ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกฤตการณ์ในประเทศเวเนซุเอลา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
'''วิกฤตการณ์ทางสังคมเศรษฐกิจและการเมือง'''เริ่มขึ้นใน[[ประเทศเวเนซุเอลา]]ในปี 2553 ภายใต้ประธานาธิบดีอูโก ชาเบสและดำเนินต่อมาจนประธานาธิบดี[[นิโกลัส มาดูโร]]คนปัจจุบัน สถานการณ์ปัจจุบันเป็นวิกฤตเศรษฐกิจครั้งเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์เวเนซุเอลา และนับเป็นวิกฤตครั้งเลวร้ายที่สุดเป็นอันดับต้น ๆ ในทวีปอเมริกา โดยมีภาวะเงินเฟ้อเกิน ความอดอยากสูง โรค อาชญากรรมและอัตราตาย และการย้ายออกนอกประเทศขนานใหญ่ ผู้สังเกตการณ์และนักเศรษฐกิจแถลงว่า วิกฤตดังกล่าวมิใช่ผลลัพธ์แห่งความขัดแย้งหรือภัยธรรมชาติแต่เป็นผลพวงจากนโยบาย[[ประชานิยม]]ซึ่งเริ่มตั้งแต่[[การปฏิวัติโบลิวาร์โบลิบาร์]]ของรัฐบาลชาเบส โดยสถาบันบรุกคิงส์แถลงว่า "ประเทศเวเนซุเอลากลายเป็นตัวแทนให้เห็นว่าการฉ้อราษฎร์บังหลวง การบริหารเศรษฐกิจผิดพลาด และการปกครองซึ่งไม่เป็นประชาธิปไตยสามารถนำไปสู่ความทรมานอย่างกว้างขวางได้อย่างไรโดยแท้"
 
วันที่ 2 มิถุนายน 2553 ประธานาธิบดีชาเบสประกาศ "สงครามเศรษฐกิจ" เนื่องจากความขาดแคลนที่เพิ่มขึ้นในประเทศ วิกฤตดังกล่าวทวีความรุนแรงขึ้นภายใต้รัฐบาลมาดูโร และผลจากราคาน้ำมันที่ถูกในต้นปี 2558 และปริมาณการผลิตน้ำมันที่ลดลงเนื่องจากขาดการบำรุงรักษาและการลงทุน รัฐบาลไม่สามารถตัดรายจ่ายเมื่อเผชิญกับรายได้จากน้ำมันที่ลดลงและรับมือกับปัญหาโดยปฏิเสธการมีอยู่ของปัญหา และปราบปรามการคัดค้านอย่างรุนแรง การฉ้อราษฎร์บังหลวงทางการเมือง การขาดแคลนอาหารและยาอย่างเรื้อรัง การปิดบริษัท การว่างงาน การลดลงของผลิตภาพ [[ลัทธิอำนาจนิยม]] การละเมิดสิทธิมนุษยชน การบริหารเศรษฐกิจมวลรวมที่ผิดพลาด และการพึ่งพาน้ำมันอย่างสูงล้วนส่งเสริมให้วิกฤตนี้เลวร้ายลง