ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Pongsak ksm (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
[[ไฟล์:วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร (29).jpg|300px|thumb|เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส]]
'''เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ [[วัดเทพศิรินทราวาส]]''' เป็น[[ฌาปนสถาน]]สำหรับพระราชวงศ์ซึ่งไม่ได้สร้าง[[พระเมรุมาศ]] เมรุที่[[ท้องสนามหลวง]] และ พระศพเจ้านายฝ่ายใน ราชนิกูล ขุนนาง ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสายสะพายของแต่ละตระกูล และ ได้รับพระราชทานโกศเป็นเกียรติยศ
 
โดยเมื่อใช้ในการพระราชทานเพลิงพระศพเจ้านายจะออกหมายเรียกว่า "พระเมรุ" และถ้าเป็นเจ้านายที่มีพระเกียรติยศสูง เป็นที่นับถือของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อาจมีการปรับปรุงประดับตกแต่งโดยรอบให้สมพระเกียรติยศ เช่น กางกั้นด้วยฉัตรตามพระเกียรติยศ มีการประดับด้วยฉัตรดอกไม้สดโดยรอบ สร้างซ่างไว้สำหรับพระพิธีธรรมสวด จัดตกแต่งสวนหย่อมให้เป็นป่าหิมพานต์ นอกจากนี้ ยังใช้เป็นพระเมรุพระบุพโพของพระบรมวงศ์สำคัญที่บรรจุพระศพลงพระโกศ เพื่อจะได้ไม่ต้องไปสร้างพระเมรุดาดผ้าขาวที่วัดมหาธาตุ เช่น พระบุพโพ [[สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี]]ในรัชกาลที่ 7 พระบุพโพ [[สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี]] และ พระบุพโพ [[พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี]] ในรัชกาลที่ 6
บรรทัด 10:
[[สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ]] ทรงสันนิษฐานว่า เมื่อแรกสร้างเมรุปูนขึ้นนั้น สำหรับพระศพเจ้านาย ที่มียศไม่สูงศักดิ์ถึงกับสร้างเมรุกลางเมือง ส่วนขุนนางจะเผาในเมรุปูนได้ก็ต่อเมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตพิเศษ ดังนั้นเมื่อต้องเผาศพขุนนางนอกกำแพงเมือง จึงต้องนำศพออกไปทางสำราญราษฎร์ออกประตูกำแพงเมืองที่เวลานั้นเรียก “ประตูผี” คือประตูที่นำศพออกไปฝัง หรือเผานอกกำแพงเมือง
 
ในรัชกาลที่ 1 เกิด[[อหิวาต์]]ระบาด ผู้คนตายประมาณ 30.,000 รายในเวลาครึ่งเดือน ต้องนำศพออกนอกกำแพงเมืองไปทิ้งในป่าช้า และ ศาลาดิน [[วัดสระเกศ]] [[วัดสังเวชวิศยาราม]] [[วัดปทุมคงคา]] เผาไม่ทัน แร้งมารุมทึ้งกันมากมาย จนลือชื่อ แร้งวัดสระเกศ ผู้คนหวาดกลัวเป็นอันมาก [[พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย]] โปรดเกล้าให้ตั้งพิธี “อาพาธพินาศ” และโปรดเกล้าฯ ให้ทำ[[เงินพดด้วง]] ตราเฉลวด้วย ต่อมารัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โปรดเกล้าฯ ให้ [[สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ]]ครั้งเป็น พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา เป็น นายงานสร้างเมรุด้วยอิฐปูน เรียก เมรุปูน สำหรับพระราชทานเพลิงศพเจ้านาย และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เมรุปูนนี้นับเป็นเกียรติยศสำหรับผู้ตายซึ่งพระเจ้าแผ่นดินเสด็จไปพระราชทานเพลิงศพแต่รัชกาลที่ 3
 
