ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สงครามอิรัก–อิหร่าน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Setawut (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
เคาะวรรค
บรรทัด 91:
สงครามอิรัก–อิหร่านเริ่มขึ้นเมื่ออิรักทำการรุกรานอิหร่านในวันที่ 22 กันยายน 1980 อันเนื่องมาจากข้อพิพาททางชายแดนที่ดำเนินมาอย่างยาวนาน หลัง[[การปฏิวัติอิหร่าน]]ในปี 1979 [[รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี]] ได้ขึ้นเป็นผู้นำสูงสุดของอิหร่านและประกาศตนเป็นผู้นำอิสลามนิกายชีอะห์ ทำให้มุสลิม[[ชีอะฮ์]]อันเป็นคนส่วนมากในอิรักขึ้นมาก่อจลาจลต่อต้านการปกครองของรัฐบาลนิกาย[[ซุนนี]] ขณะเดียวกัน อิรักก็มีความพยายามจะขึ้นมามีอิทธิพลครอบงำภูมิภาค[[อ่าวเปอร์เซีย]]แทนที่อิหร่าน แม้ว่าอิรักจะใช้โอกาสที่อิหร่านกำลังวุ่นวายนี้เข้าโจมตีอิหร่านโดยไม่ประกาศก่อน แต่เข้ายึดครองยังได้ไม่มากก็ถูกโต้กลับอย่างรวดเร็ว อิหร่านสามารถชิงดินแดนที่สูญเสียไปทั้งหมดคืนมาได้ภายในเดือนมิถุนายน 1982 และตลอดหกปีจากนี้ อิหร่านก็กลายเป็นฝ่ายรุกไล่เข้าไปในดินแดนอิรัก
 
แม้[[คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ]]ได้ร้องให้มีการหยุดยิงนับสิบๆสิบ ๆ ครั้ง แต่การสู้รบก็ดำเนินไปจนถึงวันที่ 20 สิงหาคม 1988 และสิ้นสุดลงอย่างเป็นทางการตามมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติที่ 598 ที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับคำขอหยุดยิง ซึ่งภายหลังข้อสรุปนี้ กองทัพอิหร่านต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ในการถอนกำลังออกจากดินแดนอิรักโดยยึดเอาหลักเขตแดนก่อนสงคราม<ref name="Farrokh 03">{{cite book|last=Farrokh|first=Kaveh|title=Iran at War: 1500–1988|publisher=Osprey Publishing|location=Oxford|isbn=9781780962214}}</ref> เชลยสงครามคนสุดท้ายของสงครามนี้ถูกส่งตัวกลับประเทศตนในปี 2003<ref name="molavi05" /><ref name=nazila03>{{cite news|url=http://www.nytimes.com/2003/03/14/world/threats-and-responses-briefly-noted-iran-iraq-prisoner-deal.html|work=The New York Times|first=Nazila|last=Fathi|title=Threats And Responses: Briefly Noted; Iran-Iraq Prisoner Deal |date=14 March 2003}}</ref>
 
