ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ย้อนการแก้ไขที่ 8074502 สร้างโดย 223.24.149.87 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 14:
| occupation = นักดนตรีไทย [[อาจารย์]]
| musical instrument = [[ระนาดเอก]]
| sexfruendspouse = นางโชตูดโชติ ศิลปบรรเลง
| children =
}}
'''รองเสวกเอก หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)''' (6 สิงหาคม พ.ศ. 2424 - 8 มีนาคม พ.ศ. 2497) [[นักดนตรี]][[ชาวไทย]] ผู้มีชื่อเสียงจากการเล่น[[เครื่องดนตรีไทย ประเภท ระนาดเอก]] และนักประพันธ์[[เพลงไทยเดิม]]
 
== ประวัติ ==
'''หลวงประดิษฐไพเราะ''' มีนามเดิมว่า'''ศร''' ]เกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2424 ในรัชสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ที่ตำบลดาวดึงส์ [[อำเภออัมพวา|อ.อัมพวา]] [[จังหวัดสมุทรสงคราม|สมุทรสงคราม]] เป็นบุตรของ นายสิน กับนางยิ้ม ชาวจังหวัดสมุทรสงครามศิลปบรรเลง บิดาของท่านคือครูสินเป็นนักดนตรีและเจ้าของวงปี่พาทย์มีชื่อเสียง ภรรยาคนแรกชื่อ โชติและเป็นศิษย์ของ[[พระประดิษฐ์ไพเราะ (นามสกุลเดิมมี หุราพันธ์ดุริยางกูร)|พระประดิษฐไพเราะ (มีบุตรธิดา 7 คน ที่เป็นนักดนตรีมีชื่อเสียง คือ คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง และนางมหาเทพกษัตริย์สมุห( บรรเลง สาคริกดุริยางกูร) ภรรยาคนที่]]<ref>[http://x.thaikids.com/phpBB2/viewtopic.php?t=5537 ชื่อ"ทำเนียบศิลปิน ฟู (น้องสาวนางโชติ ศิลปบรรเลง) มีบุตรธิดา 5 คนท้องถิ่นอัมพวา"]</ref>
หลวงประดิษฐ์ไพเราะ เริ้มเรียนดนตรีกับบิดา ต่อมาได้เป็นศิษย์ ครูรอด พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เรียนเพลงมอญกับ ครูสุ่ม ดนตรีเจริญ ได้รับมอบให้เป้นผู้อ่านโองการไหว้ครูจากบิดาเป็นมหาดเล็กในจอมพล สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ทำหน้าที่นักดนตรีและครูสอนดนตรี ต่อมาได้เป็นหัวหน้าวงวังบูรพาภิรมย์ ของพระองค์เข้ารับราชการประจำวงปี่พาทย์หลวงในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เป็นปลัดกรมปี่พาทย์หลวง เป็นพระอาจารย์สอนดนตรีไทยถวาย
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี บรมราชินี รวมทั้งมีส่วนช่วยถวายคำแนะนำการพระราชนิพนธ์เพลงไทย 3 เพลง คือเพลงราตรีประดับดาว เถา
เพลงเขมรลออองค์ เถา และโหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง 3 ชั้น ทั้งยังเป็นผู้ช่วยในการก่อตั้งและฝึกสอนวงมโหรีส่วนพระองค์และวงมโหรีหญิงในราชสำนัก เป็นผู้ควบคุมวงวังลดาวัลย์และวงวังบางคอแหลมในพ.ศ. 2473ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปยังประเทศกัมพูชา พระเจ้ามณีวงศ์ทรงขอตัวไว้ช่วยสอนดนตรีไทยแก่นักดนตรีในราชสำนักระยะหนึ่ง ต่อมาเมื่อปรับเปลี่ยนระบบราชการ จึงย้ายไปสังกัดกรมศิลปากร จนเกษียณอายุ แล้วจึงสอนประจำวงของตนเอง ที่บ้านบาตร และสอนแก่สถาบันต่างๆเช่น โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนราชินี ศิษย์ที่มีชื่อเสียง เช่น นายรวม พรหมบุรี นายเผือด นักระนาด นายโชติ ดุริยประณีต นายชื้น ดุริยะประณีต นายเอื้อน ดิษฐ์เชย นายสมภพ ขำประเสริฐ นายประสิทธ์ ถาวร นายบุญยงค์ เกตุคง เรืออากาศเอกโองการ กลีบชื่น คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง
นางมหาเทพกษัตริย์สมุห นางจันทนา พิจิตรคุรุการ
หลวงประดิษฐ์ไพเราะ มีฝีมือในการบรรเลงเครื่องดนตรีได้ดีทุกชนิด ที่ได้รับยกย่องเป็นพิเศษคือ ระนาดเอก เป็นต้นตำหรับเพลงแบบต่างๆเช่น เพลงกรอสำเนียงอ่อนหวาน การบรรเลงเดี่ยวระนาดเอก 2 ราง แตี่งเพลงที่มีลูกนำขึ้นต้น ริเริ่มการบรรเลงรวมวงใหญ่ที่เป็นต้นแบบของมหาดุริยางค์ไทยในปัจจุบัน การนำอังกะลุงและปี่พาทย์มอญมาบรรเลงริเริ่มแต่งเพลงที่มีทางเปลี่ยนของเพลงท่อนต่างๆ และเป็นผู้คิดริเริ่มโน้ตเลข 9 ตัวเพื่อใช้สอนดนตรีไทย ได้แต่งเพลงไว้เช่น เพลงโอ้ลาว เถา(พ.ศ. 2456) เพลงเขมรพวง 3 ชั้น (พ.ศ. 2460) เพลงเชิดจีนทางวังบางคอแหลม เพลงพม่าห้าท่อน เถา (พ.ศ. 2473) เพลงแขกขาว เถา(พ.ศ. 2473)เพลงอะแซหวุ่นกี้ เถา (พ.ศ. 2475) เพลงนกเขาขะแมร์ (พ.ศ. 2476) เพลงลาวเสี่ยงเทียน เถา(พ.ศ. 2476) เพลงแสนคำนึง เถา (พ.ศ. 2483) เพลงไส้พระจันทร์ เถา (พ.ศ. 2490)
จอมพลสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ประทานนามสกุล “ศิลปบรรเลง” แก่
หลวงประดิษฐ์ไพเราะ
หลวงประดิษฐไพเราะฯเป็นคนมีพรสวรรค์ทางดนตรี สามารถตีฆ้องวงใหญ่ได้เองตั้งแต่อายุ 5 ขวบ เริ่มเรียนปี่พาทย์จริงจังตั้งแต่อายุ 11 ปี และแตกฉานมีฝีมือดีอย่างรวดเร็ว ตีระนาดไหวจัดมาตั้งแต่เด็ก ท่านได้แสดงฝีมือจนมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นครั้งแรกในงานโกนจุกเจ้าจอมผู้เป็นธิดาคนหนึ่งของเจ้าพระยาสุรพันธุ์ พิสุทธิ์ ที่จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งมีบุตรสาวถวายตัว ร.5 ถึง 5 คนคือ เจ้าจอมมารดาอ่อน เจ้าจอมเอียม เจ้าจอมเอ็ย (เกิด พ.ศ. 2422) เจ้าจอมเอี่ยม (พ.ศ. 2424) และเจ้าจอมเอื้อน (พ.ศ. 2430) ถ้าดูตามอายุน่าจะเป็นงานโกนจุกเจ้าจอมเอื้อน ซึ่งถ้าเป็นไปตามปกติก็ควรเป็นปี พ.ศ. 2441 หรือก่อนนั้น (ขณะนั้นนายศร อายุ 17 ปี) ในงานนั้นมีปี่พาทย์ 3 วง นายศรเป็นคนตีฆ้องวงเล็ก โขนเล่นตอนสุครีพหักฉัตร ปี่พาทย์บรรเลงเพลงเฉิดต่อตัวกัน คนระนาดเอกวงครูสินต่อวงอื่นไม่ทัน ครูสินจึงเรียกนายศรไปตีระนาดเอกแทน วงไหนส่งมานายศรก็รับส่งได้ไม่บกพร่อง พอถึงรอบสองตีไหวมากจนวงอื่นรับไม่ทัน นายศรต้องบรรเลงเพลงต่อไปเองจนจบ เจ้าพระยาสุรพันธุ์พิสุทธิ์ ถึงกับตบมือตะโกน ร้องว่า "นี่..ผู้ใหญ่แพ้เด็ก" ตั้งแต่นั้นมาชื่อ นายศร ก็ลือกระฉ่อนไปทั่วลุ่มน้ำแม่กลอง
 
