ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชาธิปไตยเดือนกรกฎาคม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ชาวไทย (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ชาวไทย (คุย | ส่วนร่วม)
→‎ภาพรวม: แปลเนื้อหาเพิ่ม
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 71:
 
พระเจ้าหลุยส์-ฟีลิป ผู้ทรงนิยมแนวคิด[[เสรีนิยม]]เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ ปฏิเสธความเอิกเกริกและวิถีชีวิตอันหรูหราของ[[ราชวงศ์บูร์บง]] และทรงแวดล้อมพระองค์เองด้วยพวกพ่อค้าและนักธนาคาร อย่างไรก็ตามรัชสมัยของพระองค์ก็นับว่าเป็นช่วงเวลาที่วุ่นวายที่สุดสมัยหนึ่ง โดยเฉพาะในด้านการเมือง พวก[[การเมืองฝ่ายขวา|ฝ่ายขวา]]เลซีตีมีสต์กลุ่มใหญ่ต้องการฟื้นฟูราชวงศ์บร์บง ส่วนพวกสาธารณรัฐนิยม (และในภายหลังรวมถึงพวกสังคมนิยมด้วย) ยังคงเป็นกลุ่มที่ทรงอิทธิพล ในช่วงหลังของรัชสมัย พระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปทรงมีอุปนิสัยเข้มงวดและดื้อรั้นมากขึ้น อีกทั้ง[[ประธานรัฐสภา (ฝรั่งเศส)|ประธานรัฐสภา]] [[ฟรองซัวส์ กิโซต์]] ที่พระองค์ทรงแต่งตั้งก็ไม่ได้รับความนิยมอย่างรุนแรง แต่พระองค์ก็ทรงปฏิเสธที่จะปลดเขาออก สถานะการณ์อยู่ในภาวะตึงเครียด จนกระทั่งเกิด [[การปฏิวัติฝรั่งเศส ค.ศ. 1848|การปฏิวัติเดือนกุมภาพันธ์]] ส่งผลให้เกิดการล้มล้างราชาธิปไตยและตามมาด้วยการสถาปนา[[สาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 2|สาธารณรัฐ]]
 
อย่างไรก็ตาม ในช่วงแรกๆของรัชสมัยพระเจ้าหลุยส์-ฟีลิป พระองค์ทรงทำการปฎิรูปหลายๆประการ รัฐบาลของพระองค์เองก็มีรากฐานมาจาก[[กฎบัตร ค.ศ. 1830]] ซึ่งถูกร่างขึ้นโดยสมาชิกที่มีแนวคิดหัวปฎิรูปของ[[สภาผู้แทนราษฎรฝรั่งเศส|สภาผู้แทนราษฎร]] และยังมีการประกาศให้ความเท่าเทียมทางศาสนาแก่ชาวคาทอลิกและโปรเตสแตนต์ การเพิ่มอำนาจให้แก่ประชาชนด้วยการฟื้นฟู[[กองกําลังรักษาความสงบแห่งชาติ (ฝรั่งเศส)|กองกําลังรักษาความสงบแห่งชาติ]] การปฎิรูปการเลือกตั้ง และการปฏิรูป[[บรรดาศักดิ์ฝรั่งเศส|ระบบบรรดาศักดิ์ขุนนาง]] และการลดพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ พระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปและเหล่ารัฐมนตรีของพระองค์ดําเนินนโยบายที่มีท่าทีเหมือนจะเป็นภายใต้รัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ตาม นโยบายเหล่านั้นมีจุดมุ่งหมายในการเพิ่มอำนาจและอิทธิพลให้แก่รัฐบาลและชนชั้นกระฎุมพี มากกว่าจะเป็นการพยายามส่งเสริมความเท่าเทียมและเพิ่มอํานาจให้แก่ประชาชนทั่วไป ดังนั้น ถึงแม้รัฐบาลของพระเจ้าหลุยส์-ฟีลิปจะมีท่าทีเหมือนสนับสนุนการปฎิรูป แต่ความจริงแล้วความคิดเหล่านั้นถือว่าไม่ถูกต้องนัก
 
==อ้างอิง==