ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Thesmallhead (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
บรรทัด 20:
 
== ประวัติ ==
'''หลวงประดิษฐไพเราะ''' มีนามเดิมว่า'''ศร''' ]เกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2424 เป็นบุตรนายสิน กับนางยิ้ม ชาวจังหวัดสมุทรสงคราม บิดาเป็นนักดนตรีและเจ้าของวงปี่พาทย์มีชื่อเสียง ภรรยาคนแรกชื่อ โชติ (นามสกุลเดิม หุราพันธ์) มีบุตรธิดา 7 คน ที่เป็นนักดนตรีมีชื่อเสียง คือ คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง และนางมหาเทพกษัตริย์สมุห( บรรเลง สาคริก) ภรรยาคนที่2 ชื่อ ฟู (น้องสาวนางโชติ ศิลปบรรเลง) มีบุตรธิดา 5 คน
หลวงประดิษฐ์ไพเราะ เริ้มเรียนดนตรีกับบิดา ต่อมาได้เป็นศิษย์ ครูรอด พระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) เรียนเพลงมอญกับ ครูสุ่ม ดนตรีเจริญ ได้รับมอบให้เป้นผู้อ่านโองการไหว้ครูจากบิดาเป็นมหาดเล็กในจอมพล สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข เจ้าฟ้าภาณุรังสีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ทำหน้าที่นักดนตรีและครูสอนดนตรี ต่อมาได้เป็นหัวหน้าวงวังบูรพาภิรมย์ ของพระองค์เข้ารับราชการประจำวงปี่พาทย์หลวงในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว จนถึงรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เป็นปลัดกรมปี่พาทย์หลวง เป็นพระอาจารย์สอนดนตรีไทยถวาย
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี บรมราชินี รวมทั้งมีส่วนช่วยถวายคำแนะนำการพระราชนิพนธ์เพลงไทย 3 เพลง คือเพลงราตรีประดับดาว เถา
เพลงเขมรลออองค์ เถา และโหมโรงคลื่นกระทบฝั่ง 3 ชั้น ทั้งยังเป็นผู้ช่วยในการก่อตั้งและฝึกสอนวงมโหรีส่วนพระองค์และวงมโหรีหญิงในราชสำนัก เป็นผู้ควบคุมวงวังลดาวัลย์และวงวังบางคอแหลมในพ.ศ. 2473ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ไปยังประเทศกัมพูชา พระเจ้ามณีวงศ์ทรงขอตัวไว้ช่วยสอนดนตรีไทยแก่นักดนตรีในราชสำนักระยะหนึ่ง ต่อมาเมื่อปรับเปลี่ยนระบบราชการ จึงย้ายไปสังกัดกรมศิลปากร จนเกษียณอายุ แล้วจึงสอนประจำวงของตนเอง ที่บ้านบาตร และสอนแก่สถาบันต่างๆเช่น โรงเรียนเทพศิรินทร์ โรงเรียนราชินี ศิษย์ที่มีชื่อเสียง เช่น นายรวม พรหมบุรี นายเผือด นักระนาด นายโชติ ดุริยประณีต นายชื้น ดุริยะประณีต นายเอื้อน ดิษฐ์เชย นายสมภพ ขำประเสริฐ นายประสิทธ์ ถาวร นายบุญยงค์ เกตุคง เรืออากาศเอกโองการ กลีบชื่น คุณหญิงชิ้น ศิลปบรรเลง
นางมหาเทพกษัตริย์สมุห นางจันทนา พิจิตรคุรุการ
หลวงประดิษฐ์ไพเราะ มีฝีมือในการบรรเลงเครื่องดนตรีได้ดีทุกชนิด ที่ได้รับยกย่องเป็นพิเศษคือ ระนาดเอก เป็นต้นตำหรับเพลงแบบต่างๆเช่น เพลงกรอสำเนียงอ่อนหวาน การบรรเลงเดี่ยวระนาดเอก 2 ราง แตี่งเพลงที่มีลูกนำขึ้นต้น ริเริ่มการบรรเลงรวมวงใหญ่ที่เป็นต้นแบบของมหาดุริยางค์ไทยในปัจจุบัน การนำอังกะลุงและปี่พาทย์มอญมาบรรเลงริเริ่มแต่งเพลงที่มีทางเปลี่ยนของเพลงท่อนต่างๆ และเป็นผู้คิดริเริ่มโน้ตเลข 9 ตัวเพื่อใช้สอนดนตรีไทย ได้แต่งเพลงไว้เช่น เพลงโอ้ลาว เถา(พ.ศ. 2456) เพลงเขมรพวง 3 ชั้น (พ.ศ. 2460) เพลงเชิดจีนทางวังบางคอแหลม เพลงพม่าห้าท่อน เถา (พ.ศ. 2473) เพลงแขกขาว เถา(พ.ศ. 2473)เพลงอะแซหวุ่นกี้ เถา (พ.ศ. 2475) เพลงนกเขาขะแมร์ (พ.ศ. 2476) เพลงลาวเสี่ยงเทียน เถา(พ.ศ. 2476) เพลงแสนคำนึง เถา (พ.ศ. 2483) เพลงไส้พระจันทร์ เถา (พ.ศ. 2490)
จอมพลสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช ประทานนามสกุล “ศิลปบรรเลง” แก่
หลวงประดิษฐ์ไพเราะ
บรรทัด 60:
สมเด็จวังบูรพาฯได้หาโอกาสให้จางวางศรประชันปี่กับพระยาเสนาะดุริยางค์อีกหลายครั้ง แต่ผลโดยสรุปต้องถือว่าพระยาเสนาะดุริยางค์เหนือกว่าในเชิงปี่ ครูเทียบ คงลายทอง ศิษย์เอกของท่านเป็นคนปี่ที่ "ยอดเยี่ยม" จริงๆ และทางปี่ของพระยาเสนาะดุริยางค์ก็แพร่หลายในวงการดนตรีไทยเช่นเดียวกับที่ทางระนาดเอกของหลวงประดิษฐไพเราะฯแพร่หลายมากที่สุด ต่างฝ่ายต่างมีอัจฉริยภาพเด่นสุดยอดกันคนละอย่าง นอกจากนั้น 2 ท่านยังแตกฉานในการบรรเลงเครื่องดนตรีอื่นๆด้วย ทั้ง ฆ้องใหญ่ ฆ้องเล็ก ระนาดทุ้ม ตลอดจน เครื่องสาย มโหรี สม ดังที่ ครูประสิทธิ์ ถาวร กล่าวว่า "ท่านเหล่านี้เทวดาส่ง มาเพื่อพัฒนาดนตรีไทย เราควรยกย่องเทิดทูนท่านมาก กว่าจะเอาความสามารถของท่านมาเปรียบเทียบกัน"
 
