ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รถไฟฟ้ารางคู่ขนาดเบา สายบางนา–ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Magnamonkun (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Magnamonkun (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 44:
'''รถไฟฟ้าไลท์เรล สายบางนา–ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ''' หรือ '''รถไฟฟ้าบีทีเอส สายบางนา–สุวรรณภูมิ''' เป็นโครงการเส้นทางระบบขนส่งมวลชนรองในพื้นที่[[กรุงเทพมหานคร]]และ[[จังหวัดสมุทรปราการ]] ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ[[โครงข่ายระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง|โครงการระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ระยะที่สอง (M-Map Phase 2)]] โดยความร่วมมือระหว่าง สำนักการจราจรและขนส่ง [[กรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)|กรุงเทพมหานคร]], [[ท่าอากาศยานไทย|บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)]] และ[[จังหวัดสมุทรปราการ]] มีจุดมุ่งหมายเพื่อเชื่อมต่อโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนเข้าสู่[[ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ]] ตามแนว[[ถนนเทพรัตน]] อันเป็นทางหลวงแผ่นดินที่จะมุ่งหน้าไปยังภาคตะวันออก
 
เส้นทางดังกล่าวปรากฎขึ้นครั้งแรกในแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2537 (แผนแม่บท MTMP) ก่อนถูกปรับปรุงให้เป็นแผนแม่บทเพื่อนำไปสู่การดำเนินการจริงใน พ.ศ. 2539 (แผนแม่บท CTMP) โดยถูกกำหนดให้เป็นส่วนต่อขยายของ[[รถไฟฟ้าบีทีเอส|รถไฟฟ้าธนายง]] [[รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท|ตอน 1]] แต่ได้ถูกยกเลิกไปเมื่อครั้งการปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพมหานครและพื้นที่ต่อเนื่อง พ.ศ. 2543 (แผนแม่บท BMTURMAP) ต่อมาในการประชุมร่วมกับคณะกรรมการจัดการจราจรทางบก (คจร.) เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2547 คจร. มีมติให้กรุงเทพมหานครศึกษาแนวทางเพิ่มเติมเพื่อต่อขยายสายทางภายใน พ.ศ. 2552 เพื่อให้โครงข่ายรถไฟฟ้าครอบคลุมและสอดคล้องกับการขยายตัวของเมือง กรุงเทพมหานครจึงได้นำเส้นทางดังกล่าวกลับเข้าสู่การพิจารณา ก่อนลดระยะทางให้สิ้นสุดที่บริเวณแยกศรีเอี่ยม (ทางแยกต่างระดับระหว่างถนนบางนา-ตราด และถนนศรีนครินทร์) และได้ปรับปรุงเส้นทางอีกครั้งให้ต่อขยายไปสิ้นสุดที่บริเวณอาคารผู้โดยสารฝั่งใต้ของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิตามแผนแม่บทเดิมในเวลาต่อมา
 
ปัจจุบัน โครงการอยู่ในระหว่างการยื่นขอผลวิเคราะห์ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมหรือ EIA เพื่อเริ่มดำเนินโครงการ โดยกรุงเทพมหานครคาดหวังไว้ว่าจะสามารถเปิดประมูลหาเอกชนเข้ามาดำเนินการได้ใน พ.ศ. 2562–2563 และคาดว่าจะเปิดใช้งานจริงได้ภายใน พ.ศ. 2567