ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจียง ไคเชก"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Shoshui (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Shoshui (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 170:
===โรงเรียนการทหารหวงผู่===
[[ไฟล์:Whampoa3.jpg|250px|thumb|[[ซุน ยัดเซ็น]] (ยืนอยู่หลังโต๊ะ) และ[[เจียง ไคเช็ค]] (ยืนบนเวที สวมเครื่องแบบ) ในพิธีเปิด[[โรงเรียนการทหารแห่งสาธารณรัฐจีน|โรงเรียนการทหารหวงผู่]]ในปี ค.ศ.1924]]
เจียงและดร.ซุนแล่นเรือมาถึงเกาะหวงผู่ (ปัจจุบันคือ[[เกาะฉางโจว]] (长洲岛)) ปี ค.ศ. 1924 ดร.ซุนได้ตั้งโรงเรียนการทหารขึ้น เพื่อบ่มเพาะนักการทหารและนักการเมืองรุ่นใหม่ชึ้นขึ้นมาเป็นแกนนำในการปฏิวัติ โรงเรียนแห่งนี้ตั้งอยู่บนเกาะหวงผู่ จึงได้ชื่อว่า[[โรงเรียนการทหารแห่งสาธารณรัฐจีน|โรงเรียนการทหารหวงผู่]] เจียง ไคเชกได้รับเลือกเป็นอาจารย์ใหญ่ที่ฝึกสอนคนแรกของโรงเรียนทหารแห่งนี้ ช่วงปี ค.ศ. 1920 เจียงสนใจ[[ภาษารัสเซีย]] เขาศึกษาวัฒนธรรมและการทหารของรัสเซียอยู่พักหนึ่ง จากนั้นก็เขียนจดหมายไปคุยกับดร.ซุน ให้ขอความช่วยเหลือจากรัสเซีย การตั้งโรงเรียนดังกล่าวทำให้กองทัพปฏิวัติที่อ่อนแอของพรรคก๊กมินตั๋งเริ่มแข็งแกร่งมากขึ้นและสามารถยึดเมืองกวางตุ้งคืนมาได้อย่างรวดเร็วทำ
ให้พรรคก๊กมินตั๋งได้ทหารอุดมการณ์เพื่อประเทศชาติอย่างแท้จริง ได้มีการลดจำนวนและเลิกพึ่งพาทหารรับจ้างซึ่งไม่มีอุดมการณ์ไปในที่สุด ดังนั้นกองทัพปฏิวัติที่อ่อนแอของพรรคก๊กมินตั๋งจึงเริ่มแข็งแกร่งมากขึ้นและสามารถยึดเมืองกวางตุ้งคืนมาได้อย่างรวดเร็ว
===การศึกษาที่รัสเซีย===
ดร.ซุนได้รับความช่วยเหลือจากองค์การคอมมิวนิสต์สากลหรือ[[โคมินเทิร์น]]และได้ส่งเจียงไปใช้เวลาสามเดือนใน[[มอสโก]]เพื่อศึกษาระบบการเมืองและการทหารของ[[สหภาพโซเวียต]] ระหว่างการเดินทางไปรัสเซีย เจียงพบกับ[[เลออน ทรอตสกี]]และผู้นำโซเวียตคนอื่นๆ เจียงได้พบว่าแนวความคิดของ[[คอมมิวนิสต์]]ขัดแย้งกับขนบธรรมเนียมวัฒธรรมอันดีงามของจีน เนื่องจากหลักความคิดในลัทธิคอมมิวนิสต์จะเน้นความชิงชัง การต่อสู้ดิ้นรน ส่วน[[ลัทธิขงจื๊อ]]จะเน้นความรัก ความสามัคคีและคุณธรรม ซึ่งทั้งสองความคิดนี้ต่างขัดแย้งกันโดยสิ้นเชิง นั้นทำให้เจียงได้ข้อสรุปอย่างรวดเร็วว่าระบบรัฐบาลของรัสเซียไม่เหมาะกับประเทศจีน เจียงจึงได้มากลับมาแนะนำดร.ซุนให้รับแต่ความช่วยเหลือด้านการทหารไม่ต้องรับความช่วยเหลือทางด้านการเมือง
 
แต่การที่ดร.ซุนรับความช่วยเหลือทางทหารจากองค์การโคมินเทิร์นทางตัวแทนพรรคคอมมิวนิสต์สากลที่[[เลนิน]]ส่งมาได้ปรับปรุงโครงสร้างพรรค ให้ตัวแทนจาก[[พรรคคอมมิวนิสต์จีน]]เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกพรรคก๊กมินตั๋ง เปิดทางให้[[เหมา เจ๋อตง]] สมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์จีนเข้ามามีตำแหน่งรัฐมนตรีโฆษณาการ เจียง ไคเชกได้บันทึกลงในบันทึกประจำวันเขาว่า "ดร.ซุนได้ทำผิดพลาดครั้งใหญ่หลวง ทันทีที่พรรคคอมมิวนิสต์ได้ตั้งหลักบนแผ่นดินจีนได้นั้นย่อมเป็นการยากที่ขจัดพวกเขาเหล่านั้นไป"
 
เจียงไคเชกกลับมาที่กวางตุ้งและในปี ค.ศ. 1924 เขาได้รับแต่งตั้ง ผู้บัญชาการของโรงเรียนการทหารหวงผู่ เจียงขอลาออกจากสำนักงานเป็นเวลาหนึ่งเดือนโดยไม่เห็นด้วยกับการที่ดร.ซุนให้ความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับองค์การคอมมิวนิสต์สากล แต่เจียงก็กลับมาตามความต้องการของดร.ซุน ในช่วงปีแรกๆที่โรงเรียนการทหารหวงผู่อนุญาตให้เจียงสามารถปลูกฝังนายทหารหนุ่มที่ซื่อสัตย์ต่อทั้งพรรคก๊กมินตั๋งและตัวเขาเอง
==การขึ้นสู่อำนาจ==
===การแย่งชิงอำนาจกับวาง จิงเว่ย===
[[ไฟล์:Wang Jingwei and Chiang Kai-shek.jpg|thumb|right|เจียง ไคเชก (ขวา) และ [[วาง จิงเว่ย]] (ซ้าย) ค.ศ. 1926]]
ดร.ซุน ยัตเซ็นได้เสียชีวิตเมื่อวันที่ 12 มีนาคม ค.ศ. 1925,<ref name=sundeath>{{Cite book |last=Eileen |first=Tamura |year=1998 |title=China: Understanding Its Past |page = 174}}</ref> ได้การสร้างสุญญากาศทางการเมืองใน[[พรรคก๊กมินตั๋ง]] มีการแข่งขันอำนาจบารมีเกิดขึ้นในหมู่บรรดาสมาชิกของพรรคอันได้แก่ [[วาง จิงเว่ย]], [[เลี่ยว จ้งข่าย]]และ[[หู ฮั่นหมิน]] ในเดือนสิงหาคม เลี่ยวถูกลอบสังหารและหูถูกจับเพราะเกี่ยวข้องกับฆาตกร ส่วนวาง จิงเว่ยผู้ซึ่งได้สืบทอดตำแหน่งต่อจากดร.ซุนในฐานะประธานผู้บริหารของรัฐบาลกวางตุ้ง แม้ว่าจะเขาขึ้นครองตำแหน่งแต่ก็ดำรงตำแหน่งได้ไม่นาน เนื่องจากถูกบังคับให้ถูกเนรเทศโดยเจียง ไคเชก โดยการ[[รัฐประหารกวางตุ้ง]]
 
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==