ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วันพระ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 1:
{{พุทธศาสนา}}
[[ไฟล์:Making merit Buddhist holy day in Vientiane.jpg|thumbnail|200px|พุทธศาสนิกชนนิยมไปทำบุญตักบาตรที่วัดในวันพระ (ภาพ: การทำบุญใส่[[บาตร]]ใน[[กรุงเวียงจันทร์]] [[ประเทศลาว]])]]
{{โครงส่วน}}
'''วันพระ''' หรือ '''วันธรรมสวนะ''' หรือ '''วันอุโบสถ''' หมายถึง วันประชุมของพุทธศาสนิกชนเพื่อปฏิบัติกิจกรรมทาง[[ศาสนา]]ใน[[พระพุทธศาสนา]]ประจำ[[สัปดาห์]] หรือที่เรียกกันทั่วไปอีกคำหนึ่งว่า "วันธรรมสวนะ" อันได้แก่วันถือ[[ศีล]]ฟัง[[ธรรม]] (ธรรมสวนะ หมายถึง การฟังธรรม) โดยวันพระเป็นวันที่มีกำหนดตามปฏิทิน[[ปฏิทินจันทรคติไทย|จันทรคติ]] โดยมีเดือนละ 4 วัน ได้แก่ วันขึ้น 8 ค่ำ, วันขึ้น 15 ค่ำ ([[วันเพ็ญ]]), วันแรม 8 ค่ำ และวันแรม 15 ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม 14 ค่ำ)
l l
 
วันพระนั้นเดิมเป็นธรรมเนียมของปริพาชกอัญญเดียรถีย์ (นักบวชนอกพระพุทธศาสนา) ที่จะประชุมกันแสดงธรรมทุก ๆ วัน 8 ค่ำ 15 ค่ำ ซึ่งในสมัยต้นพุทธกาล พระพุทธเจ้ายังคงไม่ได้ทรงวางระเบียบในเรื่องนี้ไว้ ต่อมา[[พระเจ้าพิมพิสาร]]ได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และกราบทูลพระราชดำริของพระองค์ว่านักบวช[[ศาสนา]]อื่นมีวันประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนในศาสนาของเขา แต่ว่าพุทธศาสนายังไม่มี พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาตให้มีการประชุมพระสงฆ์ในวัน 8 ค่ำ 15 ค่ำ และอนุญาตให้พระภิกษุสงฆ์ประชุมสนทนาและแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนในวันดังกล่าว โดยตาม[[พระไตรปิฎก]]เรียกวันพระว่า วันอุโบสถ (วัน 8 ค่ำ) หรือวันลงอุโบสถ (วัน 14 หรือ 15 ค่ำ) แล้วแต่กรณี<ref>พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ อุโบสถขันธกะ. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก [http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=4&A=4053&Z=4115&pagebreak=0]. เข้าถึงเมื่อ 16-7-52</ref>
L
 
หลังจากนั้น พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันธรรมสวนะสืบมา โดยจะเป็นวันสำคัญที่พุทธศาสนิกชนจะไปประชุมกันฟังพระธรรมเทศนาจากพระสงฆ์ที่วัด ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่าได้มีประเพณีวันพระมาตั้งแต่สมัย[[สุโขทัย]]<ref>จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงมหาราช. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดทำเนื่องในโอกาส ๗๐๐ ปี ลายสือไทย กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.๒๕๒๗</ref>
 
วันพระในปัจจุบัน คงเหลือธรรมเนียมปฏิบัติอยู่แต่เฉพาะประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนา[[เถรวาท]] เช่น [[ศรีลังกา]], [[พม่า]], [[ไทย]], [[ลาว]] และ[[เขมร]] (ในอดีตประเทศเหล่านี้ถือวันพระเป็นวันหยุดราชการ) โดยพุทธศาสนิกชนเถรวาทนับถือว่าวันนี้เป็นวันสำคัญที่จะถือโอกาสไปวัดเพื่อทำ[[บุญ]]ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์และฟังพระธรรมเทศนา สำหรับผู้ที่เคร่งครัดในพระพุทธศาสนาอาจถือ[[ศีลแปด]]หรือศีลอุโบสถในวันพระด้วย นอกจากนี้ชาวพุทธยังถือว่าวันพระไม่ควรทำ[[บาป]]ใด ๆ โดยเชื่อกันว่าการทำบาปหรือไม่ถือ[[ศีลห้า]]ในวันพระถือว่าเป็นบาปมากกว่าในวันอื่น
l________l
 