ต่อมาเจ้าพระยาเทเวศรวงศ์วิวัฒน์ มีงานเปิดตลาดบ้านหม้อ มีปี่พาทย์ประชัน 3 วง คือ วงมหาดเล็กหลวง วงพระนายไวย และ วงเจ้าพระยาเทเวศรฯ ขณะนั้นนายแช่ม (พระยาเสนาะดุริยางค์)น่าจะเป็นคนระนาดเอกวงปี่พาทย์หลวงหรือไม่ก็วงปี่พาทย์ของเจ้าพระยาเทเวศรฯนายศรได้เข้ามาดูงานนี้ด้วยบังเอิญพระนายไวยซึ่งน่าจะรู้จักนายศรเหลือบมาเห็นเข้ารู้ว่าเป็นระนาดบ้านนอกฝีมือดี ก็เลยเรียกให้เข้าไปตีระนาดในวงของท่าน นายศรได้ตีระนาดหลายเพลงจนถึงเพลงเดี่ยวกราวในทำให้เจ้านายและผู้อยู่ในงานนั้นตะลึงในฝีมือ ได้รับรางวัลถึง 32 บาท ซึ่งนับว่ามากมายอักโขอยู่ในสมัยนั้น
 
อีกครั้งหนึ่งในงานคล้ายวันเกิดของเจ้าคุณจอมมารดาสำลีชนนีของพระนางเจ้าสุขุมาลมารศรี พระราชเทวีในรัชกาลที่ 5 นายศรได้มีโอกาสมาร่วมบรรเลงปี่พาทย์ด้วยโดยได้เดี่ยวระนาดเอกเพลงกราวในเถาด้วยชั้นเชิงและฝีมืออันยอดเยี่ยมจนได้รับพระราชทานรางวัลจากสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์และเจ้านายพระองค์อื่นอีกหลายพระองค์ ชื่อเสียงของนายศรก็เริ่มเข้ามาโด่งดังในกรุงเทพฯ สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงเป็นนักดนตรีเอก ทรงระนาดได้ดี โปรดระนาดที่ไหวจริง ชัดเจน การที่ประทานรางวัลนายศรแสดงว่าต้องตีได้เยี่ยมจริง ๆ
 
