ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาในอิตาลี"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
BotKung (คุย | ส่วนร่วม)
เก็บกวาดบทความด้วยบอต
Anonimeco (คุย | ส่วนร่วม)
ปรับปรุงบางส่วน
บรรทัด 4:
'''สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี''' ([[ภาษาอังกฤษ]]: '''Italian Renaissance''') เป็นจุดแรกของการเริ่ม[[สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา]]ซึ่งเป็นช่วงเวลาของความเจริญทางวัฒนธรรมที่สูงสุดในยุโรปที่เริ่มตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 13 ไปจนสิ้นสุดลงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 16 ที่เป็นช่วงเวลาที่เชื่อมระหว่าง[[ยุคกลาง]]ของยุโรปกับ[[ยุโรปสมัยใหม่ตอนต้น]] (Early Modern Europe)
 
คำว่า “เรอเนสซองซ์” เป็นคำสมัยใหม่ที่มาใช้กันในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในงานของนักประวัติศาสตร์เช่น[[เจคอป เบิร์คฮาร์ดท์]] (Jacob Burckhardt) ที่มาของขบวนการฟื้นฟูศิลปวิทยาจะเริ่มจากการวิวัฒนาการทางวรรณกรรมของผู้ก่อตั้งในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14 แต่ วัฒนธรรมด้านอื่นๆอื่น ๆ ของอิตาลีในขณะนั้นยังคงเป็นวัฒนธรรมของยุคกลาง ปรัชญาฟื้นฟูศิลปวิทยามิได้แพร่หลายอย่างเต็มที่จนกระทั่งปลายคริสต์ศตวรรษที่ 14 คำว่า “เรอเนสซองซ์” หรือ “Rinascimento” ในภาษาอิตาลีหมายความว่า “เกิดใหม่” และเป็นสมัยที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในการฟื้นฟูความสนใจในวัฒนธรรมของกรีกโรมันหลังจากสมัยที่[[นักมนุษย์วิทยาเรอเนสซองซ์]] (Renaissance humanist) ตั้งชื่อว่า[[ยุคมืด]] (Dark Ages) ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญแต่จำกัดอยู่แต่ในกลุ่มชนชั้นสูงและทิ้งให้ประชากรส่วนใหญ่ในยุโรปยังมีความเป็นอยู่ที่ไม่ต่างจากสมัยกลางที่ผ่านมา
 
สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีเริ่มใน[[ทัสเคนี]]โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่[[ฟลอเรนซ์]]และ[[เซียนา]] และต่อมาใน[[เวนิส]]ที่มีผลเป็นอันมาก เพราะงานต่างๆต่าง ๆ ของ[[กรีกโบราณ]]ถูกนำไปรวบรวมไว้ที่เวนิสซึ่งทำให้กลายเป็นแหล่งความรู้ต่างๆต่าง ๆ ที่ใหม่ๆใหม่ ๆ ให้แก่[[ลัทธิมนุษยนิยม|นักมนุษยนิยม]] ผู้คงแก่เรียนในเวนิสในขณะนั้น ต่อมาปรัชญาฟื้นฟูศิลปวิทยาก็มามีอิทธิพลใน[[กรุงโรม]] ที่ทำให้เกิดการสร้างสิ่งก่อสร้างใหม่ๆใหม่ ๆ มากมายที่ส่วนใหญ่โดยการอุปถัมภ์ของพระสันตปาปาในคริสต์ศตวรรษที่ 16 สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีรุ่งเรืองที่สุดในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 15 หลังจากนั้นก็ลดถอยลงหลังจากการรุกรานจากต่างประเทศที่ก่อสงครามในอิตาลี แต่การฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีก็มิได้หยุดนิ่งลงแต่เผยแพร่ไปทั่วยุโรปและเริ่ม[[สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาตอนเหนือ]]ของยุโรปและ[[สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาอังกฤษ]]และประเทศอื่นๆอื่น ๆ ในยุโรป
 
สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของอิตาลีเป็นที่รู้จักกันดีที่สุดในความสำเร็จทางด้าน[[วัฒนธรรม]] [[วรรณกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยา]]ของอิตาลีรวม[[ลัทธิมนุษยนิยม|นักมนุษยนิยม]]ผู้มีชื่อเสียงเช่น[[เปตราก]]ที่รู้จักกันดีในงาน[[ซอนเน็ต]] “Il Canzoniere”; [[จิโอวานนิโจวันนี บอคคาซิโอบอกกัชโช]] (Giovanni Boccaccio) ในงานเรื่องเล่า “Decameron” และ[[นักมนุษย์วิทยาเรอเนสซองซ์]]เช่น[[โปลิซิอาโน]] (Poliziano), [[มาร์ซิลิโอ ฟิซิโน]] (Marsilio Ficino), [[โลเร็นโซ วาลลา]] (Lorenzo Valla), [[อัลโด มานูซิโอ]] (Aldo Manuzio), [[โพจจิโอ บราชชิโอลินิ]] (Poggio Bracciolini) นอกจากนั้นก็มีนักประพันธ์[[มหากาพย์เรอเนสซองซ์]]เช่น[[บัลดัสซาเร คาสติกลิโอเน]] (Baldassare Castiglione) (“The Book of the Courtier”), [[ลุโดวิโค อริโอสโต]] (Ludovico Ariosto) (“Orlando Furioso”) และ[[ทอร์ควาโท ทาสโซ]] (Torquato Tasso) (“Jerusalem Delivered”) และนักประพันธ์ร้อยแก้วเช่น[[นิคโคโล มาเคียเวลลี]] (“The Prince”) [[จิตรกรรมเรอเนสซองซ์อิตาลี]]เป็นจิตรกรรมที่มีอิทธิพลต่อ[[จิตรกรรมตะวันตก]]ต่อมาอีกหลายร้อยปี โดยมีจิตรกรเช่น[[ไมเคิล แอนเจโล]], [[ราฟาเอล]], [[ซานโดร บอตติเชลลี]], [[ทิเชียน]] และ[[เลโอนาร์โด ดา วินชี]] และเช่นเดียวกันกับ[[สถาปัตยกรรมฟื้นฟูศิลปวิทยา]] โดยมีสถาปนิกเช่น[[อันเดรอา ปัลลาดีโอ]] และงานเช่น[[มหาวิหารฟลอเรนซ์]] และ[[มหาวิหารเซนต์ปีเตอร์]]ในกรุงโรม ในขณะเดียวกันนักประวัติศาสตร์ในปัจจุบันเห็นว่าเป็นสมัยของความหดตัวทางเศรษฐกิจและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมามีความก้าวหน้ามากกว่าในวัฒนธรรมของโปรเตสแตนต์ในคริสต์ศตวรรษที่ 17
 
== ที่มา ==
=== อิตาลีตอนเหนือในยุคกลาง ===
เมื่อมาถึงปลาย[[สมัยกลาง]]ทางตอนกลางและ[[อิตาลีตอนใต้]]ที่เป็นศูนย์กลางของ[[จักรวรรดิโรมัน]]ก็จนลงกว่าทางเหนือ [[โรม]]เป็นเมืองที่เต็มไปด้วยซากสิ่งก่อสร้างโบราณและ[[รัฐของพระสันตะปาปา]] (Papal States) ก็เป็นบริเวณการปกครองอย่างหลวมๆหลวม ๆ ที่แทบจะไม่มีกฎหมายหรือระบบแต่อย่างใดเพราะสำนักพระสันตะปาปาย้ายไปอยู่ที่[[ราชสำนักพระสันตะปาปาอาวินยอง|อาวินยอง]]โดยความกดดันของ[[พระเจ้าฟิลลิปที่ฟิลิปที่ 4 แห่งฝรั่งเศส]] ทางด้านไต้[[เนเปิลส์]], [[ซิซิลี]] และ[[ซาร์ดิเนีย]]ตกอยู่ภายใต้การปกครองของต่างประเทศมาระยะหนึ่งแล้วโดยอาหรับและต่อมาก็โดย[[นอร์มัน]] ซิซิลีมั่งคั่งขึ้นมาเป็นเวลาสองสามร้อยปีระหว่างการปกครองของ[[เอ็มมิเรตแห่งซิซิลี]] (Emirate of Sicily) และเมื่อต้นสมัย[[ราชอาณาจักรซิซิลี]]แต่มาเสื่อมโทรมลงเมื่อมาถึงปลาย[[สมัยกลาง]]
 
ทางตอนเหนือกลายมามั่งคั่งกว่าทางไต้โดยมีอาณาจักรต่างๆต่าง ๆ ทางตอนเหนือที่เป็นอาณาจักรที่ร่ำรวยที่สุดใน[[ยุโรป]] [[สงครามครูเสด]]สร้างเส้นทางการค้าขายกับ[[บริเวณลว้าน]] (Levant) และ[[สงครามครูเสดครั้งที่ 4]] ก็ทำลาย[[จักรวรรดิไบแซนไทน์]]ผู้เป็นคู่แข่งทางการค้าขายชองเวนิสและ[[รัฐอาณาจักรสาธารณรัฐเจนัว]]เกือบหมดสิ้น เส้นทางการค้าขายหลักจากตะวันออกผ่านทะลุจักรวรรดิไบแซนไทน์หรือดินแดนอาหรับ และต่อไปยังเมืองท่าเจนัว, ปิซา และ[[เวนิส]] สินค้าฟุ่มเฟือยที่หาซื้อได้จาก[[บริเวณลว้าน]]ก็ถูกนำเช่นเครื่องเทศ, สีย้อมผ้า และไหมก็ถูกนำเข้ามายังอิตาลีและขายต่อไปยังยุโรป นอกจากนั้น[[นครรัฐ]] (city-state) ที่ไม่ได้อยู่ติดกับทะเลก็ได้รับผลประโยชน์จากการเกษตรกรรมในบริเวณลุ่ม[[แม่น้ำโป]]
 