ในประเทศไทย หลังจากวันพระได้ถูกยกเลิกไม่ให้เป็นวันหยุดราชการ ทำให้วันพระที่กำหนดวันตามปฏิทินจันทรคติส่วนใหญ่ไม่สอดคล้องกับปฏิทินที่ใช้กันอยู่ทั่วไป (เช่น วันพระไปตรงกับวันทำงานปกติ) ซึ่งคือหนึ่งในสาเหตุสำคัญในปัจจุบันที่ทำให้พุทธศาสนิกชนในประเทศไทยห่างจากการเข้าวัดเพื่อทำบุญในวันพระ
 
นอกจากนี้ ในประเทศไทยยังมีคำเรียกวันก่อนวันพระหนึ่งวันว่า '''วันโกน''' เพราะปกติในวันขึ้น 14 ค่ำปกติ ก่อนวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เป็นธรรมเนียมของพระสงฆ์ในประเทศไทยที่จะโกนผมในวันนี้
 
== ประวัติความเป็นมาของวันธรรมสวนะ ==
ในสมัยพุทธกาล พระราชาพระนามว่าพระเจ้าพิมพิสารได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในพระวิหารชื่อว่าเชตวัน และกราบทูลว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์แลเห็น ซึ่งนักบวชศาสนาอื่นอีก ได้มีวันกำหนดนัดหมายประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนในที่ประชุมของเขาทั้งหลาย เหล่านั้น แต่ว่า ข้าแแต่พระองค์ผู้เจริญ ไฉนศาสนาพุทธของเราทั้งหลายย่อมมีวันกำหนดนัดหมายเพื่อประชุมกันหามิได้ ดังนี้." อันอันพระราชาพระนามว่าพระเจ้าพิมพิสาร กราบทูลแล้ว พระศาสดาจึงทรงอนุญาตให้เหล่าภิกษุสงฆ์สาวกประชุมกันเพื่อสนทนาและแสดงพระธรรมเทศนาให้แก่อุบาสกและอุบาสิกาทั้งหลาย ได้ฟังกันในวันขึ้น 8 ค่ำ หรือ หรือว่า วันขึ้น14 ค่ำ หรือว่า วันขึ้น 15 ค่ำ พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็นวันธรรมสวนะเพื่อกำหนดให้มีการประชุมพร้อมเพรียงกันฟังธรรม
 
ในสมัยพุทธกาลนั้น สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประชุมเหล่าภิกษุสงฆ์สาวกเพื่อทรงแสดงพระปาฏิโมกข์ ในช่วงเข้าพรรษา การประชุมสงฆ์ซึ่งเป็นสาวกของพระพุทธองค์นั้นก็ได้นัดหมายกันไปในที่ประชุม ต้องมีพระภิกษุสงฆ์รูปหนึ่งเป็นองค์สวดพระปาฏิโมกข์ พระภิกษุสงฆ์สาวกที่ร่วมเข้าฟังพระปาฏิโมกข์ ก็จะพร้อมเพียงกันสำรวมกาย วาจา และตั้งใจฟังจนกระทั่งสวดจบ เป็นอันเสร็จพิธี
(*-*)
 