ในปี พ.ศ. 2442 เป็นหัวเลี้ยวสำคัญในชีวิตของนายศรดังที่ท่านบันทึกไว้เองว่า "ปีกุน ร.ศ. 118 เจ้าเมืองสมุทรสงครามให้อำเภอคือ ขุนราชปุการเชย ไปหาบิดาที่บ้านบอกว่าสมเด็จวังบูรพาฯให้ไปตีระนาดถวายที่เขางู เมืองราชบุรี ออกจากบ้านมาก็เลยเข้ามาอยู่ที่กรุงเทพฯทีเดียว ไปตามเสด็จเมืองพิษณุโลก หล่อพระพุทธชินศรีกลับลงมา รุ่งขึ้นปี ร.ศ. 119 เดือนยี่ ทำการสมรสที่บ้านหน้าวัง ในปีนี้ท่านบิดาก็ถึงแก่กรรม"
 
เบื้องหลังและรายละเอียดอันเป็นต้นเหตุให้นายศรได้เข้ามาเป็นคนระนาดเอกวังบูรพาฯมีอยู่ว่า สมเด็จกรมพระยาภานุพันธุวงศ์วรเดช (ครั้งดำรงพระยศเป็นพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงฯ) เจ้าของวังบูรพาภิรมย์ทรงโปรดปี่พาทย์ยิ่งนักและไม่ยอมแพ้ใครในเรื่องนี้ ทรงมีวงปี่พาทย์ประจำวังของพระองค์เองแต่คนระนาดของพระองค์คนแล้วคนเล่า ก็ไม่มีใครสู้นายแช่ม (พระยาเสนาะดุริยางค์) ได้ จึงทรงเสาะหาคนระนาดที่จะมาปราบนายแช่มให้ได้ เมื่อเสด็จออกไปบัญชาการเตรียมรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯ ที่จังหวัดราชบุรี ทรงทราบว่านายศรบุตรครูสินตีระนาดดีจึงให้หาตัวมาตีถวาย พอตีถึงเดี่ยวกราวในยังไม่ทันจบเพลง ก็ถอดพระธำรงค์ประทานและขอตัวจากครูสินให้ตามเสด็จเข้าวังทันที แม้แต่เสื้อผ้าก็ไม่ต้องกลับไปเอาที่บ้านทรงแต่งตั้งให้นายศรเป็นจางวางมหาดเล็ก ซึ่งปรากฏชื่อในหมู่นักดนตรีว่า "จางวางศร"
 
สมเด็จวังบูรพาฯโปรดให้จางวางศรเป็นคนระนาดเอกแทน ครูเพชร จรรย์นาฏ ซึ่งเปลี่ยนไปเป็นคนฆ้องใหญ่ ครูเพชรผู้นี้เป็นศิษย์รุ่นเล็กของครูช้อย สุนทรวาทิน มีฝีมือทั้งระนาดและฆ้องวง ได้ถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้กับจางวางศรเป็นอันมาก ส่วนครูคนสำคัญที่ทำให้ฝีมือระนาดของจางวางศรก้าวหน้ายิ่งขึ้นคือ ครูแปลก (พระยาประสานดุริยศัพท์) นอกจากนั้นจางวางศรยังได้เรียนและได้รับคำแนะนำจากครูผู้ใหญ่คนอื่นๆในยุคนั้นอีกหลายท่านด้วย
 
สมเด็จวังบูรพาฯทรงหาครูมาฝึกสอนจางวางศรอยู่นานพอสมสมควรแล้วทรงจัดให้จางวางศรตีระนาดประชันกับนาย แช่ม (พระยาเสนาะดุริยางค์) คนระนาดเอกของกรมพิณพาทย์หลวง เมื่อราวปี พ.ศ. 2443 ขณะนั้นจางวางศรอายุ 19 ปี นายแช่มอายุ 34 ปี เป็นการประชันระนาดเอกอย่างเป็นทางการครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติการดนตรีไทยผลการประชันเป็นที่กล่าวขวัญกันมาอีกช้านาน รายละเอียดที่จะได้นำเสนอต่อไปนี้ได้ข้อมูลมาจาก คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ ครูจำรัส เพชรยาง และศิษย์ครูจางวางศรซึ่งส่วนใหญ่ไปดูการประชันครั้งนั้นมี ครูถวิล อรรถฤกษณ์ ศิษย์ ครูเพชร จรรย์นาฏ
 
