ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เบญจศีล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ธรรมะสอนใจ (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 9:
== ประวัติ ==
 
# เบญจศีลเป็นหลักธรรมประจำสังคมที่มีมาก่อน[[พุทธกาล]]แล้ว ปรากฏใน[[จักกวัตติสูตร]]<ref>พระไตรปิฎก เล่มที่ 11 พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ 3 ทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค จักกวัตติสูตร. พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงข้อมูลได้จาก [http://84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=11&A=1189&Z=1702]. เข้าถึงข้อมูลเมื่อ 30-6-52</ref> ({{lang-pi|จกฺกวตฺติสุตฺต}}) อันกล่าวถึงเรื่อง[[พระเจ้าจักรพรรดิ]]ตรัสสอนประชาชนว่า ท่านทั้งหลายต้องไม่ฆ่าสัตว์ ({{lang-pi|ปาโณ น หนฺตพฺโพ}}), ต้องไม่ถือเอาของที่เขามิได้ให้ ({{lang-pi|อทินฺนํ น อาทาตพฺพํ}}), ต้องไม่ประพฤติไม่เหมาะสมทางเพศ ({{lang-pi|กาเมสุ มิจฺฉา น จริตพฺพา}}), ต้องไม่กล่าวเท็จ ({{lang-pi|มุสา น ภาสิตพฺพา}}) และต้องไม่บริโภคสุรายาเมา ({{lang-pi|มชฺชํ น ปาตพฺพํ}}) ต่อมา เมื่อมีผู้ประพฤติผิดจากที่พระเจ้าจักรพรรดิสอน จึงมีการลงโทษด้วยวิธีจับแขนไพล่หลังแล้วเอาเชือกเหนียวมัดอย่างมั่นคง โกนผม และประโคม[[บัณเฑาะว์]]เสียงกร้าว แห่ประจานไปตามถนนและตรอกซอกซอย พาออกไปทางประตูเมืองทิศใต้ ก่อน[[ประหารชีวิต]]ด้วยการตัดศีรษะ<ref name = "Royin-01" />
 
เบญจศีลมีอิทธิพลมากในสังคมอินเดียโบราณ จากคำสอนที่ปรากฏในคัมภีร์จักวัตติสูตรดังกล่าว เมื่อกาลผ่านไปก็กลายเป็นคุณธรรมขั้นพื้นฐานสำหรับนักบวชทั่วไปในสังคมอินเดีย แต่ปรับปรุงเหลือเพียงสี่ข้อเท่านั้น ประกอบด้วย ไม่ฆ่าสัตว์ 1 ไม่ถือเอาของที่เขาไม่ได้ให้ 1 ไม่มีเพศสัมพันธ์ 1 และไม่อวด[[อุตริมนุษยธรรม]] 1