สงครามครั้งนี้ทำให้มีผู้เสียชีวิตรวมกันกว่าหนึ่งล้านคนแต่กลับไม่มีฝ่ายใดได้หรือสูญเสียดินแดนเลย สงครามครั้งนี้ถูกนำไปเปรียบเทียบกับ[[สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง]]ในแง่ของกลยุทธ ทั้งการใช้แท่น[[ปืนกล]], การโจมตีแบบคลื่นมนุษย์, การใช้[[อาวุธเคมี]]จำนวนมากโดยกองทัพอิรัก ประเทศอิสลามจำนวนมากอยู่ฝ่ายเดียวกับชาติตะวันตกในสงครามครั้งนี้ นั่นคือการสนับสนุนอิรักโดยการให้เงินกู้, ยุทโธปกรณ์ และภาพถ่ายดาวเทียมในช่วงที่อิรักโจมตีอิหร่าน ซึ่งในระหว่างสงคราม มีการวิจารณ์จากสื่อว่า ''"ประชาคมโลกต่างพากันเงียบกริบตอนอิรักใช้[[อาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง]]ต่ออิหร่านและชาวเคิร์ด"''<ref>{{cite web|url=http://www.iranicaonline.org/articles/iraq-vii-iran-iraq-war|title=IRAQ vii. IRAN–IRAQ WAR|publisher=Encyclopædia Iranica|date=15 December 2006}}</ref><ref>{{cite web|url=http://www.globalpolicy.org/component/content/article/169/36403.html|title=America Didn't Seem to Mind Poison Gas|first=Joost|last=Hiltermann|work=Global Policy Forum|date=17 January 2003}}</ref><ref name=iranchamber-armingiraq>{{cite web|url=http://www.iranchamber.com/history/articles/arming_iraq.php|title=Arming Iraq and the Path to War|first=John|last=King|publisher=U.N. Observer & International Report|date=31 March 2003}}</ref> และกว่าคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติจะประกาศให้อิรักเป็นผู้ก่อสงครามก็จนกระทั่ง 11 ธันวาคม 1991 สิบสองปีให้หลังจากที่อิรักทำการรุกรานอิหร่าน และเป็นเวลาสิบหกเดือนหลัง[[การรุกรานคูเวตของอิรัก|อิรักรุกรานคูเวต]] ซึ่งบานปลายเป็น[[สงครามอ่าวเปอร์เซีย|สงครามอ่าว]]
บรรทัด 99:
อิหร่านและอิรักมีความขัดแย้งกันจากปัญหาเชื้อชาติ ประชากรส่วนใหญ่ของอิรักมีเชื้อสายอาหรับใช้[[ภาษาอารบิก]] ในขณะที่ส่วนน้อยมีเชื้อสายเปอร์เซียใช้[[ภาษาเปอร์เซีย]] คนเชื้อสายเปอร์เซียในอิรักมีสถานะเป็นรองเชื้อสายอาหรับอยู่เสมอและมักถูกกดขี่โดยคนเชื้ออาหรับ ทำให้ชาวอิรักเชื้อสายเปอร์เซียเหล่านี้เกิดความคับแค้นใจต่อชาวอิรักเชื้อสายอาหรับ ปัญหาเช่นนี้เกิดในอิหร่านเช่นกัน ประชากรของอิหร่านมีเชื้อสายเปอร์เซียกับอาหรับอย่างละครึ่ง แต่ชนชั้นปกครองในอิหร่านเกือบทั้งหมดเป็นเชื้อสายเปอร์เซีย ฉะนั้นในอิหร่านเองก็มีความไม่พอใจของคนเชื้อสายอาหรับต่อคนเชื้อสายเปอร์เซีย
 
คนอิหร่านเชื้อสายอาหรับส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ทางตะวันตกของประเทศในจังหวัดคูเชสถานติดกับพรมแดนอิรัก ซึ่งจังหวัดคูเชสถานนี้เป็นแหล่งน้ำมันที่สำคัญที่สุดของอิหร่าน ขณะเดียวกัน อิรักก็พยายามอ้างอยู่เสมอว่าจังหวัดดังกล่าวเป็นดินแดนของอิรัก ถึงกับตั้งชื่อให้ว่า จังหวัดอราเบแซน ทหารของสองประเทศมักมีการปะทะกันย่อมๆย่อม ๆ อยู่เสมอในจังหวัดนี้
 