เมื่อจางวางศรรู้ว่าสมเด็จวังบูรพาฯจะให้ตีประชันกับนายแช่มก็ตกใจมาก เพราะในขณะนั้นนายแช่มกำลังโด่งดังไม่มีใครกล้าสู้ อีกทั้งเป็นลูกครูช้อยครูของครูแปลกและครูเพชรด้วย จางวางศรจึงทั้งเคารพและยำเกรงในฝีมือ ท่านเล่าให้ ดร.อุทิศ นาคสวัสดิ์ ฟังว่า "เพียงแต่ได้ยินชื่อก็ให้รู้สึกว่ามือเท้าอ่อนปวกเปียกไปเลยทีเดียว ความกลัวของท่านครูนั้นถึงกับทำให้หยุดซ้อมระนาดไปเลย ทั้งนี้เพราะเกิดความกังวลจนไม่เป็นอันกินอันนอน ในที่สุดท่านก็ชวนเพื่อนไปรดน้ำมนต์เพื่อทำให้จิตใจดีขึ้น" ด้วยความคร้ามเกรงฝีมือซึ่งกล่าวกันว่า "จะมีใครสู้นายแช่มได้" จางวางศรจึงไปกราบขอร้องให้ครูผู้ใหญ่ที่ท่านนับถือท่านหนึ่งไปช่วยกราบขออภัยต่อนายแช่มว่า ที่จริงท่านไม่เคยคิดหาญจะประชันด้วย แต่ไม่อาจขัดรับสั่งสมเด็จวังบูรพาฯได้ โปรดออมมือให้ท่านบ้าง แต่ปกติวิสัยของการประชันดนตรีย่อมต้องเล่นให้ดีเต็มฝีมือ ประกอบกับนายแช่มเป็นคนระนาดของวังหลวงย่อมต้องรักเกียรติรักศักดิ์ศรีของตน จึงไม่ยอมรับคำขอร้องโดยบอกว่าต่างฝ่ายต่างต้องเล่นเต็มฝีมือ
 
จางวางศรยิ่งวิตกกังวลถึงกับหนีไปอยู่กับพวกปี่พาทย์ที่คุ้นเคยกันตามต่างจังหวัด สมเด็จวังบูรพาฯทรงกริ้วมากสั่งให้เอาตัวนางโชติภรรยาจางวางศรมากักกันไว้ จนจางวางศรต้องกลับมา มุมานะฝึกซ้อม และคิดค้นหาวิธีตีที่จะทำให้ไม่แพ้คู่ต่อสู้ เข้าใจว่าท่านได้คิดวิธีจับไม้ระนาดให้ตีไหวรัวได้ดียิ่งขึ้นในตอนนี้ ตลอดจนเทคนิคต่างๆในการตีระนาดอีกมากมาย เช่น ตีให้ไหวร่อน ผ่อนแรง ไหวทน เพราะนายแช่มหรือพระยาเสนาะดุริยางค์นั้นทั้งไหวทั้งจ้าหาคนสู้ได้ยากจริงๆ จางวางศรเองก็เคยปรารภกับครูเพชรว่า "ตีให้จ้าน่าเกรงขามอย่างท่านยากต้องหาชั้นเชิงอื่นสู้" ความมุ่งมั่นมานะทำให้ท่านฝันว่าเทวดามาบอกทางเดี่ยวเพลง กราวในที่ดีที่สุดให้และประสาทพรให้ท่านว่า "ต่อไปนี้เจ้าจะตีระนาดไม่แพ้ใคร"
 
การประชันครั้งนั้นใช้ปี่พาทย์เครื่องห้าเพราะต้องการดูฝีมือผู้ตีระนาดเอกเป็นสำคัญ วงปี่พาทย์หลวงไม่ทราบว่าใครเป็น คนฆ้อง คนปี่ และ คนเครื่องหนังแต่วงวังบูรพาฯครูเพชรเป็นคนฆ้อง ครูเนตรตีเครื่องหนัง ส่วนคนปี่ไม่ทราบนาม การประชันเริ่มตั้งแต่เพลงโหมโรงเพลงรับร้องเรื่อยไปจนถึงเดี่ยวระนาดเอกกันแบบ "เพลงต่อเพลง" เริ่มด้วยเพลงพญาโศก เชิดนอก (4 จับ) และเดี่ยวอื่นๆเรื่อยไปจนถึงเพลงกราวใน ผลปรากฏว่าฝีมือก้ำกึ่งคู่คี่กันตลอดจนกระทั่งถึงเพลงเดี่ยวกราวในก็ยังไม่ปรากฏผลแพ้ชนะเด็ดขาด เพราะฝีมือเด่นกันคนละอย่างดังที่ ครูเพชร จรรย์นาฏ เล่าให้ลูกศิษย์ของท่านฟังว่า "พระยาเสนาะดุริยางค์ไหวจัดจ้ากว่า แต่จางวางศรไหวร่อนวิจิตรโลดโผนกว่า" จึงต้องตัดสินกันที่เพลงเชิดต่อตัวซึ่งวัดความไหวทนเป็นสำคัญ
 
พระยาเสนาะดุริยางค์หรือนายแช่มนั้นตีระนาดไหวแบบเก่า และคงจะใช้ไม้ตีปื้นหนา พันไม้แข็งนัก จึง "ดูดไหล่" คือกินแรง ประกอบกับท่านรักษาความเจิดจ้าชัดเจนของเสียงระนาดไม่ยอมตีระหรือเกลือกให้เสียงเสีย ยิ่งตีไหวจ้าขึ้นมากเท่าใดก็ต้องใช้กำลังแขนไหล่มากขึ้นเท่านั้น จึงย่อมจะล้าง่าย ส่วนจางวางศรคิดวิธีจับไม้ให้ไหวร่อนได้เร็วใช้การเคลื่อนไหวข้อมือช่วยผ่อนกำลังแขน จึงไหวร่อนได้เร็วกว่าแม้เสียงจะไม่จ้าเท่าตีด้วยกำลังแขนแต่ก็ไหวทนกว่า
ผลแพ้ชนะของการต่อตัวเชิดนั้นจะดูที่อาการ "หลุด" หรือ "ตาย" หลุดคือ รับเชิดตัวต่อไปจากคู่ต่อสู้ไม่ทันเพราะไม่สามารถตีให้ไหวเร็วเท่าคู่ต่อสู้ส่งมาได้ส่วน "ตาย" คือรับทัน แต่เมื่อตีด้วยความเร็วเท่าที่รับมาไปพักหนึ่งแล้วไม่สามารถรักษาความไหวเร็วในระดับนี้ต่อไปได้ ต้องหยุดตีหรือเกิดอาการกล้ามเนื้อเกร็งจนมือตายเคลื่อนไหวต่อไปไม่ได้
 