หลวงประดิษฐไพเราะ (จางวางศร) นั้น เลื่องลือมากในเรื่องการตีระนาดเอกไหว จางวางทั่ว พาทยโกศล เคยเล่าให้ศิษย์ฟังว่าเมื่อท่านเป็นคนฆ้องเล็กในวงปี่พาทย์ฤาษีฤๅษีนั้นต้อง "ฝึกไล่" หนักมาก เพราะเกรงจะตีไหวไม่ทันระนาดเอก ครูขำ กลีบชื่น ซึ่งเป็นคนเครื่องหนังเคยตีกลองทัดรุกหลวงประดิษฐไพเราะฯในตอนตีระนาดเพลงเชิดโหมโรง แต่หลวงประดิษฐไพเราะฯเร่งความเร็วไหวจนครูขำกลองตีตามไม่ทัน ครูถวิล อรรถ อรรถกฤษณ์ เล่า ว่า เมื่อตอนที่ท่านเร่งฝึกซ้อม ครูเผือด นักระนาด (ศิษย์เอกคน หนึ่งของท่าน) ท่านตีเดี่ยวกราวในคู่ไปกับครูเผือด ครูเผือดตีไหวจนสุดตัวแล้ว ครูหลวงประดิษฐไพเราะฯยังเร่งไหวมากขึ้นอีกได้อย่างสบายทั้งๆที่ตอนนั้นท่านอายุเกือบ 50 ปีแล้ว
 
หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เป็นผู้พัฒนาวิธีตีระนาดให้มีเทคนิคและชั้นเชิงมากยิ่งกว่าครูยุคก่อน และยุคหลังท่าน เมื่อตอนที่เตรียมตัวประชันกับพระยาเสนาะดุริยางค์ท่านใช้เทคนิคการตีสะบัดแบบต่างๆ ซึ่งช่วงแรกๆครูผู้ใหญ่ในยุคนั้นไม่ยอมรับ บางคนถึงกับกล่าวว่า "นายศรเธอตีระนาดแบบนี้จะไปสู้กับนายแช่มเขาได้อย่างไร" แต่ในที่สุดวงการปี่พาทย์ก็ยอมรับว่าการตีสะบัดแบบต่างๆอย่างพอเหมาะพอดี เช่น สะบัด 2 เสียง สะบัด 3 เสียง นั้น ช่วยเพิ่มรสชาติให้เพลงมากทีเดียว
บรรทัด 73:
จึงกล่าวโดยสรุปได้ว่าหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เป็นผู้รวบรวมสัมฤทธิ์ภาพเรื่องระนาดเอกจากยุคก่อนมาไว้มากที่สุด ทั้งยังคัดสรรค์และสร้างเสริมวิธีตีระนาดเอกให้หลากหลายไพเราะยิ่งขึ้น จนได้รับยกย่องว่าเป็นนักระนาดเอก และครูระนาดเอกที่ยอดเยี่ยมที่สุดท่านหนึ่งของเมืองไทย
 
หลวงประดิษฐไพเราะฯเป็นบุตรคนเล็กของ ครูสิน ศิลปบรรเลง และ นางยิ้ม เกิดเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2424 ที่บ้านตำบลคลองดาวดึงส์ อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม มีวิถีชีวิตและผลงานในเรื่องของดนตรีไทยสรุปได้ดังนี้
 
ปี พ.ศ. 2442 ได้เข้าเป็นจางวางมหาดเล็กในสมเด็จเจ้าฟ้าภานุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช