ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ราชพฤกษ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
เพิ่มคำว่า ราชพฤกษ์ ลงไป
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 8063476 สร้างโดย 184.22.111.35 (พูดคุย) ลบออกเพราะเนื้อหาเกี่ยวกับราชพฤกษ์อยู่แล้ว + เพิ่มส่วนอ้างอิง
ป้ายระบุ: ทำกลับ
บรรทัด 25:
'''ราชพฤกษ์''' หรือ '''คูน ลมแล้ง ชัยพฤกษ์''' ({{ชื่อวิทยาศาสตร์|Cassia fistula}}) เป็นไม้ดอกในตระกูล [[Fabaceae]] เป็นพืชพื้นเมืองของ[[เอเชียใต้]] ตั้งแต่ทางตอนใต้ของ[[ปากีสถาน]] ไปจนถึง[[อินเดีย]] [[ศรีลังกา]] [[พม่า]] และ [[ไทย]] นอกจากนี้ดอกราชพฤกษ์ยังเป็นดอกไม้ประจำชาติไทยอีกด้วย
 
== ลักษณะ '''ราชพฤกษ์''' ==
 
ราชพฤกษ์เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง มีความสูง 10-20 เมตร ดอกขึ้นเป็นช่อยาว 20-40 เซนติเมตร แต่ละดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-7 เซนติเมตร มีกลีบดอกสีเหลืองขนาดเท่ากัน 5 กลีบ ผลยาว 30-62 เซนติเมตร และกว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร มีกลิ่นฉุน และมีเมล็ดที่มีพิษเป็นจำนวนมาก
บรรทัด 31:
[[ไฟล์:Cassia fistula-flower-detail.jpg|thumb|ลักษณะดอกของต้นราชพฤกษ์]]
 
== เกี่ยวกับชื่อ '''ราชพฤกษ์''' ==
ชื่อของราชพฤกษ์นั้นมีการเรียกแตกต่างกันออกไปในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งส่วนใหญ่จะเรียกราชพฤกษ์ว่า คูน เนื่องจากจำง่ายกว่า (แต่มักจะเขียนผิดเป็น คูณ) ทาง[[ภาคเหนือ]]เรียกว่า ลมแล้ง ทาง[[ภาคใต้]]เรียกว่า ราชพฤกษ์ ลักเกลือ หรือ ลักเคย [[ชาวกะเหรี่ยง]]และใน[[กาญจนบุรี]]เรียกว่า กุเพยะ
 
บรรทัด 39:
 
=== การปลูก ===
ในช่วงแรกๆแรก ๆ ต้นราชพฤกษ์จะเจริญเติบโตได้ช้าในระยะเวลาประมาณ 1-3 ปีแรก หลังจากนั้นต้นราชพฤกษ์จะเจริญเติบโตเร็วขึ้น เปลือกจะเป็นสีน้ำตาลเรียบ มีรากแก้วยาวสีเหลือง และ มีรากแขนงเป็นจำนวนมาก เมื่อต้นราพฤกษ์มีอายุ 4-5 ปี จึงออกดอกและเมล็ดและเจริญเติบโตต่อไป
 
=== การดูแลรักษา ===
บรรทัด 53:
 
== สรรพคุณ ==
ส่วนต่างๆต่าง ๆ ของต้นราชพฤกษ์มีประโยชน์ดังนี้
 
- ฝักแก่ เนื้อสีน้ำตาลดำและชื้นตลอดเวลา มีรสหวาน สามารถใช้เป็นยาระบายได้ โดยนำฝักมาต้มกับน้ำ และเติม[[เกลือ]]เล็กน้อย ดื่มก่อนนอนหรือก่อนรับประทานอาหาร นอกจากนั้น ฝักแก่ยังมีสารที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทของ[[แมลง]] เมื่อนำฝักมาบดผสมน้ำแช่ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน สารละลายที่กรองได้สามารถฉีดพ่นกำจัดแมลงและหนอนในแปลงผักได้ ฝักแก่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้มด้วยเตาเศรษฐกิจ มีขนาดที่พอเหมาะ ไม่ต้องผ่า เลื่อยหรือตัด เนื้อของฝักแก่ใช้แทนกากน้ำตาลในการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์และจุลินทรีย์ขยาย
บรรทัด 71:
 
คนไทยในสมัยโบราณยังมีความเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นราชพฤกษ์ไว้ประจำบ้านจะช่วยให้มีเกียรติมีศักดิ์ศรี ด้วยคนไทยส่วนใหญ่ยอมรับว่าต้นราชพฤกษ์เป็นต้นไม้ที่มีคุณค่าสูงและยังเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติไทยอีกด้วย นอกจากนี้มีความเชื่อว่า ใบของต้นราชพฤกษ์เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพราะในพิธีทางไสยศาสตร์ให้ใบทำน้ำพุทธมนต์สะเดาะเคราะห์ได้ผลดีดังนั้นจึงถือว่าต้นราชพฤกษ์เป็นไม้มงคลนาม<ref>[http://www.maipradabonline.com/maimongkol/rachapouk.htm การเป็นมงคล]</ref>{{คอมมอนส์-หมวดหมู่|Cassia fistula| ''Cassia fistula''}}
 
== อ้างอิง ==
{{รายการอ้างอิง}}
 
{{สัญลักษณ์ประจำชาติไทย}}