ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การป่าไม้"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Manop (คุย | ส่วนร่วม)
{{ตรวจลิขสิทธิ์}}
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
ทดลองแจ้งละเมิดลิขสิทธิ์กึ่งอัตโนมัติโดยบอตคุง
บรรทัด 1:
{{ละเมิดลิขสิทธิ์ |url = http://meetthefuggers.blogspot.com/2007_06_17_archive.html http://meetthefuggers.blogspot.com/2007/06/forestry-5-royal-forest-department.html |วันที่ = 5/11/2550 |หมายเหตุ = ทดลองแจ้งละเมิดลิขสิทธิ์โดย[[ผู้ใช้:BotKung|บอตคุง]] พบเจอ 4 ใน 35 จุดที่ตรวจสอบ คุณอาจต้องการตรวจสอบเพิ่มเติม}}
[[ภาพ:Tropical forest.JPG|thumb|300px|สภาพป่าดิบชื้น]]
 
'''การป่าไม้''' หมายถึง ศาสตร์ ศิลป์ และการปฏิบัติ ว่าด้วยการศึกษาและจัดการ[[ป่าไม้]] พื้นที่เพาะปลูก และทรัพยากรธรรมชาติที่เกี่ยวข้อง โดยมีสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องได้แก่ [[การจัดการทรัพยากรป่าไม้]] [[วิทยาศาสตร์ชีวภาพป่าไม้]] เช่น [[ชีววิทยาป่าไม้]] [[วนวัฒนวิทยา]] [[วิทยาศาสตร์สัตว์ป่าและทุ่งหญ้า]] [[วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางไม้]] หรือ[[วนผลิตภัณฑ์]]เป็นต้น
 
นิเวศวิทยาป่าไม้ถูกมองว่าเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของ[[ชีวภูมิ]] (biosphere)
และการป่าไม้ได้กลายมาเป็นสาขาที่ขาดไม่ได้ในวิทยาศาสตร์ ประยุกต์ศิลป์ และเทคโนโลยี
 
== การป่าไม้ในประเทศไทย ==
การป่าไม้ในประเทศไทย เริ่มตั้งแต่[[สมัยรัชกาลที่ 5]] โดยทรงสถาปนา[[กรมป่าไม้]] เมื่อ 18 กันยายน พ.ศ. 2439<ref>กรมป่าไม้, [http://www.forest.go.th/rfd/history/history_t.htm ประวัติกรมป่าไม้], เรียกดู 24 สิงหาคม 2550</ref> โดยจ้างผู้เชี่ยวชาญด้านการป่าไม้[[ชาวอังกฤษ]]ชื่อ[[เอ็ช. สเลด|นาย เอ็ช. สเลด]] เป็นอธิบดีคนแรก
 
การศึกษาด้านวิชาการป่าไม้หรือ[[วนศาสตร์]]เริ่มเมื่อปี [[พ.ศ. 2479]] โดยการจัดตั้ง[[โรงเรียนป่าไม้จังหวัดแพร่]] ต่อมาเมื่อได้มีการสถาปนา[[มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์]]เมื่อ [[พ.ศ. 2486]] จึงได้ยกฐานะเป็นวิทยาลัยวนศาสตร์และเปลี่ยนมาเป็น[[คณะวนศาสตร์]]ในปัจจุบัน
 
 
{{ตรวจลิขสิทธิ์}}
== ประวัติความเป็นมาของกรมป่าไม้ ==
[[1. ป่าไม้เพื่อความมั่นคง พ.ศ. ๒๔๓๙ – ๒๔๖๘]]
ป่าไม้ เป็นทรัพยากรสำคัญคู่แผ่นดินไทยมาเป็นเวลานาน ซึ่งให้ประโยชน์นานับประการต่อการดำรงชีวิตของประชาชนชาวไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยในอดีต ป่าไม้เป็นสินค้าที่สร้างความมั่งคั่งให้แก่อาณาจักรสยามอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ต้นสมัยรัตนโกสินทร์ที่มีการติดต่อค้าขายกับชาติตะวันตก ไม้และของป่าอื่นๆ จัดเป็นสินค้าส่งออกที่สร้างรายได้มหาศาล ซึ่งนำมาสู่การคุกคามของชาติตะวันตก ที่ต้องการปกป้องผลประโยชน์ด้านการค้าของตน จนนำไปสู่การลงนามในสนธิสัญญาเบาริงกับอังกฤษในต้นรัชสมัยรัชกาลที่ ๔ ซึ่งสยามต้องเสียเปรียบหลายประการ โดยเฉพาะการแสวงหาผลประโยชน์จากป่าไม้ของชาติตะวันตก เนื่องจาก ในอดีตการเดินทางโดยเรือ ถือว่าเป็นการคมนาคมที่มีความสำคัญยิ่ง ไม้สักซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการต่อและซ่อมแซมเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ให้มีความแข็งแกร่ง จึงมีมูลค่าสูงและเป็นทรัพยากรที่มีค่า
 
