ผลต่างระหว่างรุ่นของ "คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BunBn (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่ 7893200 สร้างโดย 61.7.252.105 (พูดคุย)
ป้ายระบุ: ทำกลับ
BunBn (คุย | ส่วนร่วม)
ปรับคำที่สื่อไปในทางโฆษณา
บรรทัด 14:
| เฟสบุค = {{URL|https://www.facebook.com/medicine.chulalongkornuniversity|คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย}}
}}
'''คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย''' เป็นหน่วยงานระดับ[[คณะวิชา]]ของ[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]] มี[[พระราชกฤษฎีกา]]ประกาศตั้งเมื่อวันที่ [[ 22 พฤษภาคม]] [[พ.ศ. 2490]] มีผลบังคับใช้ในวันที่ [[4 มิถุนายน]] [[พ.ศ. 2490]] โดยสังกัดอยู่ภายใต้[[มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์]] จนกระทั่งถูกโอนมาสังกัด[[จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย]]ในปี [[พ.ศ. 2510]] เป็น[[รายชื่อคณะและวิทยาลัยแพทยศาสตร์ในประเทศไทย|คณะแพทยศาสตร์]]แห่งที่ 2 ของ[[ประเทศไทย]] ถือกำเนิดจากพระราชปรารภใน[[พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร]] รัชกาลที่ 8 การดำเนินการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์แห่งนี้เริ่มขึ้นภายหลัง[[สงครามโลกครั้งที่ 2]] ยุติลงเพียงแปดเดือนเท่านั้น ถือเป็นช่วงเวลาที่[[ประเทศไทย]] ประสบความยากลำบากทางการเมืองและเศรษฐกิจเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งจำเป็นต้องมีการบูรณะบ้านเมืองที่เสียหายจากการทิ้งระเบิด คณะแพทยศาสตร์แห่งนี้จึงมีส่วนสำคัญเป็นหนึ่งในการพัฒนาวงการสาธารณสุขของประเทศ ในช่วงเวลาที่ประเทศกำลังอยู่ในภาวะวิกฤต ควบคู่ไปกับการพัฒนามาตรฐาน[[แพทยศาสตรศึกษา]] ปัจจุบันคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นศูนย์ความร่วมมือของ[[องค์การอนามัยโลก]] 3 สาขา ได้แก่ ศูนย์ความร่วมมือด้าน[[แพทยศาสตรศึกษา]] ศูนย์ความร่วมมือด้านการวิจัย[[การสืบพันธุ์]]ของ[[มนุษย์]] ศูนย์ความร่วมมือด้าน[[การวิจัย]]และฝึกอบรมด้าน[[ไวรัส]]และ[[โรคติดต่อ]]จากสัตว์สู่คน<ref>[http://apps.who.int/whocc/Detail.aspx?cc_ref=THA-73&cc_code=tha WHO Collaborating Center for Medical Education ]</ref><ref>"WHOCC - WHO Collaborating Centres." WHOCC - WHO Collaborating Centres. Accessed March 31, 2017. http://apps.who.int/whocc/Detail.aspx?cc_ref=THA-73&cc_city=bangkok&.</ref><ref name=":0" /><ref name=":1" />
 
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดำเนินงานร่วมกับ[[โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์]] [[สภากาชาดไทย]]<ref name=":2">สภากาชาดไทย. "รพ.จุฬาลงกรณ์ ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เปิดตัววารสาร “ฬ.จุฬา”." รพ.จุฬาลงกรณ์ ร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เปิดตัววารสาร "ฬ.จุฬา" | Welcome to The Thai Red Cross Society. April 01, 2016. Accessed May 15, 2017. http://www.redcross.or.th/news/information/53044.</ref> มีหน้าที่หลักในการผลิตบัณฑิตทั้งในระดับปริญญาบัณฑิตและบัณฑิตศึกษา การวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ทางการแพทย์และสหศาสตร์<ref name=":2" /> เผยแพร่ความรู้สู่สังคมและให้การบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขแก่ประชาชนทั่วไป มีชื่อเสียงและผลงานด้านการรักษาพยาบาล รวมถึงงานวิจัยที่ได้รับการยอมรับทั้งในระดับชาติและนานาชาติ