ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ชะวากทะเล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
นิลกาฬ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 6:
[[ไฟล์:Mouths of amazon geocover 1990.png|thumb|200px|right|ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงลักษณะชะวากทะเล บริเวณปากแม่น้ำแอมะซอน]]
 
'''ชะวากทะเล''' ({{lang-en|Estuary}}) คือ บริเวณส่วนล่างของปากแม่น้ำที่มีความกว้างมากจนมีลักษณะคล้ายอ่าว ตอนบนของชะวากทะเลนั้นจะตอบแหลมเป็นรูปกรวยและจะค่อยขยายขนาดออกไปเมื่อเข้าหาในส่วนที่เป็นทะเลมากขึ้น บริเวณนี้เป็นบริเวณที่มีการผสมกันระหว่าง[[น้ำจืด]]กับ[[น้ำเค็ม]] เนื่องจากเป็นพื้นที่บริเวณปากแม่น้ำยุบตัวลงสู่แนวชายฝั่งทะเลจึงได้รับอิทธิพลของน้ำทะเล ตัวอย่างของชะวากทะเลในประเทศไทย ได้แก่ บริเวณปาก[[แม่น้ำกระบุรี]] [[จังหวัดระนอง]], และ ปากแม่น้ำเวฬุ [[จังหวัดจันทบุรี]] และปากแม่น้ำชุมพร [[จังหวัดชุมพร]] โดยชะวากทะเลที่ใหญ่ที่สุดในโลก คือ [[แม่น้ำเซนต์ลอว์เรนซ์|ชะวากทะเลเซนต์ลอว์เรนซ์]] ในประเทศแคนาดา ที่มีความกว้างถึง 145 กิโลเมตร<ref>Rossignol, Anne. The Lower Estuary and the Gulf of the St. Lawrence: book of oceanography. Rimouski: INRS-Oceanology. p. 64.</ref><ref>http://www.royin.go.th/?knowledges=%E0%B8%8A%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%A5-%E0%B9%92%E0%B9%91-%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%A1%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C</ref><ref>https://km.dmcr.go.th/th/c_56/s_77/d_1163</ref><ref>http://wwwwetland.dwronep.go.th/contents/content/files/001002/0009842_2559-1-Waeru.pdfhtml</ref> และ ชะวากทะเลที่ยาวที่สุดในโลก คือ ชะวากอ่าวอ๊อบ [[สหพันธรัฐรัสเซีย]]<ref>http://www.geocitiesdivingalmanac.wscom/nsamphanlongest-estuary/coastal.htm</ref>
 
ชะวากทะเล เป็นส่วนหนึ่งของพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลที่มีแม่น้ำหรือลำธารไหลผ่านเชื่อมต่อลงสู่ทะเล ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เกิดขึ้นบริเวณรอยต่อระหว่างสภาพแวดล้อมแบบทางน้ำและสภาพแวดล้อมแบบทะเล จึงทำให้พื้นที่ในบริเวณนี้ได้รับทั้งอิทธิพลจากทะเลอันได้แก่ น้ำขึ้น - น้ำลง, คลื่นและการไหลเวียนของน้ำเกลือ รวมถึงอิทธิพลจากแม่น้ำอันได้แก่ ตะกอนและการไหลเวียนของน้ำจืด ซึ่งการที่มีน้ำจืดและน้ำเค็มไหลเวียนแบบนี้นั้นส่งผลให้พื้นที่ชะวากทะเลประกอบด้วยธาตุอาหารที่สำคัญจำนวนมาก จึงเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการเป็นแหล่งอาศัยของสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดได้