ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรพรรดิเจี้ยนเหวิน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
จัดรูปแบบ +เก็บกวาดด้วยสคริปต์จัดให้
Mda (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''จักรพรรดิเจี้ยนเหวิน''' หรือ '''เจี้ยนเหวินฮ่องเต้''' ([[ภาษาจีน]]: 建文, [[พินอิน]]: Jiànwén, ''เจี้ยนเหวิน'') พระนามเดิม '''จู หยุ่นเหวิน''' (朱 允炆) คือจักรพรรดิพระองค์ที่ 2 แห่ง[[ราชวงศ์หมิง]]ของ[[จีน]] รวมระยะเวลาที่อยู่ในราชสมบัติ 4 ปีกว่า
 
== ประวัติ ==
จักรพรรดิเจี้ยนเหวินเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิแห่งราชวงศ์หมิงหลังจาก[[จักรพรรดิหงหวู่]] พระราชอัยกาเสด็จสวรรคต พระองค์ได้ทรงใช้พระนามว่า'''ฮุ่ยตี้''' (恵帝) และใช้ศักราชประจำพระองค์ว่า'''เจี้ยนเหวิน''' (建文) ทรงดำเนินนโยบายลดทอนอำนาจของบรรดาหวางต่างๆ อย่างเข้มงวด [[อ๋อง]] 5 องค์ถูกย้ายออกจากเมืองที่ประทับ บางองค์ถูกปลด บางองค์ต้องฆ่าตัวตาย เยี่ยนหวางจูตี้เองก็ถูกแพ่งเล็งเนื่องจากเป็นผู้ที่มีบทบาทมากในการศึกในคราวก่อนๆ
 
อนึ่งก่อนที่หมิงไท่จู่จักรพรรดิหงหวู่จะเสด็จสวรรคตนั้น จักรพรรดิเจียนเหวินทรงมีราชโองการห้ามให้อ๋องต่างๆ เข้ามาถวายบังคมพระศพเพราะ ด้วยเหตุที่ว่าเกรงจะมีการก่อรัฐประหาร แต่มีอ๋ององค์พระองค์หนึ่ง คือเยี่ยนอ๋องไม่ยอมทำตามราชโองการนี้นั้น พร้อมกับนำทหารราชองครักษ์เดินทางมายังเมืองหลวง[[นานกิง]] แต่ด้วยมีราชโองการของจักรพรรดิส่งมาห้าม พระองค์จึงจำเป็นต้องกลับไปที่เป่ยผิงเมือง[[เป่ย์ผิง]] หลังจากสะสมอาวุธและฝึกซ้อมทหารใช้ชำนาญพระองค์แล้ว เยี่ยนอ๋องจึงตัดสินพระทัยชิงลงมือยกทัพจากเป่ยผิงลงใต้เผชิญหน้ากับหลานชาย โดยอ้างว่าเพื่อกำจัดเหล่าขุนนาง[[กังฉิน]]สอพลอที่อยู่รอบข้างองค์จักรพรรดิ มีบันทึกว่าก่อนที่พระองค์จะนำกองทัพยกออกจากเมืองนั้น ได้เกิดพายุพัดแรงจนกระทั่งหลังคาวังจนหักพังเสียหายซึ่งพระองค์กล่าวว่าเป็นเพราะได้เวลาที่พระองค์จะได้เสด็จเข้าไปประทับที่พระราชวังหลังคาเหลืองแล้ว
 
การต่อสู้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่ [[พ.ศ. 1942]] (ค.ศ. 1399) นานถึง 3 ปี ในระยะแรกพระองค์ฝ่ายเยี่ยนอ๋องเป็นฝ่ายเสียเปรียบเนื่องจากฝ่ายจักรพรรดิมีกองทหารปืนไฟ ซึ่งมีอานุภาพสงทำให้ต้องทรงถอยทัพกลับไปทางเหนือแต่ทหารทางใต้ไม่คุ้นเคยกับอากาศหนาวทางภาคเหนือจึงล้มป่วยเสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก จนกระทั่ง [[พ.ศ. 1945]] (ค.ศ. 1402) กองทัพของพระองค์ก็ได้ยกมาถึงชานกรุงหนานจิงกองทัพนานกิง ซึ่งกองทัพฝ่ายวังหลวงไม่สามารถต้านทานได้อีกเนื่องจากไม่มีแม่ทัพที่ชำนาญศึกเพราะถูกประหารไปตั้งแต่ปลายรัชกาลของหมิงไท่จู่จักรพรรดิหงหวู่ เหล่าขุนนางต่างพากันมาสวามิภักดิ์มากขึ้น ในและเมื่อถึงวันที่พระองค์สาม เยี่ยนอ๋องก็สามารถบุกเข้าสู่ภายในเมืองได้ ปรากฏว่าเกิดเพลิงไหม้ภายในวังหลวง และมีผู้พบพระศพของ ฮองเฮา (มเหสี) กับพระราชโอรสของหมิงฮุ่ยตี้ถูกเพลิงครอกภายในวังชั้นในแต่ไม่มีใครพบพระศพของหมิงฮุ่ยตี้ (มีผู้สันนิษฐานว่าพระองค์ลอบหนีออกไปได้และผนวชก่อนที่จะเสียเมือง) ต่อมาอีก 39 ปี ในรัชศกจ้งถ่ง มีผู้พบพระภิกษุชรารูปหนึ่งที่มีคนจำได้ว่าคือจักรพรรดิฮุ่ยตี้ หมิงอิงจงจึงมีราชโองการให้เชิญพระองค์มาประทับที่กรุงเป่ยจิงปักกิ่ง ที่ประทับของพระองค์ถูกปิดเงียบและสวรรคตอย่างสงบใน[[กรุงปักกิ่ง]]นั่นเอง
 
{{เกิดปี|1920}}