ผลการต่อตัวเชิดครั้งนั้นปรากฏว่าในที่สุดพระเสนาะดุริยางค์เกิดอาการ"มือตาย" จึงถือว่าเป็นฝ่ายแพ้ในเรื่องความไหว แต่ครูจางวางศรเล่าว่าท่านเป็นระนาดชาติเสือแม้จะตีจนมือตายแต่เสียงระนาดยังคงเจิดจ้าสม่ำเสมอ ไม่มีเสียงเสียเลยจนผู้ที่นิยมระนาดเสียงเจิดจ้าแบบเก่าสรุปผลการประชันว่า "นายศรชนะไหว นายแช่มชนะจ้า"
 
คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง (บุตรีคนโตของจางวางศร) เล่าเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ยังมีการประชันเปลี่ยนทางเพลงอีก ซึ่งจางวางศรก็มีไหวพริบเปลี่ยนทางเพลงได้รวดเร็วและไพเราะกว่า เรื่องนี้น่าแปลก เพราะขณะนั้นพระยาเสนาะดุริยางค์อายุ 34 ปีผ่านงานละครดึกดำบรรพ์ซึ่งใช้เพลงทางเปลี่ยนมากมาแล้วอย่างช่ำชอง แต่จางวางศรเพิ่งจะอายุ 19 ปี ด้อยประสบการณ์กว่ามาก แต่ที่ท่านเปลี่ยนทางเพลงได้รวดเร็วไพเราะคงเป็นเพราะท่านมีไหวพริบปฏิภาณความถนัดในเรื่องนี้สูง ดังปรากฏชัดในประวัติชีวิตและผลงานในยุคต่อๆมา
 
ตั้งแต่นั้นมาทางระนาดแบบโลดโผนวิจิตรพิสดารคือการ สะบัด ขยี้ แบบต่างๆของจางวางศรก็ได้รับความนิยมแพร่หลายยิ่งขึ้น ทางระนาดแบบไหวลูกโป้งที่พระยาเสนาะดุริยางค์ถนัดค่อยๆเสื่อมความนิยม คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง ให้ความเห็นว่าเป็นไปตามพัฒนาการของยุคสมัย พระยาเสนาะดุริยางค์ก็มีฝีมือเป็นเยี่ยมสุดยอดในยุคของท่าน เมื่อยุคสมัยเปลี่ยนไปสิ่งใหม่ที่ไม่ไร้คุณค่าทางศิลปะ ย่อมได้รับความนิยมมากกว่าผลการประชันครั้งนั้นเป็น "จุดเปลี่ยน" ครั้งสำคัญในวิชาดนตรีของพระยาเสนาะดุริยางค์ เพราะตั้งแต่นั้นมาท่านมุ่งเอาดีทางปี่ จนเป็นเอตทัคคะสุดยอดในทางนี้
 
สมเด็จวังบูรพาฯได้หาโอกาสให้จางวางศรประชันปี่กับพระยาเสนาะดุริยางค์อีกหลายครั้ง แต่ผลโดยสรุปต้องถือว่าพระยาเสนาะดุริยางค์เหนือกว่าในเชิงปี่ ครูเทียบ คงลายทอง ศิษย์เอกของท่านเป็นคนปี่ที่ "ยอดเยี่ยม" จริงๆ และทางปี่ของพระยาเสนาะดุริยางค์ก็แพร่หลายในวงการดนตรีไทยเช่นเดียวกับที่ทางระนาดเอกของหลวงประดิษฐไพเราะฯแพร่หลายมากที่สุด ต่างฝ่ายต่างมีอัจฉริยภาพเด่นสุดยอดกันคนละอย่าง นอกจากนั้น 2 ท่านยังแตกฉานในการบรรเลงเครื่องดนตรีอื่นๆด้วย ทั้ง ฆ้องใหญ่ ฆ้องเล็ก ระนาดทุ้ม ตลอดจน เครื่องสาย มโหรี สม ดังที่ ครูประสิทธิ์ ถาวร กล่าวว่า "ท่านเหล่านี้เทวดาส่ง มาเพื่อพัฒนาดนตรีไทย เราควรยกย่องเทิดทูนท่านมาก กว่าจะเอาความสามารถของท่านมาเปรียบเทียบกัน"
 
