ผลต่างระหว่างรุ่นของ "รายชื่อคลองในกรุงเทพมหานคร"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 23:
#คลองวัดเทพธิดา จากคลองตลาด ถึงคลองโอ่งอ่าง
#คลองวัดราชบพิธ จากคลองตลาดถึงคลองโอ่งอ่าง
[[File:Khlong in Bangkok - panoramio.jpg|thumb|คลองมหานาค]]
#[[คลองมหานาค]] จากคลองบางลำพู ถึงคลองผดุงกรุงเกษม
#คลองบางกะปิ จากคลองผดุงกรุงเกษม ถึงเขตเทศบาลนครกรุงเทพฯ (หลักเขตที่ 6) แยกจาก[[คลองแสนแสบ]]ฝั่งซ้าย โดยเริ่มต้น แยกจากคลองแสนแสบฝั่งซ้าย ไหลไปทางทิศเหนือ ก่อนไปบรรจบกับ[[คลองสามเสน]] คลองบางกะปิสายปัจจุบันแต่เดิมเป็นคลองที่ใช้สำหรับสัญจรทางน้ำ ในปัจจุบันไม่ได้ใช้สัญจรแล้ว ลำคลองในปัจจุบันกว้างประมาณ 10-12 เมตร สภาพน้ำในคลองเน่าเสีย เนื่องจากมีคนมักง่ายชอบทิ้งขยะลงคลอง โดยล่าสุดทางกรุงเทพมหานครได้ติดป้ายสาปแช่งผู้ที่ทิ้งขยะลงคลองบางกะปิ โดยสาปแช่งให้ผู้ที่ทิ้งขยะลงคลองจงมีแต่ปัญหาและอุปสรรคตลอดเวลา<ref>{{cite web|title=เปิดตัวเจ้าของไอเดีย ป้ายสาปแช่งคนทิ้งขยะ อึ้ง! ได้ผลกว่าจับปรับ|url= https://www.thairath.co.th/content/454263|date=2014-10-02|work=[[ไทยรัฐ]]}}</ref>
เส้น 29 ⟶ 30:
#คลองหัวลำโพง จากคลองผดุงกรุงเกษม ถึงคลองเตย ในอดีตเป็นคลองสายสำคัญสายหนึ่ง โดยเป็นคลองที่ขุดขึ้นในรัชสมัยของ[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่4 เมื่อปี [[พ.ศ. 2400]] โดยขุดจาก[[คลองผดุงกรุงเกษม]] ไปทางทิศตะวันออก และไปบรรจบ[[คลองเตย]]และ[[คลองพระโขนง]] โดยนำดินที่ขุดคลองดังกล่าวมาถมสร้างเป็นถนนขนานไปกับคลอง นั่นคือ ถนนตรง หรือ [[ถนนพระรามที่ 4]] ในปัจจุบัน ต่อมาในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว]] รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขยายถนนพระรามที่ 4 และเป็นผลทำให้คลองหัวลำโพงที่ขนานอยู่ริมถนนต้องถูกถมทิ้งเพื่อขยายถนน ซึ่งทำให้ถนนพระรามที่ 4 มีขนาดกว้างใหญ่อย่างที่เห็นในปัจจุบันนี้ ส่วนคลองหัวลำโพงในปัจจุบันปรากฏให้เห็นเพียงแค่ช่วงระหว่างคลองเตยถึงคลองพระโขนงเท่านั้น
#คลองสวนหลวง จากคลองนางหงษ์ ถึงคลองหัวลำโพง
#คลองอรชร จากคลองบางกะปิ ถึงคลองหัวลำโพง ปัจจุบันถูกถมเป็น[[ถนนอังรีดูนังต์]]
#คลองราชดำริ จากคลองบางกะปิ ถึงถนนพระราม4
#คลองไผ่สิงห์โต จากคลองราชดำริ ถึงคลองหัวลำโพง
เส้น 72 ⟶ 73:
#คลองหัวลำโพงเก่า จากตรงตรอกสะพานสว่าง ถึงถนนสี่พระยา [[ภาพ:Si Phraya in Khet Bang Rak - canal named Khlong Chong Nonsi IMG 7429.jpg|thumb|คลองช่องนนทรี]]
#คลองช่องนนทรี จากถนนสี่พระยา ถึงเขตเทศบาลนครกรุงเทพฯ ระหว่างหลักเขตที่ 9-10 เป็นเกาะกลางของ[[ถนนนราธิวาสราชนครินทร์]] เป็นคลองที่แยกมาจาก[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] ในพื้นที่[[เขตยานนาวา]] ผ่านแยกพระรามที่ 3 - นราธิวาส จากนั้นลำคลองทั้ง 2 ฝั่งขนานไปกับ[[ถนนนราธิวาสราชนครินทร์]] ตัดกับ[[ถนนจันทน์เก่า]] เข้าสู่พื้นที่[[เขตสาทร]] ลำคลองยังคงขนานไปกับถนนนราธิวาสฯ จากนั้นตัดกับ[[ถนนสาทร]] เข้าสู่[[เขตบางรัก]] คลองสายนี้จึงไปสิ้นสุดที่แยกนราธิวาส ซึ่งเป็นช่วงที่ถนนนราธิวาสฯ ตัดกับ[[ถนนสุรวงศ์]] คลองช่องนนทรีมีความกว้างช่วงปากคลองประมาณ 20 เมตร ส่วนช่วงที่เลียบไปกับถนนนราธิวาสฯ มีความกว้างประมาณ 6-8 เมตร สภาพน้ำในคลองช่วงปากคลองสะอาด ส่วนสภาพน้ำในคลองช่วงเลียบถนนนราธิวาสฯ มีสภาพเน่าเสียเป็นบางช่วง
[[File:Bangkok - Sathon Road at rush hour.jpg|thumb|คลองสาทร ที่ปัจจุบันเป็นตัวแบ่งถนนสาทรออกเป็น 2 สาย คือ ถนนสาทรเหนือ (ซ้าย, เป็นพื้นที่[[เขตบางรัก]]) และถนนสาทรใต้ (ขวา, พื้นที่[[เขตสาทร]])]]
#[[คลองสาทร]] ขุดแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณใกล้วัดยานนาวาไปบรรจบคลองหัวลำโพง ซึ่งในปัจจุบันถูกถมเป็นถนนพระรามที่ 4
#คลองข้างบ้านหมอเฮย์ จากคลองสีลม ถึงคลองสาธร
เส้น 99 ⟶ 101:
#คลองบ้านม้า เป็นคลองสายสำคัญในพื้นที่ฝั่งตะวันออกของ[[กรุงเทพมหานคร]] เริ่มต้นโดยแยกมาจาก[[คลองประเวศบุรีรมย์]] จากนั้นตัดกับ[[คลองบึง]] (คลองบ้านม้าสายเก่า) ไหลไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ไหลผ่าน[[ถนนศรีนครินทร์]] ตั้งแต่ไหลผ่านบริเวณนี้เป็นต้นไปมีชื่อเรียกว่า "คลองหัวหมาก" จากนั้นไหลขึ้นไปทางทิศเหนือและทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ไหลผ่านถนนศรีนครินทร์อีกครั้ง และไหลผ่าน[[ทางหลวงพิเศษหมายเลข 7]] (มอเตอร์เวย์) ไปทางทิศเหนือและทิศตะวันตก จากนั้นตัดกับ[[คลองกะจะ]] และไหลไปทางทิศเหนือ ตั้งแต่ช่วงนี้มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า "คลองลำสาลี" ก่อนจะหักไปทางทิศตะวันตก และไหลโค้งไปทางทิศตะวันออกและทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงนี้มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "คลองหัวหมากน้อย" จากนั้นจึงกลับมาเป็นคลองบ้านม้าเช่นเดิม ก่อนลอดผ่าน[[ถนนรามคำแหง]]และเลียบไปกับ[[ถนนศรีบูรพา]] และไปออก[[คลองแสนแสบ]] คลองบ้านม้ามีความกว้างตลอดสายประมาณ 5-22 เมตร สภาพน้ำในคลองสะอาดร้อยละ 60 และเน่าเสียร้อยละ 40 ปัจจุบันยังคงมีชาวบ้านที่เป็นชาวไทยพุทธและไทยมุสลิมอาศัยอยู่ริมคลองนี้อยู่บ้าง ในอดีตใช้สำหรับการสัญจรทางน้ำและใช้ในการอุปโภคบริโภค
# [[คลองประเวศบุรีรมย์]] เป็นคลองขุด ต่อจากคลองพระโขนงไปเชื่อมกับ แม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
[[file:WP 20130311 001 1.jpg|thumb|คลองพระโขนง]]
# [[คลองพระโขนง]] เชื่อมกับคลองด่าน ออกสู่แม่น้ำบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา
# คลองพลับพลา เป็นคลองสำคัญในพื้นที่[[เขตวังทองหลาง]] แยกจาก[[คลองแสนแสบ]]ฝั่งซ้าย ไหลไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ไหลผ่านด้านหลังของ[[สถานีตำรวจนครบาลวังทองหลาง]] จากนั้นไหลผ่าน[[ถนนประดิษฐ์มนูธรรม]] และไปออก[[คลองลาดพร้าว]] คลองพลับพลาในปัจจุบันมีความกว้างประมาณ 8-11 เมตร สภาพน้ำในคลองสะอาด ในอดีตใช้สำหรับการสัญจรทางน้ำ
เส้น 155 ⟶ 158:
# คลองบางพระครู เป็นคลองที่แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งธนบุรีใน[[เขตบางพลัด]] ลำคลองไหลผ่าน[[ถนนจรัญสนิทวงศ์]] แนวคลองขนานไปกับ[[สำนักงานเขตบางพลัด]]จากนั้นลำคลองได้ไหลเข้าไปในชุมชนต่างๆ ไปจนสุดคลอง คลองบางพระครูมีความกว้างประมาณ 5 - 8 เมตร
# คลองบางยี่ขัน เป็นคลองสายหนึ่งที่แยกมาจาก[[แม่น้ำเจ้าพระยา]] ไหลผ่าน[[วัดอมรคีรี]] [[ถนนอรุณอมรินทร์]] [[วัดน้อยนางหงส์]] [[วัดบางยี่ขัน]] [[ถนนจรัญสนิทวงศ์]] ผ่านหลัง[[เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์]] ปิ่นเกล้า ก่อนบรรจบกับ[[คลองบางบำหรุ]] คลองบางยี่ขันมีความกว้างประมาณ 5-9 เมตร สภาพน้ำในคลองเน่าเสีย ยกเว้นช่วงที่ไหลผ่านวัดน้อยนางหงษ์มีสภาพน้ำในคลองที่สะอาด และจุดนี้มีปลาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก จนมีบางคนเรียกว่า วังมัจฉา วัดน้อยนางหงษ์
[[file:คลองมหาสวัสดิ์.jpg|thumb|คลองมหาสวัสดิ์]]
# คลองผักหนาม หรือที่ในอดีตเรียกว่า คลองบางผักหนาม เป็นคลองที่แยกมาจาก[[คลองบางกอกน้อย]] ในพื้นที่[[เขตบางกอกน้อย]] จากนั้นไหลผ่าน[[ถนนบรมราชชนนี]] เข้าสู่[[เขตบางพลัด]] และไปบรรจบกับ[[คลองบางยี่ขัน]] คลองผักหนามมีความกว้างประมาณ 5-7 เมตร สภาพน้ำในคลองเน่าเสีย
# [[คลองพระยาราชมนตรี]] หรือที่เรียกกันสั้น ๆ คือ คลองราชมนตรี เป็นคลองใช้สำหรับการระบายน้ำ การสัญจรทางน้ำ และการท่องเที่ยว โดยคลองนี้เป็นคลองที่ขุดโดย[[พระยาราชมนตรี]] (ภู่ ภมรมนตรี) ในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยขุดแยกจาก[[คลองบางเชือกหนัง]] เชื่อมกับ[[คลองสนามชัย]] ในเวลาต่อมาได้มีการขุด[[คลองภาษีเจริญ]]ตัดกับคลองนี้ในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 ทำให้การค้าขายและการคมนาคมสะดวกขึ้น โดยคลองพระยาราชมนตรีในปัจจุบันนี้มีความกว้างประมาณ 10-25 เมตร ระยะทางตั้งแต่คลองบางเชือกหนังถึงคลองสนามชัยประมาณ 15 กิโลเมตร สภาพน้ำในคลองสะอาด สำหรับคลองนี้ถือเป็นคลองเก่าแก่ที่ควรอนุรักษ์ไว้สืบไป
# [[คลองภาษีเจริญ]] เริ่มต้นที่บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่และคลองบางขุนศรีมาบรรจบกัน ลอดผ่าน[[ถนนราชพฤกษ์]] ถนนบางแค [[ถนนกาญจนาภิเษก]] ถนนบางบอน 3 ไปเชื่อมแม่น้ำท่าจีนที่ตำบลดอนไก่ดี จังหวัดสมุทรสาคร
[[file:คลองลัดมะยม - panoramio (10).jpg|thumb|คลองลัดมะยม]]
# [[คลองมหาสวัสดิ์]] หรือคลองชัยพฤกษ์ เป็นคลองที่เริ่มต้นจาก[[คลองลัดบางกรวย]]หรือ[[คลองบางกอกน้อย]] ใกล้[[วัดชัยพฤกษมาลา]] ไหลผ่านเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่าง[[อำเภอบางกรวย]] [[จังหวัดนนทบุรี]] กับ[[เขตตลิ่งชัน]]และ[[เขตทวีวัฒนา]] [[กรุงเทพมหานคร]] ผ่าน[[อำเภอพุทธมณฑล]] ไปออกแม่น้ำท่าจีนที่ตำบลงิ้วราย [[อำเภอนครชัยศรี]] [[จังหวัดนครปฐม]]
#คลองลัดมะยม ถือเป็นคลองสายสำคัญอีกสายใน[[เขตตลิ่งชัน]] ซึ่งใช้สำหรับการสัญจรทางน้ำและการท่องเที่ยว โดยคลองดังกล่าวได้แยกมาจาก[[คลองบ้านไทร]] ไหลลงมาทางทิศใต้ ตัดกับ[[คลองบางระมาด]] [[คลองบางพรม]] [[คลองบางน้อย]] ก่อนไปสิ้นสุดที่[[คลองบางเชือกหนัง]] คลองลัดมะยมมีความกว้างประมาณ 7-15 เมตร น้ำในคลองสะอาด เป็นที่ตั้งของ[[ตลาดน้ำคลองลัดมะยม]] ซึ่งเป็นตลาดน้ำที่มีชื่อเสียงในเขตตลิ่งชัน และในปัจจุบันยังคงเปิดกิจการอยู่ โดยเปิดทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 09.00-15.00 น.