ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราโมน บารังเกที่ 3 เคานต์แห่งบาร์เซโลนา"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Darkydury (คุย | ส่วนร่วม)
หน้าใหม่: <br /> ไฟล์:Berenguer el Gran P1210429.jpg|thumb|รูปปั้นแกะสลักของราโมน เบเรงเกร์ที่ 3 โ...
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:19, 26 มกราคม 2562


ราโมน เบเรงเกร์ที่ 3 (สเปน: Ramon Berenguer III) หรือ ผู้ยิ่งใหญ่ (สเปน: el Gran) (ค.ศ. 1082 – 1131) เป็นเคานต์แห่งบาร์เซโลนา, กิโรนา และออซูนาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1086 (ร่วมกับเบเรงเกร์ ราโมนที่ 2 และครองตำแหน่งเพียงผู้เดียวตั้งแต่ปี ค.ศ. 1097) และเป็นเคานต์แห่งพรอว็องส์ในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในชื่อราโมน เบเรงเกร์ที่ 1 ด้วยสิทธิ์ของภรรยาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1112 จนเสียชีวิตในบาร์เซโลนาในปี ค.ศ. 1131

รูปปั้นแกะสลักของราโมน เบเรงเกร์ที่ 3 โดยโจเซพ ลีลโมนา
ลายมือชื่อของราโมน เบเรงเกร์ที่ 3

ประวัติ

ราโมน เบเรงเกร์เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1082 ในเมืองโรเดซ ไวส์เคานตีโรเดซ เคานตีตูลูส ราชอาณาจักรแฟรงก์ เขาเป็นบุตรชายของราโมน เบเรงเกร์ที่ 2[1] ที่สืบทอดตำแหน่งต่อจากบิดา ปกครองร่วมกับเบเรงเกร์ ราโมนที่ 2 ผู้เป็นอา เขากลายเป็นผู้ปกครองเดี่ยวในปี ค.ศ. 1097 เมื่อเบเรงเกร์ ราโมนที่ 2 ถูกบังคับให้ออกไปจากประเทศ


เพื่อตอบโต้การรุกรานที่เพิ่มมากขึ้นของกลุ่มอัลโมราวิดในปี ค.ศ. 1102 ราโมนโจมตีกลับโดยมีเอร์เมงโกลที่ 5 เคานต์แห่งอูร์เกลให้ความช่วยเหลือ แต่พ่ายแพ้และเอร์เมนโกลถูกสังหารที่สมรภูมิโมลเลรุซซา[2]


ในช่วงที่เขาปกครอง ชาวกาตาลันมุ่งมั่นกับการขยายอาณาเขตออกไปทั้งสองฝั่งของเทือกเขาพีรินี ด้วยการแต่งงานและการยึดมาเป็นบริวารทำให้เขาสามารถรวมเคานตีกาตาลันเกือบทั้งหมด (ยกเว้นอูร์เกลกับเปราลาดา) เข้ากับดินแดนของตน เขาได้สืบทอดต่อเคานตีเบซาลูกับเกร์ดันยา และแต่งงานกับดูลเซ ทายาทหญิงแห่งพรอว็องส์ อำนาจของเขาจึงแผ่ไพศาลไปทางตะวันออกจนถึงนิส


ด้วยการจับมือเป็นพันธมิตรกับเคานต์แห่งอูร์เกล ราโมน เบเรงเกร์สามารถพิชิตบาร์บัสโตรและบาลาเกร์ได้ และยังสานสัมพันธไมตรีกับสาธารณรัฐทางทะเลของอิตาลี ปิซาและเจนัว และในปี ค.ศ. 1114 และ ค.ศ. 1115 ได้ร่วมมือกับปิซาโจมตีเกาะมุสลิมมายอร์กาและอิบิซา[3] ซึ่งกลายเป็นรัฐบรรณาการของเขา ทาสชาวคริสต์มากมายในเกาะทั้งสองได้รับอิสรภาพกลับคืนมา ราโมน เบเรงเกร์ยังโจมตีเมืองขึ้นของชาวมุสลิมบนแผ่นดินใหญ่โดยมีปิซาคอยให้ความช่วยเหลือ อาทิเช่น บาเลนเซีย, แยย์ดา และตอร์โตซา ในปี ค.ศ. 1116 ราโมนเดินทางไปโรมเพื่อร้องเรียนต่อสมเด็จพระสันตะปาปาปาสตาลที่ 2 ให้ประกาศสงครามครูเสดเพื่อปลดปล่อยตาร์ราโกนา ซึ่งต่อมากลายเป็นเก้าอี้ตำแหน่งประจำนครหลวงของศาสนจักรในกาตาโลเนีย (ก่อนหน้านั้นชาวกาตาลันอยู่ในการปกครองทางศาสนาของอาร์ชบิชอปแห่งนาร์โบน)


ในปี ค.ศ. 1127 ราโมน เบเรงเกร์ลงนามในสนธิสัญญาทางการค้ากับชาวเจนัว[4] ช่วงใกล้บั้นปลายชีวิตเขากลายเป็นอัศวินเทมพลาร์[5] เขายกเคานตีกาตาลันทั้งห้าแห่งให้ราโมน เบเรงเกร์ที่ 4 บุตรชายคนโต และยกพรอว็องส์ให้เบเรงเกร์ ราโมน บุตรชายคนเล็ก


เขาเสียชีวิตในวันที่ 23 มกราคม/19 กรกฎาคม ค.ศ. 1131 และถูกฝังในอารามซันตามาเรียเดริโปล

การแต่งงานและทายาท

ภรรยาคนแรกของราโมนคือมารีอา โรดรีเกซ เด บิบาร์ บุตรสาวคนที่สองของเอลซิด ทั้งคู่มีบุตรด้วยกันหนึ่งคน คือ

  • มารีอา แต่งงานกับเบร์นัตที่ 3 เคานต์แห่งเบซาลู (เสียชีวิต ค.ศ. 1111)


อัลโมนด์ ภรรยาคนที่สองของเขาไม่มีบุตร


ภรรยาคนที่สามของเขาคือดูลเซ ทายาทหญิงแห่งพรอว็องส์ (เสียชีวิต ค.ศ. 1127)[1] การแต่งงานของทั้งคู่ให้กำเนิดบุตรเจ็ดคน คือ


้อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 Cheyette, Fredric L. (2001). Ermengard of Narbonne and the World of the Troubadours. Cornell University Press, p. 20.
  2. Reilly, Bernard F. (2003). The Medieval Spains. Cambridge University Press, p. 107.
  3. Reilly, Bernard F. (1995). The Contest Christian and Muslim Spain:1031-1157. Blackwell Publishing, p. 176.
  4. Phillips, Jonathan P. (2007). The Second Crusade: Extending the Frontiers of Christendom. Yale University Press, p. 254.
  5. Nicholson, Helen (2010). A Brief History of the Knights Templar. Constable & Robinson Ltd., p. 102.