ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ปริมาตร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:Simple Measuring Cup.jpg|thumb|right|[[ถ้วยตวง]]สามารถใช้วัดปริมาตรของของเหลวได้ ถ้วยตวงถ้วยนี้มีหน่วยกำกับเป็น[[ถ้วยตวง (หน่วย)|ถ้วยตวง]] [[ออนซ์ (หน่วยปริมาตร)|ออนซ์]] และ[[มิลลิลิตร]]]]
'''ปริมาตร''' หมายถึง ปริมาณของ[[ปริภูมิ]]หรือ[[รูปทรง]][[สามมิติ]] ซึ่งยึดถือหรือบรรจุอยู่ในภาชนะไม่ว่าจะ[[สถานะ]]ใดๆก็ตาม <ref>{{cite web |url=http://www.yourdictionary.com/volume |title= Your Dictionary entry for "volume" |accessdate=2010-05-01}}</ref> บ่อยครั้งที่ปริมาตรระบุปริมาณเป็นตัวเลขโดยใช้หน่วยกำกับ เช่น[[ลูกบาศก์เมตร]]ซึ่งเป็น[[หน่วยอนุพันธ์เอสไอ]] นอกจากนี้ยังเป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไปว่า ปริมาตรของ[[ภาชนะ]]คือ '''ความจุ''' ของภาชนะ เช่นปริมาณของ[[ของไหล]] (ของเหลวหรือแก๊ส) ที่ภาชนะนั้นสามารถบรรจุได้ มากกว่าจะหมายถึงปริมาณเนื้อวัสดุของภาชนะ
 
รูปทรงสามมิติทางคณิตศาสตร์มักถูกกำหนดปริมาตรขึ้นด้วยพร้อมกัน ปริมาตรของรูปทรงอย่างง่ายบางชนิด เช่นมีด้านยาวเท่ากัน สันขอบตรง และรูปร่างกลมเป็นต้น สามารถคำนวณได้ง่ายโดยใช้[[สูตร]]ต่าง ๆ ทาง[[เรขาคณิต]] ส่วนปริมาตรของรูปทรงที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นสามารถคำนวณได้ด้วย[[แคลคูลัสเชิงปริพันธ์]]ถ้าทราบสูตรสำหรับขอบเขตของรูปทรงนั้น รูปร่างหนึ่งมิติ (เช่น[[เส้นตรง]]) และรูปร่างสองมิติ (เช่น[[รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส]]) ถูกกำหนดให้มีปริมาตรเป็นศูนย์ในปริภูมิสามมิติ
 
ปริมาตรของของแข็ง (ไม่ว่าจะมีรูปทรงปกติหรือไม่ปกติ) สามารถตรวจวัดได้ด้วย[[การแทนที่ของไหล]] และการแทนที่ของเหลวสามารถใช้ตรวจวัดปริมาตรของแก๊สได้อีกด้วย ปริมาตรรวมของวัสดุสองชนิดโดยปกติจะมากกว่าปริมาตรของวัสดุอย่างใดอย่างหนึ่ง เว้นแต่เมื่อวัสดุหนึ่ง[[ละลาย]]ในอีกวัสดุหนึ่งแล้ว ปริมาตรรวมจะไม่เป็นไปตามหลักการบวก <ref>ตัวอย่างเช่น น้ำตาลทราย 1 ลิตร (หนักประมาณ 970 กรัม) สามารถละลายในน้ำเดือด 0.6 ลิตร ได้ผลเป็นน้ำเชื่อมที่มีปริมาตรรวมน้อยกว่า 1 ลิตร เป็นต้น {{cite web |url=http://chemed.chem.purdue.edu/genchem/topicreview/bp/ch18/soluble.php |title=Solubility |accessdate=2010-05-01 |quote=Up to 1800 grams of sucrose can dissolve in a liter of water.}}</ref>
 
ใน[[เรขาคณิตเชิงอนุพันธ์]] ปริมาตรถูกอธิบายด้วยความหมายของ[[รูปแบบปริมาตร]] (volume form) และเป็น[[ตัวยืนยง]][[เรขาคณิตแบบไรมันน์|แบบไรมันน์]] (Riemann invariant) ที่สำคัญโดยรวม ใน[[อุณหพลศาสตร์]] ปริมาตรคือ[[ตัวแปรเสริม]] (parameter) ชนิดพื้นฐาน และเป็น[[ตัวแปรควบคู่]] (conjugate variable) กับ[[ความดัน]]
 
== หน่วยวัด ==
[[ไฟล์:Volume measurements from The New Student's Reference Work.svg|thumb|220px|หน่วยวัดปริมาตรตามตำรา <br/>''The New Student's Reference Work''<br/>