ครั้นมาถึง ร.ศ. 112 [[พ.ศ. 2436]] ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] โปรดเกล้าฯให้สร้างเมรุอิศริยยศ ณ วัดเทพศิรินทราวาส ด้วยมีพระราชประสงค์จะให้ปลงศพได้ทุกชั้นบรรดาศักดิ์ สุดแต่ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตพิเศษเป็นสำคัญ และที่สุสานหลวงนี้โปรดเกล้าฯ ให้ทำการปลงพระศพ[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์|พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอิศริยาภรณ์]] เมื่อ ร.ศ. 113 [[พ.ศ. 2437]] เป็นปฐมครั้งแรก และครั้งนั้นทรงสร้างที่ตั้งพระศพเป็นพลับพลาถาวร พระราชทานนามว่า “พลับพลาอิศริยาภรณ์” สำหรับใช้เป็นที่ประทับเมื่อเสด็จไปพระราชทานเพลิงศพงานอื่นๆ ต่อมาในปี ร.ศ. 114 [[พ.ศ. 2438]] ได้พระราชทานเพลิงพระศพ[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิมลนาคนพีสี|พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าหญิงวิมลนาคนพีสี]]เป็นองค์ที่สอง ในครั้งนั้นพระเมรุหรือเมรุที่ใช้พระราชทานเพลิงพระศพและศพเป็นพระเมรุหรือเมรุชั่วคราวก่อสร้างด้วยไม้ เวลาเผาพระศพหรือศพจริงก็จะเผาบนจิตกาธานที่รับพระราชทานเพลิงเกียรติยศ
 
การเผาพระศพและศพลักษณะดังกล่าวเป็นไปตามธรรมเนียมที่มีมาแต่เดิม ด้วยในขณะนั้น บริเวณรอบๆ วัดเทพศิรินทราวาส ยังไม่มีผู้คนมาตั้งบ้านเรือนหนาแน่น ครั้นต่อมา บ้านเมืองเจริญขึ้น เกิดอาคารบ้านเรือนก่อสร้างขึ้นรอบๆ วัดเทพศิรินทราวาส โดยเฉพาะแถบที่ใกล้ชิดติดต่อกับสุสานหลวง การเผาศพแบบเก่าทำให้เกิดควันและกลิ่นฟุ้งกระจายไปตามลม ผู้ที่อาศัยในบริเวณนั้นต้องเดือดร้อนและเสียสุขภาพมาก แม้ว่าต่อมาจะมีเทศบัญญัติควบคุมการเผาศพในเขตกรุงเทพฯ ไม่ให้มีการเผาศพบนจิตกาธาน ให้ย้ายศพไปเผาในเตาที่มีปล่องควันสูง แต่ที่สุสานหลวงวัดเทพศิรินทราวาสยังคงเผาศพตามธรรมเนียมเก่าตลอดมา อีกทั้งตัวเมรุหลวงของเดิมที่ก่อสร้างด้วยไม้นั้นค่อนข้างสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการสร้าง ซ่อมแซม และตกแต่งเมรุทุกครั้งมีการพระราชทานเพลิงพระศพและศพ และยังดูไม่งามเท่าที่ควร แต่ครั้นจะสร้างพระเมรุหรือเมรุขึ้นในที่อื่นก็เป็นการสิ้นเปลืองมาก
บรรทัด 28:
=== การปรับปรุงเพื่อใช้เป็นพระเมรุ ===
 
เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์นี้ เมื่อใช้พระราชทานเพลิงพระศพเจ้านายสามัญ จะเปลี่ยนมาออกเรียกชื่อเป็น '''พระเมรุ วัดเทพศิรินทราวาส''' ถ้าเป็นเจ้านายผู้ใหญ่เป็นที่เคารพนับถือของเหล่าพระบรมวงศ์ มีพระอิสริยยศสูงเป็นที่ยกย่อง โดยเฉพาะสมเด็จพระสังฆราช จะมีการปรับปรุงบางส่วนให้สมพระเกียรติยศของเจ้านายพระองค์นั้นๆ เช่น มีการสร้างสำซ่างสำหรับพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรม ทั้งสี่มุมพระเมรุภายในพระเมรุเหนือพระจิตกาธานจะกางกั้นด้วยฉัตรตามพระอิสริยยศ โดยรอบพระเมรุมีการประดับด้วยฉัตร อาจเป็นฉัตรปรุหรือฉัตรดอกไม้สด เปลี่ยนฉากบังเพลิงเป็นลายต้นไม้ทอง มีการเพิ่มชั้นเรือนยอดจิตกาธานเป็น 5 ชั้นหรือ 3 ชั้น จัดสวนหย่อมรอบพระเมรุให้เป็นป่าหิมพานต์ หรือมีการติดพระวิสูตรที่พระเมรุ ทั้งนี้ การปรับปรุงพระเมรุจะทำเมื่อใช้ออกพระเมรุเจ้านายชั้นรองที่มีพระยศสูง หรืองานที่พระมหากษัตริย์ทรงรับเป็นพระราชธุระ ส่วนเจ้านายทั่วไปอาจมีเพียงการตกแต่งด้วยดอกไม้สดเท่านั้น
 
== อ้างอิง ==