ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ยุคเฮเซ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
วณิพก (คุย | ส่วนร่วม)
วณิพก (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 14:
 
โอบูจิได้อธิบายความของชื่อ "เฮเซ" ว่ามีที่มาจากบันทึกประวัติศาสตร์และปรัชญาของจีนสองเล่ม คือ''[[บันทึกประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่|ฉื่อจี้]]'' (史記 ''Shǐjì'') และ''[[ชูจิง]]'' (書経 ''Shūjīng'') ใน''ฉื่อจี้'' มีประโยคว่า "内平外成" (''nèi píng wài chéng''; คัมบุง: 内平かに外成る ''Uchi tairaka ni soto naru'') ปรากฏในส่วนที่สรรเสริญการปกครองด้วยพระอัจฉริยภาพของ[[พระเจ้าชุ่น]] จักรพรรดิในตำนานของจีน ใน''ชูจิง'' ปรากฏประโยคว่า "地平天成" (''dì píng tiān chéng''; คัมบุง: 地平かに天成る ''Chi tairaka ni ten naru'', "สันติสุขในฟ้าดิน") ด้วยการนำความหมายของสองประโยคนี้มารวมเข้าด้วยกัน "เฮเซ" จึงมีความหมายว่า "สันติสุขทุกหนทุกแห่ง" ยุคเฮเซเริ่มต้นทันทีในวันหลังการขึ้นครองราชย์ของสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะเมื่อวันที่ 7 มกราคม ค.ศ. 1989
 
ในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 2016 สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะทรงมีพระราชดำรัสผ่านทางโทรทัศน์ว่าพระองค์กังวลว่าพระชนมายุที่มากขึ้นของพระองค์จะส่งผลทำให้ไม่สามารถปฏิบัติพระราชกรณียกิจได้เต็มที่ เป็นนัยว่าพระองค์มีพระราชประสงค์จะสละราชย์ <ref name=kyodo011217/> [[สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ญี่ปุ่น)|สภานิติบัญญัติแห่งชาติ]]ได้ผ่านร่างกฎหมายเมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2560 ให้สามารถสืบทอดราชบัลลังก์แก่[[เจ้าชายนารูฮิโตะ มกุฎราชกุมารแห่งญี่ปุ่น|เจ้าชายนารูฮิโตะ]] พระราชโอรสของสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ<ref name=kyodo011217/> ภายหลังจากการประชุมสมาชิกสภาราชวงศ์ [[นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น|นายกรัฐมนตรี]][[ชินโซ อาเบะ]]ได้ประกาศว่าจะกำหนดให้วันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 2019 เป็นวันสละราชย์ของสมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโตะ<ref name=kyodo011217/> รัชสมัยของเจ้าชายนารูฮิโตะจะเริ่มขึ้นในวันถัดไป <ref>{{cite news|last1=Kyodo|first1=Jiji|title=Japan’s publishers wait in suspense for next era name|url=https://www.japantimes.co.jp/news/2017/12/03/business/economy-business/japanese-firms-preparing-new-calendar-era-following-emperors-abdication-2019/#.WiP5LUqWaUk|accessdate=2018-01-31|work=The Japan Times Online|date=3 December 2017}}</ref>
 
 
==ตารางเทียบศักราช==