ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มะพร้าว"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 394:
== สถานการณ์มะพร้าวในตลาดโลก ==
สถานการณ์มะพร้าวในแหล่งผลิตอย่างประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม พม่า และไทย มีแนวโน้มผลผลิตลดลง เนื่องจากหันไปปลูกปาล์มมากขึ้น แต่ความต้องการใช้มะพร้าวกลับเพิ่มขึ้น ประกอบกับภาวะภัยแล้ง และพื้นที่ปลูกสำคัญได้รับความเสียหายจากแมลง รวมทั้งประเทศผู้ส่งออกไม่ผลักดันการส่งออกผลมะพร้าวมายังประเทศไทย ส่งผลให้ราคามะพร้าวผลและกะทิในไทยสูงขึ้น เพื่อสำรองผลผลิตไว้ทำเป็นผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว เช่น นมมะพร้าว เพื่อส่งออกไปยังประเทศจีนที่มีความต้องการสูงในขณะนี้ จึงคาดการณ์ผลผลิตมะพร้าวในปีนี้ จะลดลงจากปีก่อนร้อยละ 60 – 70
สำหรับการแก้ไขในเบื้องต้น ได้เร่งรัดให้กรมการค้าต่างประเทศ ออกระเบียบการนำเข้ามะพร้าว ภายใต้ข้อตกลงอาฟต้าโดยไม่เสียภาษี เพราะประเทศอินโดนีเซียยังพอมีผลผลิตเพราะไม่ได้ประสบภัยแล้ง โดยคาดว่า จะสามารถออกประกาศและเร่งนำเข้า ส่งผลให้สถานการณ์ราคามะพร้าวในประเทศน่าจะคลี่คลาย ส่วนราคามะพร้าวผลใหญ่ขณะนี้ ราคาปรับสูงขึ้นเป็นผลละ 24 บาท สูงขึ้นประมาณผลละ 14 บาท จากเดิมที่ราคาผลละ 10.60 บาท ส่งผลให้ราคากะทิปรับเพิ่มขึ้นเป็น 60 บาทต่อกิโลกรักิโลกรัม
 
จากผลสำรวจพื้นที่ปลูกมะพร้าวของประเทศพบว่า พื้นที่ปลูกและผลผลิตมะพร้าวมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากพื้นที่บางส่วนถูกทดแทนด้วยปาล์มน้ำมัน โดยปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกมะพร้าวอยู่ประมาณ 1.610 ล้านไร่ จาก 2.549 ล้านไร่ในปี 2549 ส่งผลให้พื้นที่เก็บเกี่ยวลดลงเช่นกัน แต่ในทางกลับกันเมื่อพิจารณาถึงผลผลิตพบว่า ผลผลิตมะพร้าวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เนื่องจากผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก 606 กิโลกรัม/ไร่ ในปี 2549 เป็น 1,077 กิโลกรัม/ไร่ ในปี 2550 สำหรับสาเหตุที่ทำให้พื้นที่ปลูกมะพร้าวลดลง เป็นผลมากจากพื้นที่ปลูกมะพร้าวส่วนใหญ่เป็นมะพร้าวอายุมากจึงทำให้ประสิทธิภาพต่อพื้นที่ต่ำ และต้องปลูกทดแทนด้วยพันธุ์ดี รวมทั้งเกษตรกรมีความต้องการมะพร้าวพันธุ์ดีปีละ 2 แสนหน่อ แต่กรมวิชาการเกษตรสามารถผลิตได้ 41,495 หน่อ เนื่องจากขาดแคลนงบประมาณในการขยายสวนแม่พันธุ์และบำรุงรักษาพ่อ-แม่พันธุ์มะพร้าว ขณะเดียวกัน เกษตรกรต้องประสบปัญหาแมลงศัตรูพืชระบาด เช่น แมลงดำหนาม และมีมะพร้าวราคาถูกที่นำเข้ามาทดแทนมะพร้าวผลภายในประเทศ