ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปริมาตร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 7:
 
ใน[[เรขาคณิตเชิงอนุพันธ์]] ปริมาตรถูกอธิบายด้วยความหมายของ[[รูปแบบปริมาตร]] (volume form) และเป็น[[ตัวยืนยง]][[เรขาคณิตแบบไรมันน์|แบบไรมันน์]] (Riemann invariant) ที่สำคัญโดยรวม ใน[[อุณหพลศาสตร์]] ปริมาตรคือ[[ตัวแปรเสริม]] (parameter) ชนิดพื้นฐาน และเป็น[[ตัวแปรควบคู่]] (conjugate variable) กับ[[ความดัน]]
 
== หน่วยวัด ==
[[ไฟล์:Volume measurements from The New Student's Reference Work.svg|thumb|220px|หน่วยวัดปริมาตรตามตำรา <br/>''The New Student's Reference Work''<br/>
'''การแปลงหน่วยเป็นมิลลิลิตรโดยประมาณ'''<ref>{{cite web |url=http://ts.nist.gov/WeightsAndMeasures/Publications/appxc.cfm#4e |title=General Tables of Units of Measurement |author= |date= |work= |publisher=NIST Weights and Measures Division |accessdate=12 January 2011}}</ref>
{| style="width:100%;"
|-
! !! อังกฤษ !! สหรัฐฯ<br/>ของเหลว !! สหรัฐฯ<br/>ของแห้ง
|-
| [[กิลล์]] || 142 มล. || 118 มล. || 138 มล.
|-
| [[ไพนต์]] || 568 มล. || 473 มล. || 551 มล.
|-
| [[ควอร์ต]] || 1137 มล. || 946 มล. || 1101 มล.
|-
| [[แกลลอน]] || 4546 มล. || 3785 มล. || 4405 มล.
|}
]]
หน่วยวัดปริมาตรใช้แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับหน่วยวัด[[ความยาว]] โดยเติมคำว่า ''ลูกบาศก์'' นำหน้าหน่วยความยาวที่ใช้วัดขนาดในสามมิติทั้งความกว้าง ความยาว ความสูง ในหน่วยเดียวกัน เมื่อเขียนเป็น[[อักษรย่อ]]จะเติม ลบ. นำหน้าหรือกำกับด้วย ''ยกกำลังสาม'' อย่างใดอย่างหนึ่ง ตัวอย่างเช่น วัตถุ[[ทรงลูกบาศก์]]ชิ้นหนึ่งมีทุกด้านยาวหนึ่ง[[เซนติเมตร]] (ซม., cm) จะมีปริมาตรเท่ากับหนึ่ง[[ลูกบาศก์เซนติเมตร]] (ลบ.ซม., ซม.<sup>3</sup>, cm<sup>3</sup>)
 
[[ระบบหน่วยวัดระหว่างประเทศ]]กำหนดให้หน่วยวัดปริมาตรมาตรฐานคือหน่วย[[ลูกบาศก์เมตร]] (ลบ.ม., ม.<sup>3</sup>, m<sup>3</sup>) [[ระบบเมตริก]]ก็มีหน่วย[[ลิตร]] (ล., L) เป็นหน่วยวัดปริมาตรอีกด้วย ซึ่งเท่ากับปริมาตรของทรงลูกบาศก์ขนาดสิบเซนติเมตร จึงสัมพันธ์กับหน่วยลูกบาศก์เมตรเช่นกัน นั่นคือ
::1 ลิตร = (10 เซนติเมตร)<sup>3</sup> = 1000 ลูกบาศก์เซนติเมตร = 0.001 ลูกบาศก์เมตร
ดังนั้น
::1 ลูกบาศก์เมตร = 1000 ลิตร
บ่อยครั้งที่ปริมาณของเหลวจำนวนเล็กน้อยถูกวัดในหน่วย[[มิลลิลิตร]] นั่นคือ
::1 มิลลิลิตร = 0.001 ลิตร = 1 ลูกบาศก์เซนติเมตร
 
หน่วยวัดปริมาตรแบบดั้งเดิมอื่น ๆ ที่มีหลากหลายก็เป็นที่นิยมเช่นกัน เช่น [[ลูกบาศก์นิ้ว]] [[ลูกบาศก์ฟุต]] [[ลูกบาศก์ไมล์]] [[ช้อนชา]] [[ช้อนโต๊ะ]] [[ถ้วยตวง (หน่วย)|ถ้วยตวง]] [[ออนซ์]] [[แดรม]] [[กิลล์]] [[ไพนต์]] [[ควอร์ต]] [[แกลลอน]] [[มินิม]] [[บาร์เรล]] [[คอร์ด]] [[เพก]] [[บุเชิล]] [[ฮอกสเฮด]] ฯลฯ ส่วนหน่วยวัดไทยดั้งเดิมก็มีอย่างเช่น ถัง (20 ลิตร) บั้น เกวียน เป็นต้น
 
== คำที่เกี่ยวข้อง ==