นอกจากนี้ยังมีปัญหาชนกลุ่มน้อยที่เรียกว่า "[[ชาวเคิร์ด]]" เป็นชนกลุ่มน้อย[[ชาวอารยัน|เชื้อสายอารยัน]] ไม่มีประเทศเป็นของตนเองแต่อาศัยอยู่ในพื้นที่ของอิรัก, อิหร่าน, [[ตุรกี]] และ[[สหภาพโซเวียต]] ชาวเคิร์ดได้ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งรัฐอิสระของตนเองขึ้นในอิหร่าน ชาวเคิร์ดได้ก่อจลาจลขึ้นในอิหร่านในปี 1930 และถูกรัฐบาลอิหร่านปราบปรามอย่างรุนแรง ชาวเคิร์ดจำนวนมากหลบหนีเข้าไปยังอิรัก การปราบปราบอย่างรุนแรงทำให้ชาวเคิร์ดหมดหวังที่จะตั้งรัฐอิสระของตนในอิหร่าน และตั้งเป้าหมายที่จะตั้งรัฐอิสระขึ้นในอิรักแทน จนกระทั่งในปี 1969 ชาวเคิร์ดในอิรักกลายเป็นปัญหามากขึ้นเมื่อ[[พระเจ้าชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์ลาวี|พระเจ้าชาห์แห่งอิหร่าน]]ได้ให้ความช่วยเหลือทั้งด้านการเงิน, การทูต และด้านอื่นๆอื่น ๆ แก่ชาวเคิร์ดในอิรัก ต่อมาในปี 1974 รัฐบาลอิรักเข้าประนีประนอมกับรัฐบาลอิหร่านเนื่องจากเห็นว่าขณะนั้นอิหร่านเป็นชาติแข็งแกร่งและยังเป็นมิตรกับสหรัฐอเมริกา การเจรจาดังกล่าวกลายเป็น "สนธิสัญญาแอลเจียร์ ค.ศ. 1975" ที่ทางอิหร่านจะยุติให้การสนับสนุนแก่ชาวเคิร์ดแลกกับการที่อิรักเสียส่วนหนึ่งของปากแม่น้ำชัฏฏุลอะร็อบแก่อิหร่าน
 
จากสนธิสัญญาดังกล่าว จะเห็นได้ว่า อิหร่านไม่ได้มีส่วนแก้ปัญหาชาวเคิร์ดในอิรักเลย แต่อิรักกลับต้องเสียดินแดนส่วนหนึ่งแก่อิหร่าน อิรักมองว่าสนธิสัญญาดังกล่าวหาความเป็นธรรมไม่ได้
 
=== จุดยืนของสหรัฐอเมริกา ===
สหรัฐอเมริกาถือเป็นมิตรประเทศของประเทศอิหร่านก่อน[[การปฏิวัติอิหร่าน|การปฏิวัติ]] แม้กระทั่งหลังการปฏิวัติอิหร่านแล้ว รัฐบาลของประธานาธิบดี[[จิมมี คาร์เตอร์|คาร์เตอร์]] ก็ยังคงมองอิหร่านเป็นปราการเพื่อต่อต้านอิรักและสหภาพโซเวียต สหรัฐมีการเจรจาเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กับรัฐบาลเฉพาะกาลของอิหร่าน มีการอนุมัติความร่วมมือด้านข่าวกรองระหว่างสองประเทศในปี 1979 ทั้งสหรัฐและอิหร่าน แต่ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐ-อิหร่าน ขาดสะบั้นลงเมื่อเกิด[[วิกฤตการณ์ตัวประกันอิหร่าน]] และอิหร่านยังกล่าวหาสหรัฐว่าอยู่เบื้องหลังการรัฐประหารอิหร่านในปี 1953 สหรัฐได้ตัดทางการทูตเป็นการตอบโต้ ในขณะที่บรรดาผู้นำของอิหร่านรวมทั้ง[[รูฮุลลอฮ์ โคมัยนี]]ต่างเชื่อ[[ทฤษฎีสมคบคิด]]ที่ว่าสหรัฐให้ "ไฟเขียว" แก่ซัดดัม ฮุสเซน ในการบุกอิหร่าน และยังสงใสว่าสหรัฐจะใช้อิรักเป็นหมากในการแก้แค้นเรื่องวิกฤตตัวประกัน ตามบันทึกของประธานาธิบดีคาร์เตอร์เองก็ได้ระบุในไดอารีของเขาว่า ''"พวกผู้ก่อการร้ายอิหร่านกำลังจะทำเรื่องบ้าๆบ้า ๆ อย่างฆ่าตัวประกันชาวอเมริกันถ้าพวกเขาถูกบุกโดยอิรัก ที่เขาบอกว่าเป็นหุ่นเชิดของอเมริกา"''
 
== การเตรียมการของอิรัก ==
บรรทัด 117:
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง|2}}
 
== ดูเพิ่ม ==
{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Iran-Iraq War|สงครามอิรัก-อิหร่าน}}