ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สเปซนาซ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 3:
 
# หน่วยสเปซนาซทางการทหาร ไม่ว่าจะเป็นการแทรกซึมเข้าไปสอดแนมหาข่าวกรองทางทหาร หรือ ทำการก่อวินาศกรรมภายนอกประเทศ ทั้งในยามสงบ และในยามสงครามซึ่งมียุทธวิธีในการรบที่เน้นในการรบนอกแบบ หรือ สงครามกองโจรเป็นหลัก หน่วยรบพิเศษพวกนี้จะเป็นหน่วยรบพิเศษทางการทหาร ซึ่งสังกัดกระทรวงกลาโหม หรือ กองกำลังรักษาพรมแดน (FPS) ยกตัวอย่างเช่น กองพลน้อยปฏิบัติการพิเศษ(อิสระ)ที่ 16 , หน่วยเดลฟิน, หน่วยปฏิบัติการป้องกันการโจมตีใต้น้ำ(PDSS) ของกองทัพเรือรุสเซีย, กรมปฏิบัติการพิเศษ(อิสระ)ที่ 45 ของ เหล่าทหารพลร่ม ส่วนหน่วยรบพิเศษที่ทำหน้าที่ป้องกันการก่อวินาศกรรมตามฐานขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์(RVSN)ของกองทัพรุสเซียก็ จะได้แก่กองพันป้องกันการก่อวินาศกรรมที่ 1790 (OB PDB) สังกัดกองบัญชาการเหล่าขีปนาวุธทางยุทธศาสตร์
# หน่วยสเปซนาซที่รับผิดชอบด้านความมั่นคงภายใน หรือภัยก่อการร้าย, ภัยจากการจับเป็นตัวประกัน และภัยจากอาชญากรรมต่าง ๆ รวมทั้งการควบคุมฝูงชน และการปราบปรามจลาจล. หน่วยปฏิบัติการพิเศษเหล่านี้จะสังกัดหน่วยงานความมั่นคงภายใน เช่น สำนักรักษาความมั่นคงภายใน (FSB), กรมตำรวจ , กองกำลังภายใน (Internal Troops) ของกระทรวงมหาดไทยหรือกระทรวงยุติธรรม. ยกตัวอย่างเช่น [[หน่วยอัลฟา]], [[กองกำลังอาม่อน]], หน่วยปฏิบัติการพิเศษเคลื่อนที่เร็ว (SOBR), กองพลอิสระทหารราบยานยนตร์ปฏิบัติการพิเศษ (ODON), [[หน่วยเฟเคล]], [[หน่วยวิเทียส]],[[หน่วยวิมเพล]] ฯลฯ. ส่วนหน่วยรบพิเศษที่ทำหน้าที่ปราบปรามอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ การค้าขายสินค้าเถื่อน และการเลี่ยงภาษี จะเป็นหน้าที่ของหน่วยปฏิบัติการพิเศษของตำรวจสรรพากร (Police Tax)
# หน่วยสเปซนาซ ที่มีหน้าที่เฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษ เช่น การรับผิดชอบต่อความปลอดภัยของประธานาธิบดี และคณะรัฐมนตรี ตลอดจนผู้บริหารหน่วยงานของรัฐระดับสูง หน่วยปฏิบัติการพิเศษเหล่านี้จะสังกัด สำนักรักษาความปลอดภัยกลาง (FSO) ซึ่งได้แก่ หน่วยรักษาความปลอดภัยประจำตัวประธานาธิบดี (PBS)