เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
AekwatNs (คุย | ส่วนร่วม)
สมาธิบำบัด(ภาษาอังกฤษ:Meditation therapy)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
 
AekwatNs (คุย | ส่วนร่วม)
แก้ไขหัวข้อ
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
'''สมาธิบำบัด'''
 
สมาธิ แปลตามภาษาบาลีว่า ความตั้งใจมั่น สมาธิในความหมายของพจนานุกรม แปลว่า ที่ตั้งมั่นแห่งจิต การทำสมาธิในทางพุทธศาสนาเรียกว่าสมถะ
การบำบัดคือการรักษาโดยยึดการปฏิบัติของผู้ป่วยเป็นหลัก
ดังนั้นสมาธิบำบัดคือการบำบัดโดยการควบคุมความคิดความรู้สึกของตัวเองเพื่อให้จิตใจเกิดความสงบ ส่งผลทำให้สมองทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ สมารถจดจำสิ่งต่างๆได้อย่างแม่นยำและยาวนาน และยังส่งผลให้สุขภาพร่างกายโดยรวมแข็งแรง
 
'''สมาธิบำบัดกับการรักษาทางการแพทย์'''
 
องค์การสหประชาชาติได้กำหนดให้วันที่ 6 ส.ค. ของทุกปีเป็นวันสมาธิโลก เป็นวันรวมใจของชาวพุทธและชาวโลก ซึ่งขณะนี้การแพทย์แผนปัจจุบัน โดยเฉพาะหลายประเทศทางตะวันตกได้นำสมาธิ (Meditation) ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของชาวพุทธไปฝึกปฏิบัติ เช่น สหรัฐอเมริกา พบว่า คนอเมริกันร้อยละ 26 ปฏิบัติสมาธิเป็นเทคนิคช่วยผ่อนคลาย ใช้แก้ไขปัญหาความเครียดและคลายความทุกข์ ส่วนที่แคนาดา มีผลการวิจัยในกลุ่มที่มีประกันสุขภาพในนครควิเบคฝึกสมาธิ 1,418 ราย เปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ได้ฝึกในจำนวนเท่ากัน พบว่า กลุ่มที่ฝึกสมาธิใช้จำนวนวันของการรักษาลดลงและน้อยกว่า สามารถลดค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ในการดูแลสุขภาพลงได้ถึงร้อยละ14
 
กระทรวงสาธารณสุข.ได้นำการฝึกสมาธิหรือสมาธิบำบัดมาใช้รักษาควบคู่ไปกับการรักษาโรคทางกาย โดยร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดล ดำเนินงานสมาธิบำบัดในสถานบริการสุขภาพ เพื่อเป็นทางเลือกช่วยบรรเทาอาการเจ็บป่วยทั้งร่างกายและจิตใจของผู้ป่วยและญาติ โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต มีภาวะเครียด เพราะเมื่อจิตใจสงบนิ่ง และร่างกายหลั่งฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟินออกมาจะมีผลช่วยลดอาการเจ็บปวด เพิ่มภูมิต้านทานโรค ลดความตึงเครียด ลดความดันโลหิต ลดระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้เส้นเลือดมีความยืดหยุ่น ช่วยให้การไหลเวียนเลือดเป็นปกติ ป้องกันการเกิดโรคหัวใจและเส้นเลือดในหัวใจตีบตัน อีกทั้งยังกระตุ้นให้ร่างกายทำลายเซลล์ที่มีปัญหาและเซลล์มะเร็งอีกด้วย
 
'''สมาธิบำบัดกับการทำงานของสมอง'''
 
ในทางวิทยาศาสตร์ จิตคือระบบประสาทในสมอง ทำงานด้วยคลื่นไฟฟ้า เป็นตัวกำกับการทำงานของส่วนต่างๆ ให้สมดุล ถ้าระบบประสาทถูกกระตุ้นจนเกินพอดี จะส่งผลต่อร่างกายจนเกิดอันตรายได้ โดยร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีน (Adrenalin) ทำให้การทำงานของอวัยวะและระบบต่างๆ ของร่างกาย ตื่นตัว หัวใจเต้นแรง และเร็วขึ้น ความดันเลือดสูง หลอดลมขยาย ม่านตาขยาย ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มมากขึ้น เส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง หัวใจ ปอดและกล้ามเนื้อขยาย เป็นต้น ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของอวัยวะลดลง และภูมิต้านทานของร่างกายต่ำลงด้วย หากได้ฝึกสมาธิจะช่วยทำให้จิตสงบ ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนเอ็นดอร์ฟิน (Endorphins) หรือสารแห่งความสุขออกมา ช่วยให้ระบบประสาทสมองทำงานเป็นระเบียบ การทำงานของอวัยวะมีประสิทธิภาพดีขึ้น