หลวงประดิษฐไพเราะ (จางวางศร) นั้น เลื่องลือมากในเรื่องการตีระนาดเอกไหว จางวางทั่ว พาทยโกศล เคยเล่าให้ศิษย์ฟังว่าเมื่อท่านเป็นคนฆ้องเล็กในวงปี่พาทย์ฤๅษีนั้นต้อง "ฝึกไล่" หนักมาก เพราะเกรงจะตีไหวไม่ทันระนาดเอก ครูขำ กลีบชื่น ซึ่งเป็นคนเครื่องหนังเคยตีกลองทัดรุกหลวงประดิษฐไพเราะฯในตอนตีระนาดเพลงเชิดโหมโรง แต่หลวงประดิษฐไพเราะฯเร่งความเร็วไหวจนครูขำกลองตีตามไม่ทัน ครูถวิล อรรถ อรรถกฤษณ์ เล่า ว่า เมื่อตอนที่ท่านเร่งฝึกซ้อม ครูเผือด นักระนาด (ศิษย์เอกคน หนึ่งของท่าน) ท่านตีเดี่ยวกราวในคู่ไปกับครูเผือด ครูเผือดตีไหวจนสุดตัวแล้ว ครูหลวงประดิษฐไพเราะฯยังเร่งไหวมากขึ้นอีกได้อย่างสบายทั้งๆที่ตอนนั้นท่านอายุเกือบ 50 ปีแล้ว
 
หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เป็นผู้พัฒนาวิธีตีระนาดให้มีเทคนิคและชั้นเชิงมากยิ่งกว่าครูยุคก่อน และยุคหลังท่าน เมื่อตอนที่เตรียมตัวประชันกับพระยาเสนาะดุริยางค์ท่านใช้เทคนิคการตีสะบัดแบบต่างๆ ซึ่งช่วงแรกๆครูผู้ใหญ่ในยุคนั้นไม่ยอมรับ บางคนถึงกับกล่าวว่า "นายศรเธอตีระนาดแบบนี้จะไปสู้กับนายแช่มเขาได้อย่างไร" แต่ในที่สุดวงการปี่พาทย์ก็ยอมรับว่าการตีสะบัดแบบต่างๆอย่างพอเหมาะพอดี เช่น สะบัด 2 เสียง สะบัด 3 เสียง นั้น ช่วยเพิ่มรสชาติให้เพลงมากทีเดียว
 
แต่เดิมนั้นระนาดเอกตีทำนองเก็บเป็นพื้น คนที่ไม่เป็นดนตรีฟังไม่ค่อยทันจะรู้สึกว่าเร็วเหมือนกันทุกเพลง ต่อมาจึงเริ่มมีเพลงทางกรอเช่น เพลงเขมรไทรโยค ของสมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ หลวงประดิษฐไพเราะฯได้พัฒนาการแต่งเพลงทางกรอล้วนขึ้นหลายเพลงเช่น เขมรเลียบพระนคร เขมรพวง ซึ่งล้วนอ่อนหวานไพเราะ ฟังง่าย คนเป็นดนตรีก็ฟังได้ คนไม่เป็นดนตรีก็ชอบฟัง การตีกรอจึงเป็นเทคนิคประการหนึ่งที่ท่านนำมาใช้ในการบรรเลงอย่างจริงจังตลอดทั้งเพลงเป็นคนแรก
 
สิ่งที่ท่านพัฒนามากอีกอย่างหนึ่งคือ การจับไม้ระนาด เพื่อให้ตีได้เสียงต่างกัน เดิมการตีระนาดจับไม้แบบปากนกแก้วอย่างเดียว ท่านได้พลิกแพลงจับไม้แบบปากกาบ้าง ปากไก่บ้าง ครูประสิทธิ์ ถาวร กล่าวว่า "ความที่ครูคิดวิธีจับแบบปากกาจึงไม่มีใครตีระนาดรัวได้ดีเท่า" และได้เล่าถึงความเชี่ยวชาญในเชิงระนาดซึ่งท่านได้ถ่ายทอดแก่ศิษย์อย่างไม่ปิดบังอีกว่า
"ท่านครูได้เมตตาถ่ายทอดวิธีการตีระนาดให้ผมมากมายหลายรูปแบบไม่ว่าจะเรื่อง แนวทีท่า ขึ้นลง สวมส่ง สอดแทรก ทอดถอน ขัดต่อ หลอกล้อ ล้วงลัก เหลื่อมล้ำ โฉบเฉี่ยว ที่ท่านเน้นเป็นพิเศษคือวิธีใช้เสียงและกลอนให้เกิดอารมณ์ต่างๆอันเป็นหัวใจสำคัญของ "ดนตรีที่ไพเราะ" เช่น กลอน (ทาง) สำนวนนี้ต้องใช้ เสียงกลม เสียงกลมหมายถึง ความเป็นผู้บริสุทธิ์ผุดผ่อง อารมณ์สุขุมรอบคอบ ไม่ล่อกแล่กหลุกหลิก มีความภาคภูมิสมเป็นผู้นำที่ดี เสียงแก้ว แก้วหมายถึงใสดุจแสงแก้ว แวววาวตระการตาสว่างไสวเมื่อได้ยิน เสียงนี้ใช้เฉพาะเจาะจงในการบรรเลงระนาดมโหรี ท่านว่านักระนาดใดตีเสียงแก้วไม่ได้ไม่ใช่นักระนาดมโหรี เสียงร่อนผิวน้ำ ร่อนผิวน้ำหมายถึงความเริงร่าระเริงใจ ปราดเปรียวตามประสาวัยรุ่น เสียงร่อนริดไม้ ร่อนริดไม้หมายถึงชั้นเชิงเต็มไปด้วยเล่ห์เหลี่ยมเขี้ยวเล็บประดุจเสือลายพาดกลอน เสียงร่อนใบไม้ไหวหมายถึงอารมณ์อันอ่อนไหวระคนไปด้วยความอ่อนหวานอันชวนให้คลั่งใคล้ไหลหลง เหมือนหนุ่มสาวที่กำลังมีอารมณ์รักปล่อยอารมณ์ไปกับแสงจันทร์ ฉะนั้น เสียงร่อนน้ำลึกหมายถึงความเป็นผู้มีอำนาจเป็นเจ้าแห่งจอมพลัง เป็นที่หวาดเกรงของคู่ต่อสู้ ฯลฯ เสียงพิเศษที่ผมนำมากล่าวในที่นี้ นักระนาดต้องผ่านการฝึกหัดตีฉากเสียก่อนจึงจะสามารถตีประดิษฐ์เสียงเหล่านี้ได้ถูกต้อง"
 
