ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พระสุริโยทัย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไทๆ (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 20:
[[ไฟล์:Queen Suriyothai elephant combat.jpg|thumb|right|250px|พระสุริโยทัย (กลาง) ไสช้างเข้าขวางช้าง[[สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ]] (ขวา) ซึ่งกำลังเสียทีช้างพระเจ้าแปร (ซ้าย) ใน[[สงครามพระเจ้าตะเบ็งชเวตี้]] (จิตรกรรมฝีพระหัตถ์[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์]])]]
 
[[พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ ทนุมา(เจิม)]] ระบุว่า เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2091 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิเสด็จออกไปดูกำลังข้าศึกที่ภูเขาทอง<ref name="สารานุกรมไทย">[http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK21/chapter2/t21-2-m.htm วีรสตรีไทย: สมเด็จพระสุริโยทัย]. สารานุกรมไทยฉบับเยาวชนฯ ฉบับที่ ๒๑. สืบค้น 28 สิงหาคม 2553</ref> พระสุริโยทัยพร้อมด้วยพระราชโอรสพระราชธิดารวม 4 พระองค์ตามเสด็จด้วย โดยพระองค์ทรงแต่งกายอย่าง[[พระมหาอุปราช]] ทรงช้างพลายทรงสุริยกษัตริย์สูง 6 ศอก<ref>''พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 79''</ref> ครั้นยกกองทัพออกไปบริเวณทุ่งภูเขาทอง กองทัพอยุธยาปะทะกับกองทัพพระเจ้าแปร ซึ่งเป็นทัพหน้าของพม่า ช้างทรงของสมเด็จพระมหาจักรพรรดิเกิดเสียทีหันหลังหนีจากข้าศึก พระเจ้าแปรก็ทรงขับช้างไล่ตามมาอย่างกระชั้นชิด พระสุริโยทัยทอดพระเนตรเห็นพระราชสวามีกำลังอยู่ในอันตรายจึงรีบขับช้างเข้าขวางพระเจ้าแปร ทำให้ทรงไม่สามารถติดตามต่อไปได้<ref name="Wood 113">Wood, William A. R. (1924). History of Siam. Thailand: Chalermit Press. ISBN 1931541108. p. 113.</ref><ref name="Damrong 19">Prince [[Damrong Rajanubhab]], Disuankumaan (Originally in 1917, 2001 edition). Our Wars With The Burmese: Thai-Burmese Conflict 1539-1767. Thailand: White Lotus Co. Ltd. ISBN 9747534584. p. 19</ref> พระเจ้าแปรจึงทำยุทธหัตถีกับพระสุริโยทัย เนื่องจากพระนางอยู่ในลักษณะเสียเปรียบ ช้างพระเจ้าแปรได้เสยช้างพระสุริโยทัย จนเท้าหน้าทั้งสองลอยพ้นพื้นดิน แล้วพระเจ้าแปรจึงฟันพระสุริโยทัยด้วยพระแสงของ้าวต้องพระอังสาขาดถึงราวพระถัน<ref>''พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม), หน้า 81''</ref><ref name="สารานุกรมไทย"/> ส่วน[[พระราชพงศาวดารกรุงเก่า ฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ์]] ระบุว่ามีพระราชธิดาสิ้นพระชนม์บนคอช้างด้วย<ref>ฉบับหลวงประเสริฐ, ''พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) และเอกสารอื่น'', หน้า 497</ref><ref name="Wood 112">Wood, William A. R. (1924). History of Siam. Thailand: Chalermit Press. ISBN 1931541108. p. 112.</ref><ref>Prince [[Damrong Rajanubhab]], Disuankumaan (Originally in 1917, 2001 edition). Our Wars With The Burmese: Thai-Burmese Conflict 1539-1767. Thailand: White Lotus Co. Ltd. ISBN 9747534584. p.11.</ref><ref>Harvey, G. E. (1925). History of Burma: From the Earliest Times to 10 March 1824. London: Laurier Books Ltd. ISBN 8120613651. p. 159</ref>
 
ถึงแม้ว่าจะมีการสร้างพระราชานุสาวรีย์ขึ้นเฉลิมพระเกียรติพระองค์ขึ้นหลายแห่งในประเทศไทย แต่ตัวตนและความเสียสละของพระองค์ยังเป็นหัวข้อที่ยังเป็นที่โต้เถียงกันอยู่ เนื่องจากความจริงที่ว่าพระนามของพระองค์มิได้ถูกกล่าวถึงหรือบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์พม่าเลย<ref>[http://www.rebound88.net/sp/ngb/sthai5.html A Historical Divide] Subhatra Bhumiprabhas. Retrieved 2010-03-04</ref> และข้อเท็จจริงทั้งหมดเกี่ยวกับชีวิตของพระองค์ถูกคัดมาจากบางตอนของจดหมายเหตุกรุงศรีอยุธยาและการบรรยายของนักสำรวจชาวโปรตุเกส โดมิงกู เซชัส (Domingo Seixas)<ref>[http://www.asiaticafilmmediale.it/2001/uk2001/database/surijotai.html Suriyothai: The Sun and The Moon.] Retrieved 2010-03-04 {{Wayback|url=http://www.asiaticafilmmediale.it/2001/uk2001/database/surijotai.html|date =20060514084200|bot=DASHBot}}</ref>