จากฝรั่งเศส, เยอรมนี และกลุ่มประเทศต่ำโดย[[เทศกาลสินค้าแชมเปญ]] (Champagne fairs), ทางบก และทางเรือ ก็นำสินค้าเช่นขนแกะ, ข้าวสาลี และโลหะมีค่าเข้ามาในอิตาลี บริเวณการค้าขายตั้งแต่[[อียิปต์]]ไปจนถึง[[บริเวณบอลติค]]ทำให้อิตาลีเป็นแหล่งสินค้าที่เกินเลยที่ทำให้สามารถมีอำนาจในการลงทุนในการทำเหมืองและทำการอุตสาหกรรมได้ ฉะนั้นแม้ว่าทางเหนือของอิตาลีจะไม่ร่ำรวยทางทรัพยากรเมื่อเทียบกับส่วนอื่นของยุโรปแต่การพัฒนาที่เกิดจากการค้าขายเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความมั่งคั่ง ฟลอเรนซ์กลายเป็นเมืองที่มั่งคั่งที่สุดทางตอนเหนือของอิตาลีเพราะการผลิตผลิตภัณฑ์ผ้าภายใต้การควบคุมของสมาคมพ่อค้าผ้า “Arte della Lana” ขนแกะนำเข้าจากทางเหนือของยุโรปและในคริสต์ศตวรรษที่ 16 จากสเปน<ref>Jensen, De Lamar. ''Renaissance Europe''. p. 95.</ref> โดยใช้สีย้อมผ้าจากตะวันออกที่ทำให้ผลิตผ้าที่มีคุณภาพสูงได้
 
นอกจากนั้นเส้นทางการค้าขายของอิตาลีที่รวมบริเวณเมดิเตอร์เรเนียนและไกลไปจากนั้นก็ยังเป็นที่มาของวัฒนธรรมและความรู้ ในสมัยกลางงานที่เป็นการศึกษาคลาสสิกของกรีกเริ่มเข้ามาสู่ยุโรปตะวันตกโดยงานแปลจากภาษาละตินเป็นภาษาอาหรับจากโทเลโดในสเปน และจากพาเลอร์โมในอิตาลีโดยเฉพาะในช่วงที่เรียกว่า[[สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาของคริสต์ศตวรรษที่ 12]] หลังจากที่สเปนได้รับชัยชนะต่ออาหรับ (Reconquista) ในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ก็ทำให้งานแปลจากภาษาอาหรับในสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์, ปรัชญา, และคณิตศาสตร์เผยแพร่เข้ามายังทางตอนเหนือของอิตาลี หลังจาก[[การเสียเมืองคอนสแตนติโนเปิล]] (Fall of Constantinople) ในปี ค.ศ. 1453 ก็มีผู้คงแก่เรียนกรีกจำนวนมากที่ลี้ภัยเข้ามายังอิตาลีซึ่งเป็นชนวนที่ทำให้เกิดความสนใจในการศึกษาทางภาษาศาสตร์ระหว่างสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาและช่วยฟื้นฟูสถาบันการศึกษาในฟลอเรนซ์และเวนิส นักมนุษยนิยมเที่ยวค้นหาในห้องสมุดของสำนักสงฆ์เพื่อหาหนังสือโบราณและพบงานของนักประพันธ์ภาษาละตินสำคัญๆสำคัญ ๆ มากมายเช่น[[แทซิทัส]] นอกจากนั้นก็ยังพบทฤษฎีพื้นฐานทางสถาปัตยกรรมของ[[วิทรูเวียส]] สิ่งต่างๆต่าง ๆ เหล่านี้ทำให้ความเจริญทางวัฒนธรรมในด้านต่างๆต่าง ๆ รุ่งเรืองขึ้น
 
== การพัฒนา ==
บรรทัด 45:
{{สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา}}
{{เรียงลำดับ|สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาอิตาลี}}
 
 
 
[[หมวดหมู่:ภูมิทัศน์]]