ผลต่างระหว่างรุ่นของ "เจ้าจอมมารดาชุ่ม ในรัชกาลที่ 4"

เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Aroonsaha (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
Xiengyod~commonswiki (คุย | ส่วนร่วม)
ขยายความจากหนังสือความทรงจำของกรมดำรง
บรรทัด 27:
'''เจ้าจอมมารดาชุ่ม''' ใน[[พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] (สกุลเดิม '''โรจนดิศ''', [[พ.ศ. 2387]] - [[พ.ศ. 2466]]) เป็นพระมารดาใน[[สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ]]
 
เจ้าจอมมารดาชุ่ม เกิดเมื่อ พ.ศ. 2387 เป็นธิดาของ[[พระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ โรจนดิศ)]]<ref>[http://www.supadisdiskul.com/familytree03.html ข้อมูลโดยสังเขปหม่อมราชวงศ์ศุภดิศ ดิศกุล - ราชสกุลสายพระยาอัพภันตริกามาตย์ (ดิศ โรจนดิศ)]</ref> และขรัวยายคล้าย เป็นน้องสาวของ[[เจ้าจอมมารดาเที่ยง]] และ[[เจ้าจอมช้อย ในรัชกาลที่ 4|เจ้าจอมช้อยในรัชกาลที่ 4]]<ref>[http://www.supadisdiskul.com/familytree02.html ข้อมูลโดยสังเขปหม่อมราชวงศ์ศุภดิศ ดิศกุล - ต้นสกุลของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ]</ref> และเป็นพี่สาวต่างมารดาของ[[เจ้าจอมมารดาทับทิม]] (ธิดาขรัวยายอิ่ม) และ[[เจ้าจอมมารดาแส]] (ธิดาขรัวยายบาง) ถวายตัวเป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระเจ้าลูกยาเธอหนึ่งพระองค์ คือ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร (พ.ศ. 2405-2486)
 
ในรัชสมัย[[พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว]] เจ้าจอมมารดาชุ่มได้รับพระมหากรุณาธิคุณ จนได้เป็นเหตุให้มีการแก้ไขธรรมเนียมการออกนามเจ้าจอมมารดาในรัชกาลที่ล่วงไปแล้ว ปรากฎเรื่องราวอยู่ในหนังสือ "ความทรงจำ" ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวคือ ในปี พ.ศ. 2437 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ขณะดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ประชวรด้วยโรค[[ไข้ส่า]] ซึ่งเกิดเป็นโรคระบาดขึ้นในกรุงเทพฯ เวลานั้น วันหนึ่งกรมหมื่นดำรงราชานุภาพทรงพลัดตกเตียงขณะจะทรงประทับนอนพักผ่อนในห้องสมุดส่วนพระองค์ เนื่องจากผู้กางเตียงถวายกางเตียงไม่เต็มที่ แต่ข่าวลือถึงพระกรรณพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าอาการประชวรของกรมหมื่นดำรงราชานุภาพหนักจนถึงดิ้นรนพลัดตกเตียง ก็ตกพระราชหฤทัย รีบเขียนลายพระราชหัตถเลขาถึงเจ้าจอมมารดาชุ่มเพื่อทรงไต่ถามพระอาการของกรมหมื่นดำรงราชานุภาพ เมื่อผนึกซองพระราชหัตถเลขาแล้วจะทรงสลักหลังซองว่า "ถึงชุ่มเจ้าจอมมารดา" (การออกชื่อตัวแล้วต่อท้ายด้วยคำว่าเจ้าจอมมารดา หมายความว่าเจ้าจอมมารดาผู้นั้นเป็นหม้าย) ทรงนึกสงสาร จึงเขียนว่า "ถึงเจ้าจอมมารดาชุ่ม" แล้วเลยมีพระราชดำรัสสั่ง[[พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา|พระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนพิทยลาภพฤฒิธาดา]] เสนาบดี[[กระทรวงวัง]]ในขณะนั้น ให้เปลี่ยนระเบียบเรียกเจ้าจอมมารดารัชกาลที่ล่วงแล้ว ให้ใช้คำ เจ้าจอมมารดา นำชื่อ แต่ให้เติมลำดับรัชกาลเข้าข้างหลังเช่นว่า เจ้าจอมมารดาชุ่มรัชกาลที่ 4 ดังนี้ และใช้เป็นประเพณีสืบมาจนถึงปัจจุบัน<ref>สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ. (2489). [http://www.thapra.lib.su.ac.th/objects/rarebook/r2929/DS582%E0%B8%9465_2489_2.pdf ความทรงจำ พระนิพนธ์สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพที่ทรงค้างไว้ห้าตอน.] พระนคร: ม.ป.ท. หน้า 162-164.</ref>
เจ้าจอมมารดาชุ่ม ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อ พ.ศ. 2466 พระราชทานเพลิงศพ เมื่อ พ.ศ. 2469
 
เจ้าจอมมารดาชุ่ม ในรัชกาลที่ 4 ถึงแก่อนิจกรรมเมื่อวันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2466 ได้รับการพระราชทานเพลิงศพ เมื่อ พ.ศ. 2469 สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงพระนิพนธ์หนังสือเรื่อง "ตำนานพุทธเจดีย์สยาม" (ภายหลังได้เปลี่ยนชื่อหนังสือเป็น "[[ตำนานพระพุทธเจดีย์]]" ในการพิมพ์ครั้งต่อๆ มา) และจัดพิมพ์เพื่ออุทิศพระกุศลสนองคุณพระมารดาในงานพระราชทานเพลิงศพครั้งนั้น<ref>{{Cite web |url=http://vajirayana.org/node/5099/คำอุทิศ |title=ตำนานพุทธเจดีย์สยาม พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ ทรงพระนิพนธ์ พิมพ์ในงารพระราชทานเพลิงศพ เจ้าจอมมารดาชุ่ม รัชกาลที่ ๔ ท จ ว, รัตน ม ป ร, ว ป ร. ๓ เมื่อปีขาล พ.ศ. ๒๔๖๙|last= พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ |website=vajirayana.org |access-date=2018-12-18}}</ref>
 
== เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ==
* [[ไฟล์:Order of Chula Chom Klao - 2nd Class upper (Thailand) ribbon.png|80px]] [[เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า]] ชั้น[[ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ]] (ฝ่ายใน)<ref>ราชกิจจานุเบกษา, [http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2454/D/1783.PDF วันที่ ๙ พฤศจิกายน รัตนโกสินทร ศก ๑๓๐], เล่ม ๒๘, ๑๒ พฤศจิกายน ร.ศ. ๑๓๐, หน้า ๑๗๙๗</ref>
* [[ไฟล์:King Rama IV Royal Cypher Medal (Thailand) ribbon.png|80px|border]] [[เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 4]] ชั้นที่ 2 (ม.ป.ร.2)<ref>ราชกิจจานุเบกษา,[http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2447/032/570.PDF พระราชทานเหรียญรัตนาภรณ์ ฝ่ายใน], เล่ม ๒๑, ตอน ๓๒, ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๔๗, หน้า ๕๗๐</ref>
* [[ไฟล์:King Rama VI Royal Cypher Medal (Thailand) ribbon.png|80px|border]] [[เหรียญรัตนาภรณ์ รัชกาลที่ 6]] ชั้นที่ 3 (ว.ป.ร.3)
 
== อ้างอิง ==