ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วิกิพีเดีย:ประพฤติเยี่ยงอารยชน"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1:
== การระบุความอนารยะ ==
บางครั้งการตัดสินว่าอะไรอนารยะหรือไม่อย่างหนักแน่นรวดเร็วนั้นเป็นเรื่องยาก ผู้เขียนควรนำปัจจัยต่าง ๆ มาพิจารณา เช่น (1) ความรุนแรงและบริบทของภาษา/พฤติกรรม (2) พฤติกรรมนั้นเกิดในโอกาสเดียว หรือเกิดบ่อยครั้งหรือเป็นประจำ (3) มีการขอให้หยุดพฤติกรรมนั้นหรือไม่ และคำขอนั้นเพิ่งมีเมื่อเร็ว ๆ นี้หรือไม่ (4) พฤติกรรมนั้นถูกยั่วยุหรือไม่ และ (5) ขอบเขตซึ่งจำเป็นต้องปฏิบัติต่อพฤติกรรมของผู้อื่นในขณะเดียวกัน
 
พฤติกรรมต่อไปนี้อาจประกอบสิ่งแวดล้อมอนารยะ ได้แก่
 
'''1. ความหยาบคายโดยตรง'''
*(ก) ความหยาบคาย การดูหมิ่น การตั้งฉายา (name-calling) ความกักขฬะอย่างเห็นได้ชัดหรือการแสดงความอนาจาร
*(ข) การโจมตีตัวบุคคล ซึ่งรวมถึงเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ เรื่องเพศ ความพิการ เพศและศาสนา และการพาดพิงดูแคลนกลุ่มต่าง ๆ เช่น ชนชาติทางสังคมหรือสัญชาติหนึ่ง ๆ
*(ค) <span id="ICA" />การกล่าวหาความไม่เหมาะสมอย่างสะเพร่า
*(ง) การเหยียดหยามผู้เขียนด้วยกัน ซึ่งรวมการใช้คำอธิบายอย่างย่อหรือโพสต์หน้าพูดคุยเชิงตัดสิน (เช่น "นี่เป็นสิ่งที่โง่เง่าที่สุดที่ฉันเคยเห็น", "สวะจริง ๆ")
 
'''2. พฤติกรรมอนารยะอื่น'''
*(ก) ยั่วยุหรือหลอกล่อ คือ จงใจผลักดันผู้อื่นจนถึงจุดที่ละเมิดอารยธรรมแม้ว่าดูไม่ละเมิดด้วยตัวเอง ผู้เขียนทุกคนรับผิดชอบต่อการกระทำของตนในกรณีหลอกล่อ ผู้ใช้ที่ถูกล่อไม่ถูกกล่าวโทษหากเขาโจมตีตอบโต้ และผู้ใช้ที่หลอกล่อไม่ถูกกล่าวโทษจากการกระทำของตนจากความจริงที่ว่าผู้ใช้อื่นติดเหยื่อล่อนั้น
*(ข) การก่อกวน ซึ่งรวมถึงการไล่ล่าผู้เขียนในหน้าต่าง ๆ (Wikihounding) อันธพาล การขู่บุคคลหรือทางกฎหมาย การโพสต์สารสนเทศส่วนบุคคล การโพสต์อีเมลหรือสเปซผู้ใช้ซ้ำ ๆ
*(ค) การคุกคามทางเพศ
*(ง) การโกหก
*(จ) การยกคำพูดของผู้เขียนอื่นนอกบริบทเพื่อให้ความประทับใจว่าเขามีมุมมองที่เขาไม่ได้มี หรือเพื่อใส่ร้ายเขา
 
=== สันนิษฐานว่าคนอื่นสุจริตใจ ===
{{ดูเพิ่มที่|วิกิพีเดีย:สันนิษฐานว่าคนอื่นสุจริตใจ}}
 
นอกเหนือจากว่าคุณมีหลักฐานที่หนักแน่นและชัดเจน ให้คุณตั้งสมมุติฐานไว้เสมอว่า บุคคลทั้งหลายที่เข้ามาในวิกิพีเดียมีความต้องการที่จะปรับปรุงวิกิพีเดีย ไม่ใช่ทำลายมันลง ผู้ใช้ทุกคนสามารถทำผิดพลาดได้ และส่วนใหญ่แล้ว การตักเตือนกันตามปกติก็จะสามารถแก้ไขความผิดพลาดนั้นได้ แต่เมื่อเกิดความไม่เห็นด้วยที่เต็มไปด้วยความยุ่งยาก คุณก็ควรที่จะเชื่อว่าไม่มีใครไม่สุจริตใจอยู่เช่นกัน
 
ความพยายามที่จะเชื่อในส่วนที่ดีของชาววิกิพีเดียจะเป็นการกำจัดปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น เนื่องจากชาววิกิพีเดียทั้งหมดสื่อสารกันผ่านทางตัวอักษร โดยที่ไม่ได้ยินเสียงหรือสามารถมองเห็นได้ด้วยสายตา ในการพูดคุยกันต่อหน้า
 
== การจัดการกับความอนารยะ ==