ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มณฑลเทศาภิบาล"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
V i P (คุย | ส่วนร่วม)
V i P (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 1:
{{ประวัติศาสตร์ไทย}}
'''มณฑลเทศาภิบาล'''คือระบบแบ่งเขตการปกครองส่วนภูมิภาคในรัชสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] ที่มีการใช้มาจนถึงสมัยช่วงก่อน[[สงครามโลกครั้งที่สอง]]ประมาณ 7 ปี เป็นการเลียนแบบ[[การปกครอง]]ของ[[อังกฤษ]]ใน[[พม่า]]และ[[มาเลเซีย]] เริ่มขึ้นในปี [[พ.ศ. 2440]] โดยพระราชดำริของ[[สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] มณฑลมี[[ข้าหลวงเทศาภิบาล]]เป็นผู้ปกครอง เจ้าเมืองไม่มีอำนาจที่จะปกครอง หน่วยการปกครองเรียงจากใหญ่ไปเล็กได้ดังนี้
::[[มณฑลภาค]] → '''มณฑล''' → [[เมือง]] ([[จังหวัด]]) → [[อำเภอ]] → [[ตำบล]] → [[บ้าน]] ([[หมู่บ้าน]])
 
ในปี [[พ.ศ. 2458]] ดินแดน[[สยาม]]มีมณฑลอยู่ 19 แห่งครอบคลุมพื้นที่ 72 เมือง (เปลี่ยนเป็น ''[[จังหวัด]]'' ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]]) อย่างไรก็ตาม เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจตกต่ำจึงทำให้หลายมณฑลถูกยุบรวมกันตั้งแต่ปี [[พ.ศ. 2468]] ([[มณฑลเพชรบูรณ์]]ถูกยุบลงไปก่อนหน้านั้นแล้ว) ภายหลังจึงคงเหลืออยู่เพียง 14 มณฑล ได้แก่ [[กรุงเทพพระมหานคร]] [[มณฑลจันทบุรี]] [[มณฑลนครชัยศรี]] [[มณฑลนครสวรรค์]] [[มณฑลนครศรีธรรมราช]] [[มณฑลนครราชสีมา]] [[มณฑลปราจีนบุรี]] [[มณฑลปัตตานี]] [[มณฑลพายัพ]] [[มณฑลพิษณุโลก]] [[มณฑลภูเก็ต]] [[มณฑลราชบุรี]] [[มณฑลอยุธยา]] และ[[มณฑลอุดรธานี]] ทั้งหมดถูกล้มเลิกไปในปี [[พ.ศ. 2476]] ภายหลัง[[การเปลี่ยนแปลงการปกครอง]] เมื่อมีการตรา''[[พระราชบัญญัติการบริหารราชการส่วนภูมิภาค พุทธศักราช 2476]]'' ขึ้น และนับจากนั้น [[จังหวัด]]ก็ได้กลายเป็นเขตการปกครองย่อยของ[[ประเทศไทย]]ที่มีระดับสูงที่สุด