ผลต่างระหว่างรุ่นของ "การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ พ.ศ. 2553"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
Khampirat (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 9:
 
ผู้ชุมนุมส่วนมากเดินทางมาจากต่างจังหวัด แต่ก็มีชาวกรุงเทพมหานครส่วนหนึ่งเข้าร่วมการชุมนุมเช่นกัน<ref>{{cite news |url=http://news.bbc.co.uk/1/hi/world/asia-pacific/8681833.stm|title=Deadly clashes as police besiege Bangkok protesters|publisher=BBC News|date=14 May 2010|accessdate=16 May 2010 }}</ref> การชุมนุมเมื่อวันที่ 14 มีนาคม สื่อต่างประเทศรายงานว่าเป็นการชุมนุมครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ไทย<ref>IPS, [http://ipsnews.net/news.asp?idnews=50656 In Convoys of Red, Rural Masses Stage Historic Protest], 14 March 2010</ref> โดยในช่วงแรก การชุมนุมเกิดขึ้นที่[[สะพานผ่านฟ้าลีลาศ]]บน[[ถนนราชดำเนิน]]และเป็นไปโดยสงบ กลุ่มผู้ชุมนุมใช้มาตรการต่าง ๆ เช่น การเดินขบวนรอบกรุงเทพมหานคร การรวบรวมเลือดไปเทที่หน้าประตูทำเนียบรัฐบาล หน้าที่ทำการพรรคประชาธิปัตย์ และหน้าบ้านพักอภิสิทธิ์เพื่อกดดันรัฐบาล จากนั้นมีการเจรจาระหว่างรัฐบาลกับผู้ชุมนุมสองครั้ง ได้ข้อสรุปว่าจะมีการยุบสภา แต่ไม่สามารถสรุปวันเวลาได้ โดยทั้งก่อนและระหว่างการชุมนุม มีการยิงลูกระเบิดชนิดเอ็ม-79 หลายสิบครั้ง แต่ก็ไม่สามารถหาตัวผู้กระทำมาลงโทษได้แม้แต่คนเดียว<ref>PRD, [http://thainews.prd.go.th/en/news.php?id=255305050055 DSI: Origin of Silom grenade attacks yet to be concluded : National News Bureau of Thailand], 5 May 2010</ref>อย่างไรก็ตามกรมสอบสวนคดีพิเศษแถลงจับผู้ต้องสงสัย 3 ราย<ref>http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1272878979</ref>
วันที่ 15 มีนาคม ทหารบาดเจ็บสาหัส 2 ราย จากการยิงลูกระเบิดชนิดเอ็ม-79 ได้แก่ จ.ส.อ.ปรีชา ปานสมุทร ผบ.กองรักษาการณ์ พลทหารหนุ่ม ศรีเฟื้อง ทหารเวรยาม<ref>[http://www.komchadluek.net/news/crime/52136 ยิงระเบิดM79ใส่ร.1พัน1รอ.ทหารเจ็บ2]</ref>
 
ความตึงเครียดเพิ่มมากขึ้นเมื่อเข้าสู่เดือนเมษายน กลุ่มผู้ชุมนุมปิดการจราจรที่[[แยกราชประสงค์]] รวมทั้งสร้างแนวป้องกันในบริเวณโดยรอบ วันที่ 8 เมษายน อภิสิทธิ์ประกาศ[[สถานการณ์ฉุกเฉิน]]ที่มีความร้ายแรง โดยห้ามการชุมนุมทางการเมืองเกินกว่าห้าคนขึ้นไป และในวันที่ 10 เมษายน กำลังทหารเข้าสลายการชุมนุมที่สะพานผ่านฟ้าลีลาศ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 24 ศพ มีช่างภาพชาวญี่ปุ่นเสียชีวิตรวมอยู่ด้วย 1 คน และทหารเสียชีวิต 5 นาย ตลอดจนมีผู้ได้รับบาดเจ็บอีกมากกว่า 800 คน สื่อไทยเรียกการสลายการชุมนุมดังกล่าวว่า "'''เมษาโหด'''"<ref>บ้านเมือง, [http://www.ryt9.com/s/bmnd/886959 สะเก็ดการเมือง: หมอพรทิพย์ ลุยสอบเมษาโหด], 23 เมษายน 2553</ref> วันที่ 14 เมษายน แกนนำประกาศรวมที่ชุมนุมไปยังแยกราชประสงค์เพียงแห่งเดียว วันที่ 22 เมษายน เหตุปาระเบิดมือทำให้มีผู้เสียชีวิต 1 คน และได้รับบาดเจ็บอีก 86 คน กลุ่มคนเสื้อแดงบางส่วนบุกเข้าไปในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เพื่อหาตัวผู้ลงมือ แต่หาไม่พบ ผู้เชี่ยวชาญด้าน[[นิติวิทยาศาสตร์]] [[พรทิพย์ โรจนสุนันท์]] ในภายหลังชี้ว่าโรงพยาบาลอาจเป็นแหล่งของผู้ลงมือ แต่ไม่มีการจับกุมผู้กระทำแต่อย่างใด<ref>PRD, [http://thainews.prd.go.th/en/news.php?id=255305050055 DSI: Origin of Silom grenade attacks yet to be concluded : National News Bureau of Thailand], 5 May 2010</ref> เมื่อวันที่ 28 เมษายน ระหว่างที่ผู้ชุมนุมจากแยกราชประสงค์ กำลังเดินทางไปให้กำลังใจกลุ่มผู้ชุมนุมที่[[ตลาดไท]] ย่านรังสิต ชานกรุงเทพมหานคร แต่ถูกเจ้าหน้าที่ทหารตั้งแนวขวางกั้น กลาง[[ถนนวิภาวดีรังสิต]] จนเกิดการปะทะกัน โดยมีทหารเสียชีวิต 1 นาย ในเหตุการณ์นี้