ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ขุนส่า"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 26:
}}
 
'''ขุนส่า''' ([[17 กุมภาพันธ์]] [[พ.ศ. 2477]] - [[26 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2550]] )<ref>[http://ap.google.com/article/ALeqM5gPAExEgHrOo-yPIPTqT3sYNu-NSwD8SJEKU00 Former Notorious Druglord Khun Sa Dies] Associated Press</ref>) มีชื่อจริงว่า '''จาง ซีฟู''' ([[ภาษาจีน|จีน]]: 张奇夫; [[พินอิน]]: Zhāng Qífú ''จาง ฉีฝู'') และมีชื่อไทยว่า '''จันทร์ จางตระกูล''' <ref name="oknation">[http://www.oknation.net/blog/komchadluek/2007/10/30/entry-1 ปิดตำนานขุนส่า ราชายาเสพติดโลก คนใกล้ชิดงงสาเหตุการตาย]</ref> เป็นอดีตผู้นำ[[กองทัพเมิงไต]]ซึ่งต่อสู้เพื่อเรียกร้องเอกราชให้แก่ชนกลุ่มน้อยชาว[[ไทใหญ่]]ใน[[พม่า]] และเป็นผู้ผลิตและค้า[[เฮโรอีน]]และ[[ฝิ่น]]รายใหญ่ของโลก โดยมีที่มั่นอยู่บริเวณ[[สามเหลี่ยมทองคำ]] มีอิทธิพลอยู่ในเขต[[รัฐฉานชาน]]และ[[ว้า]]
 
ขุนส่ามีบิดาเป็นชาวจีน และมีมารดาเป็นชาวไทใหญ่ ชื่อนางแสงคำ<ref>{{อ้างหนังสือ
บรรทัด 38:
| หน้า=หน้าที่ 127
| จำนวนหน้า=272
}}</ref> ขุนส่าเคยตั้งกองกำลังใหญ่อยู่ที่[[บ้านหินแตก]] ในเขต[[ตำบลเทอดไทย]] [[อำเภอแม่ฟ้าหลวง]] [[จังหวัดเชียงราย]] ตั้งแต่ พ.ศ. 2506 มีการก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกทั้ง[[โรงพยาบาล]] [[วัด]] [[โรงเรียน]] และใช้ที่นี้เป็นฐานการผลิตเฮโรอีน จากฝิ่นที่ลักลอบนำเข้ามาจาก[[รัฐฉานชาน]]และ[[รัฐโยนก]] ส่งขายไปทั่วโลก
 
ในปี พ.ศ. 2512 ทางการพม่าจับตัวขุนส่าไปจำคุกด้วยข้อหาค้ายาเสพติด และได้รับการปล่อยตัวในปี พ.ศ. 2516 เพื่อแลกกับชีวิตของแพทย์ชาว[[โซเวียต]] 2 คน ที่กองกำลังของขุนส่าจับไปเป็นตัวประกัน ที่บ้านหินแตก จากเหตุการณ์ครั้งนั้น รัฐบาลไทยจึงมีนโยบายผลักดันกองกำลังขุนส่าออกนอกประเทศ [[ตำรวจตระเวนชายแดน]]ของไทยได้เข้ากวาดล้างบ้านหินแตกเมื่อวันที่ [[21 มกราคม]] [[พ.ศ. 2525]] <ref>[http://www.oknation.net/blog/phoenixman/2007/10/30/entry-3 ตามรอยขุนส่าราชายาเสพติดกับยุทธการบ้านหินแตก] จาก คมชัดลึก</ref>
 
กองกำลังขุนส่าย้ายไปตั้งอยู่ฝั่งพม่า ที่[[บ้านหัวเมือง]] ตรงข้ามกับ[[จังหวัดแม่ฮ่องสอน]] เปลี่ยนชื่อเป็น [[กองทัพสหฉานรวมชาน]] (Shan United Army) และเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ[[สภาปฏิวัติไตไท]] (Tai Revolutionary Council) เมื่อ พ.ศ. 2528
 
ในปี พ.ศ. 2532 ทางการสหรัฐตั้งค่าหัวขุนส่าเป็นเงิน 2 ล้าน[[ดอลลาร์สหรัฐ]] เพื่อนำตัวขุนส่าไปดำเนินคดี หลังจาก ศาลสหรัฐสั่งฟ้องในข้อหาลักลอบนำเฮโรอีนจำนวน 1,000 ตัน เข้าประเทศ
 
ในเดือนมกราคม [[พ.ศ. 2539]] ขุนส่าตกลงสวามิภักดิ์ และส่งมอบอาวุธของกองทัพเมิงไต ให้กับแก่ทางการพม่า เพื่อแลกเปลี่ยนกับการไม่ถูกส่งตัวเป็นผู้ร้ายข้ามแดนให้แก่สหรัฐอเมริกา ขุนส่าถูกทหารพม่าควบคุมตัวให้อยู่ภายในบ้านพักกรุงใน[[ย่างกุ้ง]] ต่อมาได้ล้มป่วยด้วยโรคอัมพฤกษ์ ความดันโลหิตสูง และเบาหวาน<ref name="oknation" /> จนกระทั่งเสียชีวิต เมื่อคืนวันที่ [[26 ตุลาคม]] [[พ.ศ. 2550]] อายุ 73 ปี
 
== อ้างอิง ==
บรรทัด 59:
[[หมวดหมู่:ชาวพม่าเชื้อสายไทใหญ่]]
[[หมวดหมู่:ไทใหญ่]]
[[หมวดหมู่:บุคคลจากรัฐฉานชาน]]
{{โครงชีวประวัติ}}
เข้าถึงจาก "https://th.wikipedia.org/wiki/ขุนส่า"