ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เทศบาลเมืองหนองคาย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Chainwit. (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 268:
 
== การท่องเที่ยว ==
[[ไฟล์:Phrathat Nong Khai.JPG|250px|right|thumb|[[พระธาตุหนองคาย]]กลาง[[แม่น้ำโขง]]]]
การท่องเที่ยวของเมืองหนองคายโดยหลักแล้วมาจากการเป็นจุดแวะพักกลางทางช่วงสั้น ๆ สำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางไปและกลับจากประเทศลาว และตามเส้นทางทางหลวงสายสำคัญจะเป็นที่ตั้งของร้านค้า ธนาคาร และร้านทองจำนวนมาก ใจกลางเมืองมี[[ตลอดท่าเสด็จ จังหวัดหนองคาย|ตลาดท่าเสด็จ]]หรือที่นิยมเรียกกันว่า "ตลาดอินโดจีน" เป็นแหล่งรวมสินค้าที่พลุกพล่านและมีขนาดใหญ่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขง ซึ่งนักท่องเที่ยวยังจะได้รับความสะดวกสบายจากที่พักหลากหลายรูปแบบที่ตั้งอยู่ในตัวเมือง ตั้งแต่ห้องพักราคาประหยัดไปจนถึงโรงแรมระดับนานาชาติอีกด้วย
 
บรรทัด 277:
* [[ถนนคนเดินเมืองหนองคาย]] เป็นงานถนนคนเดินที่เปิดทุกวันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 16.00น.-22.00น.ที่ตั้งอยู่บริเวณริมฝั่งโขง ตั้งแต่ท่าเทียบเรือหายโศก ถึง ตลาดท่าเสด็จ (ด้านหลังของตลาด) ภายในงานถนนคนเดินมีการจำหน่ายสินค้า Otop งานหัตถกรรม งานศิลปะ อาหารและเครื่องดื่ม สินค้าเบ็ดเตล็ดทั่วไปและยังมีการแสดงดนตรี การละเล่นและศิลปะพื้นบ้าน รำวงย้อนยุค กิจกรรมของเด็กและเยาวชน หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชนทั่วไป
* [[แลนด์มาร์คเมืองหนองคาย]] เป็นจุดสังเกต (Landmark) แห่งใหม่ของเมืองหนองคาย ตั้งอยู่ที่บริเวณเขื่อนป้องกันตลิ่ง ถนนริมโขง อยู่ระหว่างวัดลำดวนถึงวัดศรีสุมังคล์
* [[ศาลาแก้วกู่]] หรือ "[[วัดแขก]]" เป็นอุทยานจัดแสดงประติมากรรมทางศาสนา ผลงานของ[[หลวงปู่บุญเหลือ สุรีรัตน์]]ซึ่งเป็นทั้งผู้นำทางจิตวิญญาณและประติมากร ท่านได้สร้างพระพุทธรูปปางต่าง ๆ พญานาค 7 เศียร และรูปปั้นคนครึ่งสัตว์ในตำนาน และนางอัปสรโดยผสมผสานระหว่างแนวคิดทาง[[พระพุทธศาสนา]]กับ[[ศาสนาฮินดู]]เข้าด้วยกัน
* [[พระธาตุหล้าหนอง]] หรือ "พระธาตุกลางน้ำ" เดิมเป็นพระธาตุที่ตั้งอยู่ริมฝั่ง[[แม่น้ำโขง]]ของฝั่งไทย แต่ตลิ่งได้พังลงไปในปี พ.ศ. 2160 ทำให้พระธาตุหล้าหนองจมลงไปเกือบจะอยู่กึ่งกลางของแม่น้ำโขง ปัจจุบันได้สร้างพระธาตุหล้าหนองจำลองขึ้นมา
* ตลาดสินค้าอินโดจีน หรือ "ท่าเสด็จ" หรือ "ท่าด่าน"