ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Horus (คุย | ส่วนร่วม)
ประธานมนตรี (คุย | ส่วนร่วม)
บรรทัด 247:
พ.ศ. 2478 บรรดาผู้ปกครองได้ร้องขอต่อทางราชการให้จัดสร้างที่ทำการโรงเรียนใหม่ เพราะที่ปัจจุบันไม่เอื้ออำนวยแก่การคมนาคม ข่วง สุคนธสรรค์ รักษาการครูใหญ่ จึงประสานกับ [[บุญสิงห์ บุญค้ำ]] ศึกษาธิการจังหวัด ผนวกกับความร่วมแรงร่วมใจของหัวหน้าส่วนราชการทั้งหลายในจังหวัด อันรวมถึง [[เสม พริ้งพวงแก้ว]] ผู้ต่อมาเป็น[[รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข]] เจรจาจัดซื้อจัดหาที่ดินใช้สถาปนาอาคารถาวร ได้ซื้อที่ดินบริเวณวัดป่าแดง ถนนบรรพปราการ อำเภอเมืองเชียงราย ประมาณห้าไร่เศษ ราคาสามร้อยห้าสิบบาท และที่ดินข้างเคียงอีกอีกหนึ่งแปลง ราคาหนึ่งร้อยห้าสิบบาท จาก เรย์ ดับเบิลยู. แบตแทลล์ (Ray W. Battelle) หัวหน้าคณะมิชชันนารีชาวอเมริกาประจำจังหวัด จังหวัดเชียงราย ประกอบกับที่ดินที่มีผู้บริจาคให้ ได้แก่ คำปัน ปิ่นแก้ว ยกที่ดินตอนหน้าด้านตะวันตกให้ห้าไร่เศษ, ฝุ่น อุดมทรัพย์ ยกที่ดินทางด้านตะวันออกให้หนึ่งไร่ และร้อยโทเคลื่อน รักษ์คมนา ยกที่ดินอันติดต่อกับด้านตะวันตกให้อีกหนึ่งไร่ กับทั้งได้ที่ป่าหลังวัดสันป่าแดงมาสมทบ รวมทั้งสิ้นประมาณห้าสิบไร่ โดยห้าสิบไร่นี้ไม่ปรากฏหลักฐานการจับจองหรือได้มาแต่อย่างใด [[พ.ศ. 2480]]<ref name = SWK-22/>
 
เมื่อได้ที่ดินสำหรับสร้างอาคารถาวรแล้ว ก็ยังมิได้ดำเนินเสียทีเดียว แต่ได้จัดสร้างอาคารชั่วคราวสองหลังให้ย้ายที่เรียนจากสโมสรทหารบกมาใช้ที่นี่ไปพลางก่อน โดยประชาชนเชียงรายได้ร่วมกันบริจาคเงินสมทบงบประมาณของจังหวัดที่อนุมัติเพื่อปรับปรุงพื้นที่เตรียมก่อสร้างอาคารถาวร ในการนี้ ใช้แรงงานนักโทษตามคำสั่งผู้บัญชาการเรือนจำจังหวัดในขณะนั้น<ref name = SWK-22/> ครั้งนั้น ขุดพบพระพุทธรูปโบราณองค์หนึ่ง ณ บริเวณซึ่งต่อมาเป็นเสาธงโรงเรียน โดย[[กรมศิลปากร]]สันนิษฐานว่ามีอายุกว่าห้าร้อยปีย้อนหลังไปถึงสมัย[[หิรัญนครเงินยางเชียงราว]] แต่ก็ยังไม่มีนามพระ กระทั่งอีกหกสิบเก้าปีให้หลัง ใน พ.ศ. 2547 [[สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก]] จึงประทานนามว่า "[[พระพุทธมณีไมตรีรัตนะ]]" ให้เป็นพระประธานของโรงเรียนสืบไป<ref name = Thawisak-3/>
 
พ.ศ. 2479 จัดสร้างหอสมุดประจำโรงเรียนซึ่งใช้เป็นหอสมุดประจำจังหวัดและห้องเรียนชั่วคราวแห่งใหม่ด้วย<ref name = SWK-22/>