ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ศาลเจ้าชินโต"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Chainwit. (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Chainwit. (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
[[File:Shrine ema.JPG|thumb|ภาพวาดของศาลเจ้าชินโตแห่งหนึ่ง]]
 
'''ศาลเจ้าชินโต''' หรือ '''จินจะ''' ({{nihongo|'''Shinto shrine'''|神社|jinja; แปลตรงตัวว่า ''ที่อยู่ของเทพเจ้า''<ref>Stuart D. B. Picken, 1994. p. xxiii</ref>}}) เป็น[[ศาสนสถาน]]ที่ประดิษฐาน[[คามิ]] หรือ [[เทพเจ้าของญี่ปุ่น]]หนึ้งพระอง๕หรืออาจมากกว่านั้นก็ได้ โดยอาคารหลักของศาลเจ้าชินโตจะมีไว้สำหรับเก็บรักษาศาสนวัตถุอันศักดิ์สิทธิ์ แต่ไม่ใช่สำหรับให้ผู้คนเข้าไปสักการะ<ref name="scheid2">{{cite web|url=http://www.univie.ac.at/rel_jap/bauten/bauten.htm|title=Religiöse Bauwerke in Japan|last=[[Bernhard Scheid]]|first=|publisher=University of Vienna|language=German|accessdate=27 June 2010}}</ref> ใน[[ภาษาญี่ปุ่น]] ศาลเจ้าชินโตมีหลายชื่อ นอกจากชื่อ ''จินจะ'' แล้วยังมี ''ก็องเก็น'' (gongen), ''ยาชิโระ'' (yashiro), ''ไทฉะ'' (taisha) ซึ่งเรียกแตกต่างกันไปตามความหมายเฉพาะ
 
อาคารที่ประดิษฐานรูปเคารพของ[[คามิ]] (เทพเจ้า) จะเรียกว่า ''[[ฮงเด็น]]'' (honden) หรือบางครั้งก็ใช้คำว่า ''ชินเด็น'' (shinden)<ref name="IK">Iwanami {{nihongo|[[Kōjien]]|広辞苑}} Japanese dictionary</ref> แต่ในบางศาลเจ้าอาจไม่มีฮงเด็นก็ได้ เช่นในกรณีที่ศาลเจ้านั้นบูชาภูเขาทั้งลูกโดยตรง ก็มักจะประดิษฐานเพียงแท่นบูชาที่เรียกว่า ''ฮิโมโรงิ ''(himorogi) หรือแผ่นป้ายวิญญาณผูกที่เรียกว่าสะกดวิญญาณ ''โยริชิโระ'' (yorishiro) กับวัตถุต่าง ๆ เช่น ต้นไม้ หรือก้อนหิน<ref>Mori Mizue</ref> นอกจากนี้อาจมีหอเคารพ หรือ ''ไฮเด็น ''(haiden) เช่นกัน อย่างไรก็ตาม เป้าหมายสำคัญของศาลเจ้าชินโตไม่ได้มีไว้เพื่อการสักการะเป็นหลัก แต่มีไว้เพื่อเก็บรักษาศาสนวัตถุศักดิ์สิทธิ์เท่านั้น<ref name="scheid2"/>
 
สำหรับศาลเจ้าขนาดเล็กริมทางเรียกว่า ''โฮโกระ'' (hokora) และศาลเจ้าพกพาเรียกว่า ''มิโกะชิ'' (mikoshi) ซึ่งจะถูกอัญเชิญแห่ในพิธี (มัตสึริ; matsuri) ทั้งคู่ก็จัดเป็นศาลเจ้าชินโตประเภทหนึ่งเช่นกัน