ครูประสิทธิ์ ถาวร ยังได้แจกแจงเรื่องเสียงระนาดแบบต่างๆที่ได้รับถ่ายทอดมาจากครูหลวงประดิษฐไพเราะฯไว้อีกแง่มุมหนึ่งว่า "ดนตรีก็มีภาษาโดยเฉพาะดนตรีไทย" เพียงระนาดเอกเครื่องมือเดียวก็สามารถประดิษฐ์เสียงสื่อความหมายได้ไม่น้อยกว่า 20 เสียง แต่ละเสียงให้ความหมายและความรู้สึกที่แตกต่างกันเอาทิช่น เสียงกลม - เสียงแก้ว - กรอ - กริก - กรุบ - กาไหล่ - กลอกกลิ้ง, กลิ้งเกลือก - ปริบ - โปร่ง - โปรย - โรย - รัว - ร่อน - ร่อนริดไม้ , ร่อนใบไม้ไหว - ร่อนผิวน้ำ - ร่อนน้ำลึก - โต - โตผิวน้ำ - โตน้ำลึก , โขยก - ขยอก - สะบัด เป็นต้น
 
จึงกล่าวโดยสรุปได้ว่าหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เป็นผู้รวบรวมสัมฤทธิ์ภาพเรื่องระนาดเอกจากยุคก่อนมาไว้มากที่สุด ทั้งยังคัดสรรค์และสร้างเสริมวิธีตีระนาดเอกให้หลากหลายไพเราะยิ่งขึ้น จนได้รับยกย่องว่าเป็นนักระนาดเอก และครูระนาดเอกที่ยอดเยี่ยมที่สุดท่านหนึ่งของเมืองไทย
 
หลวงประดิษฐไพเราะฯเป็นบุตรคนเล็กของ ครูสิน ศิลปบรรเลง และ นางยิ้ม เกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2424 ที่บ้านตำบลคลองดาวดึงส์ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม มีวิถีชีวิตและผลงานในเรื่องของดนตรีไทยสรุปได้ดังนี้
 
ปี พ.ศ. 2442 ได้เข้าเป็นจางวางมหาดเล็กในสมเด็จเจ้าฟ้าภานุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
ปี พ.ศ. 2468 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวฯโปรดเกล้าฯให้เข้าไปบรรเลงปี่พาทย์ร่วมกับการแสดงโขนบรรดาศักดิ์ ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นหลวงประดิษฐไพเราะ
ปี พ.ศ. 2469 เข้ารับราชการในกรมปี่พาทย์และโขนหลวง โดยสังกัดสำนักพระราชวัง
ปี พ.ศ. 2473 ดำรงตำแหน่งปลัดกรมปี่พาทย์และโขนหลวงต่อมาโอนมาอยู่กรมศิลปากร ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2497 ศิริรวมอายุได้ 72 ปี 7 เดือน 2 วัน]<ref>[http://x.thaikids.com/phpBB2/viewtopic.php?t=5537 "ทำเนียบศิลปิน ท้องถิ่นอัมพวา"]</ref>
 
== ความสามารถทางดนตรี ==
ศร สามารถตีฆ้องวงใหญ่ได้เองตั้งแต่อายุ 5 ขวบ เริ่มเรียนปี่พาทย์เมื่ออายุ 11 ปี ตีระนาดได้รวดเร็ว มาตั้งแต่เด็ก โดยมีบิดาเป็นผู้ถ่ายทอดวิชาปี่พาทย์ให้จนกระทั่งมีความสามารถในการประชันวงถึงขั้นมีชื่อเสียงไปทั่วลุ่มแม่น้ำแม่กลอง จากการได้ออกแสดงฝีมือนี้เองทำให้ชื่อเสียงของนายศร เป็นที่เลื่องลือในหมู่นักดนตรีมากขึ้น โดยเฉพาะในงานใหญ่ครั้งแรก คือ "งานโกนจุกเจ้าจอมเอิบ" และ เจ้าจอมอบ ธิดาเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ [[จังหวัดปัตตานีเพชรบุรี]]
 