 
คำว่า "สวนะ" แปลว่า การฟัง และคำว่า "ธรรมสวนะ" แปลว่า การฟังธรรม, วันฟังธรรม ภาษาพูดที่เรียกว่า วันพระ เพราะ คำว่า" พระ"นั้น ใช้เรียกภิกษุจำนวนมากกว่า ๔ รูป ขึ้นไป ซึ่งก็หมายถึงความเป็นหมู่คณะ จึงเรียกว่า พระ หรือ สงฆ์ ทางพระพุทธศาสนาก็ยังได้กำหนดเรียกว่า วันอุโบสถ ซึ่งแปลว่า วันถือศีลของอุบาสกและอุบาสิกาผู้มีสัทธา ร่วมกันประพฤติและปฏิบัติตามธรรมสืบต่อกันมาจนถึงบัจจุบันนี้
 
ทางด้านศาสนพิธีของชาวบ้านนั้น พระพุทธศาสนาก็ได้กำหนดให้มีพีธีต่างๆ มีการร่วมทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหาร จังหัน หวานคาวแด่พระภิกษุสงฆ์ และก็สมาทานศีล (รับศีล) และฟังพระธรรมเทศนาที่วัด ตามลำดับ
 
ในวันธรรมสวนะนี้ พุทธศาสนิกชนก็จะเข้าวัดร่วมกันประพฤติและปฏิบัติธรรม มีกิจกรรมต่างๆ มีการสมาทานศีล เช่น สมาทานและรับศีล ๕ หรือ ศีล ๘ ซึ่งเรียกว่า อุโบสถศีล พระสงฆ์จะได้แสดงพระธรรมเทศนา หรือ ธรรมสากัจฉา หรือ สนทนาธรรมกัน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความเข้าใจ ในข้อธรรมต่างๆ ซึ่งนับว่าเกิดประโยชน์แก่ผู้ร่วมกิจกรรมเป็นอย่างยิ่ง<ref>http://www.watthasai.net/phra_day.htm</ref>
 
== ความสำคัญ ==
จากพุทธานุญาตให้มีตัวแทนสงฆ์รูปหนึ่งสวดทบทวนสิกขาบท ที่ทรงบัญญัติไว้เป็นระเบียบปฏิบัติเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างผาสุกและเพื่อความบริสุทธิ์ในเพศสมณะที่ต้องบริบูรณ์ด้วย ศีล สมาธิ และปัญญาอันเป็นทางหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงตามเส้นทางของพระพุทธศาสนา โดยมีภิกษุผู้สวดทบทวน เมื่อสวดถึงข้อใดแล้วมีภิกษุรูปใดรูปใดรูปหนึ่งประพฤติผิดข้อบังคับนั้น จะเปิดเผยท่ามกลางที่ประชุม หรือที่เรียกว่าแสดงอาบัติ ซึ่งถือปฏิบัติเช่นนี้สืบต่อๆ กันมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล ก่อให้เกิดผลดังนี้ คือ
 
1. เกิดความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของคณะสงฆ์ ด้วยระเบียบปฏิบัติที่หมั่นทบทวนและเตือนตนด้วยการแสดงการยอมรับในสิ่งที่ตนละเมิด เพื่อแก้ไขต่อไป ในข้อนี้มีปรากฏการณ์เด่นชัดเมื่อครั้งพุทธกาล คือเมื่อครั้งพระภิกษุชาวเมืองโกสัมพีทะเลาะเบาะแว้งแตกความสามัคคีกันภายหลังเมื่อกลับมีความสามัคคีใหม่ พระพุทธองค์ทรงอนุญาตให้ประชุมทำอุโบสถสวดพระปาฏิโมกข์เป็นกรณีพิเศษ ที่เรียกว่า วันสามัคคีอุโบสถ
 
2. การหมั่นทบทวนอย่างสม่ำเสมอ ทำให้พระธรรมคำสอนไม่คลาดเคลื่อน เลือนหายและทำให้หมู่คณะจรรโลงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ วันอุโบสถนั้น นอกเหนือจากเป็นวันสำคัญของทางคณะสงฆ์ดังกล่าวแล้ว ยังเป็นวันประชุมฟังธรรมของเหล่าพุทธศาสนิกชนตั้งแต่สมัยพุทธกาลจนถึงปัจจุบันนี้
 
{{โครงส่วน}}
 
<br />
=== ความหมายของวันพระ ===
{{โครงส่วน}}
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/วันพระ"