ผลต่างระหว่างรุ่นของ "อักษรจีนตัวเต็ม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Shoshui (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Shoshui (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 63:
อักษรข่ายซูมีต้นกำเนิดในยุคปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก ภายหลังราชวงศ์วุ่ยจิ้น (สามก๊ก) (คริสตศักราช 220 – 316) ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย จากการก้าวเข้าสู่ขอบเขตขั้นก้าวพ้นจากข้อจำกัดของลายเส้นที่มาจากการแกะสลัก เมื่อถึง[[ราชวงศ์ถัง]] (คริสตศักราช 618 – 907) จึงก้าวสู่ยุคทองของอักษรข่ายซูอย่างแท้จริง อักษรข่ายซูยังเป็นอักษรมาตรฐานของอักษรจีนจวบจนปัจจุบัน
 
ในสมัยราชวงศ์หมิงได้มีการรวบรวมแบบอักษรจีนดั้งเดิมที่สืบมาจากอักษรข่ายซูไว้ใน '''[[สารานุกรมหย่งเล่อ]]''' ที่จดบันทึกเกี่ยวกับศาสตร์วิชาต่างๆ จนถึงสมัย[[ราชวงศ์ชิง]] ในรัชสมัย[[จักรพรรดิคังซี]] ได้มีการทำพจนานุกรมรวบรวมอักษรจีนขึ้นอย่างเป็นระบบหรือที่เรียกว่า '''[[พจนานุกรมคังซี]]''' อักษรจีนได้สืบทอดการใช้จนมาถึงยุค[[สาธารณรัฐจีน (ค.ศ. 1912–1949)|สาธารณรัฐจีนสมัยแผ่นดินใหญ่]] ได้ใช้เป็นอักษรทางการหรือเรียกว่า '''อักษรจีนตัวเต็ม''' การใช้อักษรจีนตัวเต็มอย่างเป็นทางการได้ยุติลงเมื่อรัฐบาล[[พรรคก๊กมินตั๋ง]]แห่งสาธารณรัฐจีนแพ้[[สงครามกลางเมืองจีน]] ทำให้[[พรรคคอมมิวนิสต์จีน]]ปกครองแผ่นดินใหญ่แทนและสถาปนา[[สาธารณรัฐประชาชนจีน]]ชึ้นขึ้น ในยุครัฐบาลคอมมิวนิสต์ไดเประกาศใช้ตัวได้ประกาศใช้ตัว[[อักษรจีนตัวย่อ]]ที่เตรียมมา ส่วนฝ่ายสาธารณรัฐจีนที่ไปไต้หวันก็ยังคงรักษารูปแบบอักษรจีนตัวเต็มไว้เป็นอักษรทางการและต่อต้านการใช้อักษรจีนตัวย่อ
 
== ข้อถกเถียงเกี่ยวกับการเรียกชื่อ ==
ชาวจีนแต่ละที่จะเรียกชื่ออักษรจีนตัวเต็มนี้ต่างกัน รัฐบาล[[สาธารณรัฐจีน]] หรือ[[ไต้หวัน]] เรียกอักษรจีนตัวเต็มว่า ''ตัวอักษรมาตรฐาน'' (อักษรจีนตัวเต็ม: 正體字; [[อักษรจีนตัวย่อ]]: 正体字; [[พินอิน]]: zhèngtǐzì ''เจิ้งถี่จื้อ'') โดยอ้างว่าอักษรจีนตัวเต็มเป็นอักษรดั้งเดิมที่ถูกต้องและสมบูรณ์ ในทางตรงกันข้าม กลุ่มผู้ใช้[[อักษรจีนตัวย่อ]] จะเรียกอักษรจีนตัวเต็มว่า ''ตัวอักษรซับซ้อน'' (อักษรจีนตัวเต็ม: 繁體字; [[อักษรจีนตัวย่อ]]: 繁体字; [[พินอิน]]: fántǐzì ''ฝานถี่จื้อ'') หรือเรียกว่า ''ตัวอักษรเก่า'' (老字; [[พินอิน]]: lǎozì ''เหล่าจื้อ'') โดยอ้างว่าอักษรจีนตัวเต็มถูกแทนที่แล้ว และไม่ได้นำมาใช้อีก