ในปี พ.ศ. 2443 ขณะเมื่ออายุ 19 ปี ท่านได้แสดงฝีมือเดี่ยวระนาดเอกถวาย[[สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช]] เป็นที่ต้องพระทัยมาก จึงทรงรับตัวเข้ามาไว้ที่[[วังบูรพาภิรมย์]] ทำหน้าที่คนระนาดจัตวาระนาดเอกประจำ ต่อมาวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นายศร ศิลปบรรเลง ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น''หลวงประดิษฐ มนูธรรมดิษฐไพเราะ'' มีราชการในกรมมหรสพ ถือศักดินา 400<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2468/D/1033.PDF พระราชทานบรรดาศักดิ์], เล่ม 42, ตอน 0 ง, 5 กรกฎาคม 2468, หน้า 1033</ref> เข้ารับพระราชทานสัญญาบัตรเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ณ พระที่นั่งบรมพิมาน<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2468/D/1151_1.PDF พระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์], เล่ม 42, ตอน 0 ง, 19 กรกฎาคม 2468, หน้า 1151-2</ref> แล้วได้รับพระราชทานยศเป็น ''หุ้มแพร'' ในวันที่ 13 กรกฎาคม ศกเดียวกัน<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2468/D/1152.PDF พระราชทานยศ], เล่ม 42, ตอน 0 ง, 19 กรกฎาคม 2468, หน้า 1152</ref> ทั้งนี้ท่านไม่เคยรับราชการอยู่ในกรมกองใดมาก่อน แต่เพราะฝีมือและความสามารถของท่านเป็นที่ต้องพระหฤทัยนั่นเอง
 
ครั้นถึงปี พ.ศ. 2469 ท่านได้เข้ารับราชการในกรมปากมากย์ปี่พาทย์และโขนพีระพลหลวง [[กระทรวงวัง]] ท่านได้มีส่วนถวายการสอนโดนตีดนตรีให้กับ[[พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว]] และ[[สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี]] รวมทั้งมีส่วนช่วยงานพระราชนิพนธ์เพลงสามเพลง คือ เพลงราตรีประดับดาวเถา เพลงเขมรละออองค์เถา และ เพลงโหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง สามชั้น
 
หลวงประดิษฐไพเราะถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ [[8 มีนาคม]] [[พ.ศ. 2497]] รวมอายุ 73 ปี
เส้น 99 ⟶ 41:
 
== ครอบครัว ==
รองเสวกเอก หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) สมรสครั้งแรกกับนางโชติ ศิลปบรรเลงประดิษฐ์ไพเราะ (สกุลเดิม: หุราพันธ์) ธิดาของนายพันโท พระประมวญประมาณพล มีบุตรธิดาด้วยกัน 7 คน ต่อมาเมื่อนางโชติถึงแก่กรรมแล้วจึงได้สมรสครั้งที่ 2 กับนางฟู ศิลปบรรเลง (สกุลเดิม: หุราพันธ์) ซึ่งเป็นน้องสาวของนางโชติ มีบุตรธิดาด้วยกัน 5 คน<ref>[https://sites.google.com/site/pipesuyeon/khit-kwi-thiy/khi-tk-si-khxng-thiy คีตกวีไทย หลวงประดิษฐ์ไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)]</ref> รวมจำนวนบุตรธิดาทั้งหมด 12 คน ซึ่งได้แก่<ref name="หนังสืองานพระราชทานเพลิงศพ">[https://archive.org/details/1024980000unse หนังสืองานพระราชทานเพลิงศพ หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) 10 มีนาคม 2498 ณ เมรุวัดเทพศิรินทราวาส]</ref>
 
# เด็กหญิงสร้อยไข่มุกด์ ศิลปบรรเลง - ถึงแก่กรรมตั้งแต่ยังเด็ก
# เด็กหญิงอาทิตย์ศุกร์ดารา ศิลปบรรเลง - ถึงแก่กรรมตั้งแต่ยังเด็ก
# [[ชิ้น ศิลปบรรเลง|นางลูกชิ้นชิ้น ไชยพรรค (คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง)]]
# [[นางมหาเทพกษัตรสมุห (บรรเลง สาคริก)]]
# เด็กชายศิลปสราวุธ ศิลปบรรเลง - ถึงแก่กรรมตั้งแต่ยังเด็ก
เส้น 112 ⟶ 54:
# นายขวัญชัย ศิลปบรรเลง
# นาวาเอกสมชัย ศิลปบรรเลง
# นายสนั่น ลั่นลือศิลปบรรเลง
 
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
เส้น 121 ⟶ 63:
 
== ภาพยนตร์ "โหมโรง" และ ละครโทรทัศน์ "โหมโรง" ==
ชีวประวัติของท่านเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างภาพยนตร์เรื่อง'''[[โหมโรง (ภาพยนตร์)|โหมโรง]]''' ออกฉายในปี [[พ.ศ. 2547]] ซึ่งได้รับรางวัลมากมายในประเทศ และยังได้รับเลือกในฐานะ Official Selection จากประเทศไทย ในการเข้าชิงสาขาภาพยนตร์[[ภาษาต่างประเทศ]]ยอดเยี่ยมในการประกาศรางวัลอะแคเดมีอีกด้วย และได้รับการดัดแปลงซ้ำเป็น[[โหมโรง (ละครโทรทัศน์)|ละครโทรทัศน์]] ออกฉายทาง[[สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส]] เมื่อ [[พ.ศ. 2555]]
 
== งาน 130 ปีชาตกาลหลวงประดิษฐไพเราะ ==
เส้น 136 ⟶ 78:
[[หมวดหมู่:นักดนตรีไทย]]
[[หมวดหมู่:สมาชิกเหรียญ ร.ด.ม.(ศ)]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากจังหวัดสมุทรสงคราม‎‎]]
[[หมวดหมู่:พีระพลหำดำกว่าพี่โต