ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ลูกเดือย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Tris T7 (คุย | ส่วนร่วม)
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 25:
 
== การใช้ประโยชน์ ==
เดือยพบตามธรรมชาติใน[[เอเชียใต้]]และ[[เอเชียตะวันออกเฉียงใต้]] เป็นพืชอาหารที่แพร่หลายในจีนก่อนที่จะปลูกข้าวและ[[ข้าวโพด]]กันอย่างแพร่หลาย เมล็ดเดือยนำมาหุงได้เช่นเดียวกับข้าว และใช้รับประทานแทนข้าวได้ ใช้ทำขนมหรือทำเค้กได้ แป้งจากเดือยเมื่อนำไปอบจะไม่ฟูเพราะไม่มีกลูเต็น เมล็ดเดือยดิบมีรสหวาน ใน[[ญี่ปุ่น]]นำเมล็ดเดือยไปคั่วแล้วชงเป็นชา ใน[[ฟิลิปปินส์]]และชาวเขาในอินเดียนำเมล็ดไปตำละเอียดแล้วหมักเป็น[[เบียร์]] ลำต้นใช้เลี้ยงสัตว์ได้ หรือนำมามุงหลังคา เมล็ดที่มีเปลือกแข็งนำมาร้อยเป็นลูก[[ประคำ]] หรือใช้ในงานฝีมือต่างๆต่าง ๆ เมล็ดเดือยมีไขมันและโปรตีนสูงกว่าข้าวและ[[ข้าวสาลี ]]มีสาร coixol มีฤทธิ์เป็นยาบรรเทาปวด อิกบี๋ยิ้งนี้ตำรายาจีนใช้เป็นยาต้านภูมิแพ้ รักษาสิวและฝีหนอง<ref>ภาสกิจ วัณณาวิบูล. รู้เลือกรู้ใช้ 100 ยาจีน. กทม. ทองเกษม. 2555</ref>
 
== คุณค่าทางอาหาร ==
ลูกเดือยมีคุณค่าทางอาหารสูง เพราะมีปริมาณโปรตีน 13.84% คาร์โบ-ไฮเดรต 70.65% ใยอาหาร 0.23% ไขมัน 5.03% แร่ธาตุต่างๆ อีกมากมาย โดยเฉพาะฟอสฟอรัส ซึ่งช่วยบำรุงกระดูก มีอยู่ในปริมาณสูง รวมทั้งวิตามินเอ ที่ช่วยบำรุงสายตา วิตามินบี 1 และวิตามินบี 2 โดยเฉพาะวิมามินบี 1 มีในปริมาณ มาก (มีมากกว่าข้าวกล้อง) ซึ่งช่วยแก้โรค เหน็บชาด้วย ลูกเดือยยังมีกรดอะมิโนทุกชนิดที่สูงกว่าความต้องการตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก ยกเว้นเมทไธโอนีนและไลซีน เช่น มีกรดกลูตามิกในปริมาณมากตามด้วยลูซีน, อลานีน,โปรลีน วาลีน, ฟินิลอลานีน, ไอโซลูซีน และอาร์จีนีนลดหลั่นลงมา มีกรดไขมันจำเป็นชนิดที่ไม่อิ่มตัวด้วย เช่น กรดโอเลอิค และกรดลิโนเลอิก รวมแล้วถึง 84% และเป็นกรดไขมันชนิดอิ่มตัว คือ ปาล์มิติก และสเตียริก เพียง 16% เท่านั้น