[[1.1 กรรมสิทธิ์เหนือป่าไม้ในหัวเมืองล้านนา]]
การทำป่าไม้ของพ่อค้าชาวอังกฤษ ช่วงแรกดำเนินการผ่านคนเอเชีย โดยขอเช่าพื้นที่ทำป่าไม้จากเจ้าครองนครแลกเปลี่ยนกับ “ค่าตอไม้” หรือ การตัดไม้ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ซึ่งในข้อตกลงนั้นยังไม่ได้กฎเกณฑ์ใดๆ จึงนำมาสู่กรณีพิพาทเรื่องสิทธิการทำไม้ทับซ้อน ซึ่งมีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงต้นรัชกาลที่ ๕ มีการร้องเรียนถึง ๔๒ คดี
 
นอกจากนี้ จากสนธิสัญญาเบาริง ส่งผลให้พลเมืองและคนในบังคับของชาติตะวันตก ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขึ้นศาลไทย ซึ่งทำให้ยากต่อการปกครองและโยงใยไปถึงความมั่นคงบริเวณแนวชายแดน โดยอังกฤษได้แสดงความต้องการเข้ายึดดินแดนทางภาคเหนือของสยาม ราชสำนักสยามจึงทำข้อตกลงกับอังกฤษในปี พ.ศ. ๒๔๑๖ หรือ สนธิสัญญาเชียงใหม่ และสนธิสัญญาเชียงใหม่ฉบับที่ ๒ ในปีพ.ศ. ๒๔๒๗ ซึ่งว่าด้วยเรื่องการทำสัญญาอนุญาตอย่างรัดกุมตามหลักสากลนิยม การค้าขายสินค้าสำคัญเพื่อเลี่ยงข้อพิพาทในการขอเช่าทำไม้ และความชัดเจนของสิทธิการให้อนุญาตทำไม้เป็นของราชสำนักสยาม ซึ่งนับเป็นก้าวแรกของการจัดการระบบการทำป่าไม้สักในสยามประเทศ
 
[[1.2 กรมป่าไม้ – ผู้จัดการผลประโยชน์ด้านป่าไม้]]
“...การป่าไม้นี้ ถ้าเราไม่จัดการให้เรียบร้อย เห็นว่าจะเป็นช่องทางให้เกิดเหตุกับการต่างประเทศ คือ อังกฤษเป็นต้น ได้ภายหน้าเพราะทุกวันนี้พวกอังกฤษ ก็เข้ามาทำการป่าไม้อยู่เป็นอันมาก ถ้าป่าไม้สูญเสียไป คนเหล่านั้น ก็ย่อมจะฉิบหายด้วย เคาเวอนเมนต์อังกฤษจะหาเหตุว่า เพราะเราไม่รู้จักครอบครองบ้านเมืองของตน... ที่มีเหตุในเมืองพม่า ก็เป็นเพราะที่พม่าไม่จัดการบ้านเมืองให้เรียบร้อย เห็นเป็นตัวอย่างอยู่ ...เป็นของจำเป็นที่จะต้องรีบจัดการแก้ไขป้องกันรักษาอย่าให้ทันการเสื่อมไปจนเหลือที่จะเยียวยาได้...”
พระราชสารพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ถึงพระเจ้านครเชียงใหม่เรื่องการจัดการป่าไม้
๙ เมษายน ร.ศ. ๑๑๖
 
หลังจากทำสนธิสัญญาเชียงใหม่ทั้งสองฉบับแล้ว ยังมีปัญหาเรื่องการขยายการทำไม้ไปยังล้านนาตะวันออก อีกทั้งยังเกิดปัญหาสินบนและเงินกินเปล่า ขณะเดียวกัน ใน พ.ศ. ๒๔๓๕ อังกฤษก็เข้าครอบครองดินแดนหัวเมืองชายแดนฟากตะวันออกของแม่น้ำสาละวินจำนวน ๑๓ หัวเมือง ซึ่งเป็นดินแดนที่อุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้ โดยอ้างสิทธิว่าเคยเป็นดินแดนของพม่ามาก่อน และมีปัญหาจากโจรผู้ร้ายอันเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของคนในบังคับอังกฤษ ส่งผลให้สยามต้องปรับปรุงการปกครองดินแดนล้านนาประเทศราชให้รัดกุมมากขึ้น
สถานการณ์การเมืองในขณะนั้น ย่อมทำให้เกิดข้อพิพาทกันเรื่องอาณาเขตชายแดนได้เสมอ รัชกาลที่ ๕ ทรงตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา จึงทรงยืมตัว มิสเตอร์ เอช สเลด (Mr. H Slade) ชาวอังกฤษที่รับราชการในกรมป่าไม้ของอังกฤษในอินเดีย ซึ่งถูกเรียกตัวเข้ามาจัดการเรื่องป่าไม้ในพม่า ซึ่งมีความรู้เรื่องกิจการป่าไม้เป็นอย่างดี เพื่อมาบุกเบิกการจัดการป่าไม้ในสยาม หลังจากสำรวจเชียงใหม่ มิสเตอร์ เอช สเลด ได้เสนอให้รัฐบาลจัดตั้งหน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลกิจการป่าไม้ขึ้นเอง แต่รัชกาลที่ ๕ ทรงเกรงว่าจะเกิดปัญหาเพราะต้องสลายอำนาจของเจ้าครองนครล้านนา ซึ่งนับเป็นความอ่อนไหวทางการเมืองภายในอย่างยิ่ง
 
รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกรมป่าไม้ สังกัดกระทรวงมหาดไทย ขึ้นในวันที่ ๑๘ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๙ (ร.ศ. ๑๑๕) เพื่อคุ้มครองและส่งเสริมความสมบูรณ์ของป่าไม้ จัดวางโครงการทำป่าไม้และอำนวยประโยชน์ด้านเศรษฐกิจให้แก่ประชาชนมากและยืนนานที่สุด ซึ่งกรมป่าไม้นั้น ยังเป็นเสมือนเครื่องมือระงับกรณีพิพาทเกี่ยวกับการป่าไม้ อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือในการสร้างความมั่นคงให้กับประเทศ ทั้งทางการเมือง ได้แก่ ความปลอดภัยด้านอาณาเขตแดน ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การดึงผลประโยชน์จากการทำป่าไม้เข้าสู่ส่วนกลาง และความมั่นคงทางสังคม ได้แก่ ความสงบปลอดภัยจากโจรผู้ร้าย ด้วยมีเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางขึ้นไปควบคุมดูแล
เมื่อสถาปนากรมป่าไม้แล้ว รัชกาลที่ ๕ ทรงแต่งตั้ง มิสเตอร์ เอช. สเลด ดำรงตำแหน่งเจ้ากรมป่าไม้คนแรก โดยในช่วงปีแรก กรมป่าไม้ทำหน้าที่เจรจาขอสิทธิการบริหารและผลประโยชน์จากป่าไม้มาเป็นของรัฐบาล เป็นการสลายอำนาจของเจ้าครองนครล้านนา ซึ่งรัชกาลที่ ๕ ทรงใช้ความรู้เท่าทันชาติตะวันตก ทำความเข้าใจกับเจ้าครองนครถึงภัยจากต่างประเทศที่แฝงมากับการทำป่าไม้ในสยาม ว่าหากไม่ดูแลป่าไม้ อาจทำให้ชาติตะวันตกอ้างได้ว่าสยามไม่มีความรู้ความสามารถพอที่จะบริหารทรัพยากรเหล่านี้ ซึ่งทำให้คนในบังคับที่เข้ามาลงทุนต้องพบกับความยากลำบาก ดังนั้นจึงต้องเข้ามาจัดการควบคุมดูแลด้วยตนเอง อันเป็นข้ออ้างที่อังกฤษเคยใช้ในการยึดครองพม่า ซึ่งหากเจ้าครองนครไม่เสียสิทธิในตอนนี้ก็ต้องสูญเสียในภายหลังและกับชาติตะวันตกด้วย
 
[[2. ป่ า ไ ม้ ช่ ว ย ช า ติ พ.ศ. ๒๔๖๙-๒๔๙๙]]
เนื่องจากเกิดอุทกภัยใน พ.ศ. ๒๔๖๐ และภาวะฝนแล้งใน พ.ศ. ๒๔๖๒ อีกทั้งภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก จึงส่งผลกระทบให้เศรษฐกิจในประเทศหยุดชะงักลง รวมทั้งกิจการป่าไม้ที่ต้องปรับบทบาทเพื่อการพาณิชย์ มาสู่การกอบกู้เศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งในวัย ๓๐ ปีนี้ กรมป่าไม้มีความแข็งแกร่ง และมีศักยภาพเพียงพอที่จะแบ่งเบาภาระของประเทศชาติ โดยการสนองนโยบายของรัฐบาลในการหารายได้เข้าประเทศจากการให้สัมปทานป่าไม้ และการส่งออกไม้เป็นจำนวนมากในแต่ละปี
 
[[2.1 ป่าไม้แก้ปัญหาเศรษฐกิจ]]
เนื่องจากต้องการหารายได้มาพยุงเศรษฐกิจของประเทศ กรมป่าไม้จึงดำเนินกิจการป่าไม้ต่างๆ เช่น การให้สัมปทานป่าไม้ การเปิดป่าใหม่โดยรัฐดำเนินการทำไม้เอง เป็นต้น
 
[[2.2 ป่าไม้ระดมเงินตราเข้าประเทศหลัง พ.ศ. ๒๔๗๕]]
ใน พ.ศ. ๒๔๗๕ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง งานของกรมป่าไม้ยังคงดำเนินการตามการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจคือ การมุ่งสู่การแปรรูปผลผลิตการเกษตรเป็นสินค้าอุตสาหกรรม เช่น การจัดตั้งโรงงานไม้อัด ไม้ขีด พาราวูด เส้นใยสังเคราะห์ โรงงานกระดาษและเยื่อกระดาษ ทำให้จากปลายทศวรรษ พ.ศ.๒๔๗๐ เป็นต้นมา ธุรกิจค้าไม้ของไทยขยายตัวอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังมีการปรับปรุงส่วนราชการในกรมป่าไม้ โดยทำการยกเลิกส่วนราชการเดิมมาตั้งส่วนราชการใหม่คือ สาขา ใน พ.ศ. ๒๔๗๕ ทำให้กิจการป่าไม้ได้ขยายออกไปทั่วราชอาณาจักรเป็นครั้งแรก อีกทั้งยังได้มีการขยายกิจการป่าไม้ ทำให้ประเทศมีรายได้จากกิจการป่าไม้เพิ่มขึ้น
 
นอกจากนั้น รัฐบาลยังมีนโยบายทำป่าไม้สักเองถึงร้อยละ ๕๐ ของป่าสัมปทานทั้งหมด การค้าไม้จึงเป็นรายได้สำคัญของประเทศรองจากข้าว ในขณะเดียวกัน รัฐบาลได้ขยายกิจการ ครอบคลุมถึงกิจการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับไม้ด้วย ซึ่งสามารถทำรายได้เข้าสู่ประเทศจำนวนมาก อีกทั้งยังมีการริเริ่มกิจการเช่าโรงเลื่อยเพื่อทำการแปรรูปไม้เอง ซึ่งภายหลังได้นำไปสู่กิจการอุตสาหกรรมป่าไม้อย่างครบวงจร ซึ่งผลประโยชน์จากป่าไม้ที่มีมูลค่ามหาศาล
 
[[2.3 ป่าไม้ตอบสนองระบบเศรษฐกิจแบบชาตินิยม]]
ใน พ.ศ. ๒๔๗๕ ต่างชาติเข้ามามีบทบาทต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก รวมถึงสัมปทานป่าไม้ที่ส่วนใหญ่อยู่ตกอยู่กับบริษัทข้ามชาติอังกฤษ รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม จึงมีนโยบายเศรษฐกิจแบบชาตินิยม โดยทำการเปลี่ยนถ่ายกิจการของต่างประเทศมาอยู่ภายใต้การดำเนินการของรัฐบาล พร้อมกับพัฒนาการของอุดมการณ์ชาตินิยมในประเทศไทย ทั้งด้านการเมืองและเศรษฐกิจ
 
