ผลต่างระหว่างรุ่นของ "จักรพรรดินีโคไลที่ 2 แห่งรัสเซีย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Un2kyFenriR (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 40:
ในปี 1881<ref>1 March 1881 in the Julian Calendar then in use in Russia, which is the same day as 13 March 1881 in the Gregorian Calendar used elsewhere at that time.</ref> พระอัยกาของพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 [[จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 2 แห่งรัสเซีย|พระเจ้าซาร์อเล็กซันเดอร์ที่ 2]]ถูกลอบปลงพระชนม์หน้าพระราชวังฤดูหนาวในเซนต์ปีเตอร์เบิร์ก<ref>[[#Massie1967|Massie (1967)]] p. 38</ref> และเสด็จสวรรคตหลังจากนั้นไม่นาน โดยพระราชโอรสของพระเจ้าซาร์อเล็กซันเดอร์ที่ 2 ได้ขึ้นครองราชย์เป็น [[จักรพรรดิอะเลคซันดร์ที่ 3 แห่งรัสเซีย|พระเจ้าซาร์อเล็กซันเดอร์ที่ 3]] และยกพระอิสริยยศของพระบรมวงศานุวงศ์ในราชวงศ์โรมานอฟทุกพระองค์รวมถึงตัวพระองค์เองด้วยที่เลื่อนขึ้นไปเป็นซาเรวิชนิโคลัส มกุฎราชกุมารแห่งรัสเซีย ซึ่งหลังจากการลอบปลงพระชนม์ของพระอัยกา ทำให้ราชวงศ์ต้องอพยพไปอยู่ยัง[[พระราชวังอนิชคอฟแทน]](Anichkov Palace)
 
[[Fileไฟล์:Tsarevich in Siam.jpg|thumb|left|ซาเรวิชนิโคลัสขณะเยือนสยาม]]
หลังจากที่นิโคลัสได้รับตำแหน่งซาเรวิชมาได้ไม่นาน ในปี 1890 ซาเรวิชนิโคลัสได้เดินทางท่องเที่ยวไปทั่วทั้งเอเชีย เพื่อดูการเมืองการปกครอง และวัฒนธรรมของเหล่าชาติในเอเชีย ซึ่งในการท่องเที่ยวครั้งนี้พระองค์ไปพร้อมกับ น้องชาย[[แกรนด์ดยุคจอร์ช อเล็กซานโดรวิช]] และลูกพี่ลูกน้อง[[เจ้าชายจอร์ชแห่งกรีกและเดนมาร์ก]] โดยทั้งสามคนได้เดินทางไปยัง[[อียิปต์]]เป็นที่แรก ต่อด้วย[[อินเดีย]] [[สิงคโปร์]]รวมถึง[[สยาม]]ด้วย โดยซาเรวิชนิโคลัสได้เข้าพบ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ในปี 1891 ซึ่งทางสยามได้จัดงานต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่ อีกทั้งยังเชิญซาเรวิชไปสด็จไปทอดพระเนตรการคล้องช้างที่อยุธยาและประทับที่วังบางปะอินด้วย<ref>พระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 2 กับประเทศสยาม(2012). จากtalk.mthai.com</ref> ซึ่งจากเหตุนี้เมื่อ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]]เสด็จประพาสยุโรปและรัสเซีย ทางราชสำนักรัสเซียก็ต้อนรับอย่างดีเช่นกัน
[[Fileไฟล์:Prince Nicolas at Nagasaki.jpg|thumb|left|ซาเรวิชนิโคลัสขณะเยือนญี่ปุ่น]]
การเดินทางของพระองค์จบลงที่ประเทศญี่ปุ่น หลังความพยายามลอบสังหารพระองค์ที่ญี่ปุ่นล้มเหลว หรือที่เรียกว่า[[กรณีโอตสึ]] ทำให้พระองค์เดินทางกลับเซนต์ปีเตอร์เบิร์กในเวลาไม่นานหลังจากนั้น ก่อนที่จะมีแผนให้สร้าง[[ทางรถไฟสายทรานส์-ไซบีเรีย]]เพื่อการคมนาคมระหว่างผั่งตะวันตกและตะวันออกให้สะดวกขึ้น ต่อมาในปี 1893 พระองค์ก็ได้เสด็จเยือน[[ลอนดอน]]เมืองหลวงของ[[จักรวรรดิอังกฤษ]] เพื่อเป็นตัวแทนของจักรวรรดิรัสเซียในการเข้าร่วมงานอภิเษกสมรสของ[[พระเจ้าจอร์ชที่ 5]] (ขณะนั้นยังคงดำรงตำแหน่งดยุคแห่งยอร์ก)กับ[[มาเรียแห่งเท็ค]] ซึ่งในการมาเยือนในครั้งนี้ สมเด็จพระราชินีนาถวิคตอเรียได้กล่าวถึงใบหน้าของทั้งพระองค์และพระเจ้าจอร์ชที่ 5 ว่ามีความคล้ายจนแทบจะเหมือนฝาแฝดกันเลยทีเดียว