ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ซัดดัม ฮุสเซน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Narutzy (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 30:
|footnotes =
}}
'''ซัดดัม ฮุสเซน''' ({{lang-en|Saddam Hussein}})<ref>บางครั้งสะกดว่า ''Husayn'' หรือ ''Hussain''</ref> หรือ '''ศ็อดดาม ฮุเซน อับดุลมะญีด อัลตีกรีตี'''<ref>"ศ็อดดาม" หรือ "ซัดดัม" เป็นชื่อตัวของเขา "ฮุเซน" หรือ "ฮุสเซน" ไม่ใช่นามสกุล แต่เป็นชื่อของบิดา "อับดุลมะญีด" เป็นชื่อของปู่ และ "อัลตีกรีตี" หมายถึงว่าเกิดและเติบโตในเมือง[[ติกริต]] การเรียกอย่างสั้นนั้น เรียกว่าซัดดัม ฮุสเซน หรือ ซัดดัม ดังนั้นการเรียกตามแบบตะวันตกว่า ฮุสเซน เฉย ๆ จึงไม่ถูกต้อง</ref> ([[อักษรอาหรับ|อาหรับ]]: صدام حسين عبد المجيد التكريتي; [[อักษรละติน|ละติน]]:Ṣaddām Ḥusayn ʿAbd al-Majīd al-Tikrītī; 28 เมษายน พ.ศ. 2480<ref>วันที่นี้ เป็นวันเกิดอย่างเป็นทางการภายใต้รัฐบาลของซัดดัม วันเกิดที่แท้จริงนั้นไม่เคยมีการบันทึกไว้ แต่เชื่อว่าอยู่ระหว่างปี 2478-2482</ref>-[[30 ธันวาคม]] [[พ.ศ. 2549]]) เป็นอดีต[[ประธานาธิบดี]]ของ[[ประเทศอิรัก|อิรัก]] ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522522 กระทั่งถูกจับกุมและถอดออกจากตำแหน่ง โดยกองกำลังนานาชาติซึ่งนำโดย[[สหรัฐอเมริกา]] ในช่วง[[สงครามอิรัก]]
 
ซัดดัมเคยเป็นผู้นำ[[พรรคบะอัธ]] พรรคการเมืองหัวปฏิวัติของอิรัก ซึ่งเป็นผู้ริเริ่ม[[ลัทธินิยมรวมชาติอาหรับ]]โดยไม่อ้างอิงกับศาสนา การปรับระบบเศรษฐกิจให้ทันสมัย และระบอบ[[สังคมนิยม]] ซัดดัม ได้มีบทบาทสำคัญในการก่อรัฐประหารในปี พ.ศ. 2511 ที่ทำให้พรรคบะอัธก้าวขึ้นสู่อำนาจในระยะยาว ในฐานะของรองประธานาธิบดี โดยมีนายพลอะฮ์มัด บะกัร ลูกพี่ลูกน้องของเขาที่มีสุขภาพอ่อนแอดำรงตำแหน่ง[[ประธานาธิบดี]] ซัดดัมจึงได้กุมอำนาจในการจัดการปัญหาข้อพิพาทระหว่างรัฐบาลกับกองทัพ ในช่วงเวลาที่กลุ่มการเมืองต่าง ๆ ถูกมองว่าสามารถโค่นล้มรัฐบาลได้ทุกเมื่อ โดยซัดดัมได้จัดตั้งกองกำลังรักษาความมั่นคง เพื่ออุดหนุนอำนาจของเขาในการควบคุมรัฐบาลอิรักไว้ ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 ราคาน้ำมันปิโตรเลียมที่พุ่งสูงขึ้นได้ช่วยให้เศรษฐกิจอิรักเติบโตขึ้นเป็นอย่างมากและในอัตราที่สม่ำเสมอ