นอกจากนั้น กรมป่าไม้ยังมีการเสนอให้รัฐบาลจัดตั้ง บริษัท ไม้ไทย จำกัด รับช่วงดำเนินการในป่าไม้ที่ยึดสัมปทานมาจากการทำสงครามโลกครั้งที่ ๒ อีกทั้งการหารายได้เพิ่มด้วยการเสนอขอเรียกเก็บเงินค่าบำรุงป่าจากผู้รับอนุญาตทำไม้และเก็บหาของป่า เนื่องจากอยู่ในภาวะสงคราม และเพื่อนำมาใช้จ่ายในการปลูกบำรุงป่าทดแทนกับจำนวนไม้ที่ถูกตัดฟันลงไปใช้สอยทั้งด้านการทหาร และเศรษฐกิจภายในประเทศ
 
เมื่อสงครามโลกครั้งที่ ๒ ยุติลง ใน พ.ศ. ๒๔๘๙ รัฐบาลอังกฤษไม่ยอมรับการประกาศสงครามของประเทศไทยว่าเป็นโมฆะ และเรียกร้องประโยชน์ที่สูญเสียไประหว่างสงคราม กรมป่าไม้จึงต้องยอมออกสัมปทานให้ใหม่ตามจำนวนป่าที่บริษัททำไม้ค้างไว้ ส่งไม้ซุงที่ตกค้างกลับคืน ที่จำหน่ายจ่ายโอนไปแล้วต้องซื้อกลับมาใช้ส่วนที่ขาด ขณะเดียวกันก็ต้องแบ่งเบาภาระของรัฐบาล และเร่งรัดหาเงินรายได้ส่งรัฐ โดยการเพิ่มอัตราการเก็บค่าภาคหลวงไม้สักที่สูงกว่าเดิม
 
การก้าวสู่เวทีโลกหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ทำให้องค์กรระหว่างประเทศเข้ามาร่วมให้ความช่วยเหลือจัดระเบียบใหม่ในหลายด้าน ซึ่งในส่วนของกรมป่าไม้ได้รับการแนะนำให้สงวนพื้นที่ป่าไว้ประมาณร้อยละ ๔๐ ของพื้นที่ประเทศ อีกทั้งควรแก้ปัญหาป่าไม้ถูกทอดทิ้ง อันเนื่องมาจากการขาดบุคลากรและงบประมาณดูแลรักษา รวมทั้งให้ใช้แผนที่ทางอากาศในกิจการป่าไม้ ต่อมาใน พ.ศ. ๒๔๙๘ สัมปทานป่าไม้ของบริษัทต่างประเทศสิ้นสุดลง รัฐบาลไทยจึงตัดสินใจไม่ต่อสัญญาสัมปทานทำป่าไม้ให้กับบริษัทข้ามชาติอังกฤษ ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดยุคการทำไม้สัก (Teak era) ภายใต้การครอบงำของระบอบอาณานิคมยุโรป และก้าวสู่บริบทใหม่แห่งการป่าไม้ไทย คือ การจัดสรรทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทยภายใต้การดูแลของข้าราชการไทย
 
== อ้างอิง ==
<references />
 
* หนังสือ กรมป่าไม้ ๑๑๑ ปี และนิทรรศการ ๑๑๑ปี กรมป่าไม้ ก้าวไหลอย่างมั่นคง ภายใต้ร่มพระบารมี>
 
== แหล่งข้อมูลอื่น ==
* [http://www.forest.go.th/ กรมป่าไม้] กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประเทศไทย
 
[[หมวดหมู่:นิเวศวิทยา]]
 
[[bg:Лесовъдство]]
[[cs:Lesnictví]]
[[da:Skovbrug]]
[[de:Forstwirtschaft]]
[[en:Silviculture]]
[[es:Silvicultura]]
[[et:Metsandus]]
[[fi:Metsätalous]]
[[fr:Sylviculture]]
[[hr:Šumarstvo]]
[[id:Kehutanan]]
[[it:Silvicoltura]]
[[ja:林業]]
[[ko:임업]]
[[nl:Bosbouw]]
[[nn:Skogbruk]]
[[no:Skogbruk]]
[[pl:Leśnictwo (nauka)]]
[[pt:Silvicultura]]
[[ro:Silvicultură]]
[[ru:Лесоводство]]
[[sh:Šumarstvo]]
[[simple:Forestry]]
[[sv:Skogsbruk]]
[[te:వన్య శాస్త్రము]]
[[tr:Silvikültür]]
[[vi:Lâm nghiệp]]