ผลต่างระหว่างรุ่นของ "แพนด้ายักษ์"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 8059146 สร้างโดย 2403:6200:8867:B0B4:B51A:3A4D:9B8B:C959 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
→‎ลักษณะทั่วไป: ชื่อแพนด้า มาจากการจัดหมวดหมู่ของนักสัตวศาสตร์ชาวฝรั่งเศสสมัยก่อน ที่จัดเป็นสัตว์ตระกูลแพนด้า ไม่เกี่ยวกันกับภาษาจีนท้องถิ่นเลย
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 21:
 
== ลักษณะทั่วไป ==
ถึงแม้จะจัดอยู่ในวงศ์ของหมี แต่พฤติกรรมของมันแตกต่างจากหมีโดยสิ้นเชิง แพนด้าเป็นสัตว์กินพืชเป็นอาหาร โดยร้อยละ 99 ของอาหารที่มันกินคือ[[ไผ่]] จนได้ชื่อว่า "แพนด้า" ซึ่งเป็นชื่อในภาษาพื้นเมืองของจีนแปลว่า "ผู้กินไผ่"<ref>{{cite news|title=เปิดโลกสัตว์หรรษา: เอสย่อมาจากสปีชีส์|url=http://www.clip007.com/hourly-rerun/tpbs/2016-07-17/18/|work=ไทยพีบีเอส|date=July 17, 2016|accessdate=July 18, 2016}}</ref> แต่บางทีอาจพบว่ามันก็กินไข่ ปลา และแมลงบางชนิดในไม้ไผ่ที่มันกิน นี่เป็นแหล่ง[[โปรตีน]]ที่สำคัญ จัดได้ว่าแพนด้ายักษ์เป็นหมีที่แตกต่างไปจากหมีชนิดอื่น ๆ ที่กินเนื้อเป็นอาหารหลัก แม้ว่าไผ่จะเป็นพืชที่ให้พลังงานกิโลแคลเลอรี่ต่ำมาก ทำให้แพนด้ายักษ์ใช้เวลากินไผ่นานถึงวันละ 16 ชั่วโมง ในปริมาณไม่ต่ำกว่า 18 กิโลกรัม และขับถ่ายมากถึงวันละ 40 ครั้ง และทำให้ในช่วงฤดูหนาว แพนด้ายักษ์จะไม่จำศีลในถ้ำเหมือนกับหมีชนิดอื่น เนื่องจากไผ่ให้พลังงานสะสมไม่เพียงพอ และจากการที่มีพฤติกรรมกินไผ่เป็นอาหารเพียงอย่างเดียวนั้น เป็นสาเหตุที่ทำให้แพนด้ายักษ์เป็นสัตว์ที่แพร่ขยายพันธุ์ได้ยากด้วย โดยในรอบปี แพนด้ายักษ์ตัวเมียจะมีอาการติดสัดเพียง 1-2 วันเท่านั้น และออกลูกรวมถึงเลี้ยงลูกให้รอดจนเติบโตในธรรมชาติได้ยากมาก หากแพนด้ายักษ์แพร่ขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว จะทำให้ไผ่พืชอาหารหลักหมดไปอย่างรวดเร็วเช่นกัน <ref>{{cite web|url=http://tv.ohozaa.com/hourly-rerun/tpbs/2015-02-09/18/|title=ท่องโลกกว้าง: สัตว์ป่าหน้าแปลก |date=9 February 2015|accessdate=10 February 2015|publisher=ไทยพีบีเอส}}</ref> และถึงแม้แพนด้ายักษ์จะกินไผ่เป็นอาหารหลัก คิดเป็นร้อยละ 99 ของอาหารทั้งหมดก็ตาม แต่ภายในตัวของแพนด้ายักษ์กลับไม่มีจุลินทรีย์ในการช่วยย่อยไผ่ แต่กลับมีเขี้ยวสำหรับใช้กัดและเอนไซน์ในการย่อยเนื้อแทน<ref name=แพน/> โดยลูกแพนด้ายักษ์ที่เพิ่งเกิด ตาจะยังไม่ลืมและไม่มีขน และมีน้ำหนักน้อยกว่าแพนด้ายักษ์ตัวเต็มวัยถึง 900 เท่า แต่ทว่ากลับมีอัตราการเจริญเติบโตที่เร็วมากที่สุดชนิดหนึ่งในบรรดาสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โดยสามารถเพิ่มน้ำหนักตัวจากแค่ 0.1 กิโลกรัม เป็น 1.8 กิโลกรัม ได้ภายในเวลาเพียงเดือนเดียว<ref name=แพน/>
 
หลายสิบปีที่ผ่านมา การจัดจำแนกสายพันธุ์ที่แน่นอนของแพนด้ายังคงเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แพนด้ายักษ์และ[[แพนด้าแดง]]ซึ่งเป็นญาติสายพันธุ์ห่าง ๆ กัน และยังมีลักษณะพิเศษที่เหมือนทั้งหมีและ[[แรคคูน]] อย่างไรก็ตาม การทดลองทางพันธุกรรมบ่งบอกว่าแพนด้ายักษ์เป็นหนึ่งใน[[species|ชนิด]]ของ[[หมี]] (วงศ์ Ursidae) หมีที่ชนิดใกล้เคียงที่สุดของแพนด้าคือ[[หมีแว่น]]ที่พบใน[[ทวีปอเมริกาใต้]] (ข้อขัดแย้งที่ยังคงเป็นที่สงสัยอยู่คือแพนด้าแดงนั้นอยู่ในวงศ์ใด เป็นที่ถกเถียงว่าอาจจะอยู่ในวงศ์[[หมี]] (Ursidae), [[Procyonidae|วงศ์แรคคูน]], วงศ์[[Procyonidae|โพรไซโอนิดี้]] (Procyonidae), หรืออยู่ในวงศ์เฉพาะของมันเอง [[Ailuridae|วงศ์ไอเลอริดี้]] (Ailuridae)) โดย[[ซากดึกดำบรรพ์]]ที่ค้นพบจากในถ้ำของประเทศจีนพบว่า แพนด้ายักษ์ถือกำเนิดมาแล้วบนโลกอย่างน้อย 2 ล้านปี แต่การที่ได้วิวัฒนาตัวเองแยกออกมาจากหมีทั่วไปนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด<ref name=แพน>หน้า 88-113, ''คืนแพนด้าสู่ธรรมชาติ'' โดย เจนนิเฟอร์ เอล. ฮอลแลนด์. นิตยสาร [[National Geographic]] (ภาษาไทย) 181 : สิงหาคม 2559</ref>