างไรเล่า สี่อย่างคือ อริยสัจคือทุกข์ อริยสัจคือเหตุให้เกิดทุกข์ อริยสัจคือความดับไม่เหลือของทุกข์ อริยสัจคือทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์
 
ภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น ในเรื่องนี้ เธอพึงประกอบโยคกรรมอันเป็นเครื่องกระทำให้รู้ว่า ทุกข์เป็นอย่างนี้ เหตุให้เกิดขึ้นแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้ ความดับไม่เหลือแห่งทุกข์เป็นอย่างนี้ ทางดำเนินให้ถึงความดับไม่เหลือของทุกข์เป็นอย่างนี้ ดังนี้
 
 
จะมาเพิ่มใหม่
 
== กิจในอริยสัจ 4 ==
เส้น 51 ⟶ 13:
# '''ปหานะ''' - สมุทัย ควรละ คือการกำจัดสาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ เป็นการแก้ปัญหาที่เหตุต้นตอ
# '''สัจฉิกิริยา''' - นิโรธ ควรทำให้แจ้ง คือการเข้าถึงภาวะดับทุกข์ หมายถึงภาวะที่ไร้ปัญหาซึ่งเป็นจุดมุ่งหมาย
# '''ภาวนา''' - มรรค ควรเจริญ คือการฝึกอบรมปฏิบัติตามทางเพื่อให้ถึงความดับแห่งทุกข์ หมายถึงวิธีการหรือทางที่จะนำไปสู่จุดหมายที่ไร้ปัญหา
 
'''ภาวนา''' - มรรค ควรเจริญ คือการฝึกอบรมปฏิบัติตามทางเพื่อให้ถึงความดับแห่งทุกข์ หมายถึงวิธีการหรือทางที่จะนำไปสู่จุดหมายที่ไร้ปัญหา
 
กิจทั้งสี่นี้จะต้องปฏิบัติให้ตรงกับมรรคแต่ละข้อให้ถูกต้อง การรู้จักกิจในอริยสัจนี้เรียกว่ากิจญาณ
เส้น 77 ⟶ 38:
* ราชบัณฑิตยสถาน. (2548). ''พจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล ฉบับราชบัณฑิตยสถาน.'' (พิมพ์ครั้งที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม). กรุงเทพฯ : อรุณการพิมพ์. หน้า 65-66.
* พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). "[[พุทธธรรม (หนังสือ)|พุทธธรรม]]" มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 2546
*พุทธทาสอินทปัญโญ. อริยสัจจากพระโอษฐ์ภาคต้น, 2546
 
[[หมวดหมู่:อริยสัจ| ]]